Opinion

เอเชียหรือแม้แต่ไทยคือคำตอบวิกฤตสปอนเซอร์ฟุตบอลออสซี

หัวหน้าจากสหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลียต้องเผชิญกับข่าวลือว่าผู้สนับสนุนรายใหญ่อีกรายอาจจะถอนตัว อาจจะเป็นการตบเท้าออกไปชั่วขณะหนึ่ง แต่ถ้าวงการฟุตบอลต้องการยับยั้งกระแสที่ว่านั้น ตอนนี้คำตอบตั้งอยู่ทางเหนือ

J League

Source: Getty Images

ผู้สนับสนุนนั้นไปๆ มาๆ ในวงการฟุตบอล ลองมองย้อนกลับไปที่เสื้อทีมนักฟุตบอลทั่วโลกในช่วง 30 – 40 ปีที่ผ่านมาคือเครื่องพิสูจน์นั้น

ถ้วยรางวัลก็เช่นกัน ในฐานะแฟนแบล็คเบิร์นโรเวอร์ส ถ้วยลีกอังกฤษเป็นที่รู้จักตลอดกาลในฐานะถ้วยวอร์ชิงตันหลังจากชัยชนะอันโด่งดังในปี 2002 แต่ยังมีชื่อเรียกอื่นตามผู้สนับสนุนอีกมากมาย อาทิ ถ้วยมิลค์ ถ้วยลิตเติลวูดส์ ถ้วยโคคาโคลา เป็นต้น

ปัจจุบันการแข่งขันดังกล่าวถูกเรียกว่า ถ้วยคาราบาว เนื่องจากบริษัทเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศไทยไม่ได้จ่ายเงินมากพอจะได้สิทธิพิเศษของการมีชื่อของพวกเขาผูกไว้กับถ้วยรางวัลที่สำคัญเป็นอันดับสามของฟุตบอลอังกฤษ

มีโอกาสที่จะสร้างรายได้จากผู้สนับสนุนการแข่งขัน (สปอนเซอร์) จากเอเชีย และทีมฟุตบอลออสเตรเลียควรตระตือรือร้นให้มากขึ้นในทวีปนี้

มีหลายบริษัทในเอเชียที่อยากจะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคบางประเภท ของหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เช่นเดียวกับกรณีของฮุนได มอเตอร์ บริษัทยานยนต์ขนาดยักษ์ใหญ่ของประเทศเกาหลีใต้

และหากฟุตบอลลีกออสเตรเลีย (A-League) กลายเป็นที่สนใจในเอเชีย ก็มีหลายบริษัทในเอเชียที่อาจจะต้องการใช้ฟุตบอลลีกออสเตรเลีย (A-League) เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายชาวเอเชีย ซึ่งนี่คือจุดที่ผู้เล่นจะเข้ามา และพวกเขาจะเข้ามาแน่ๆ ถ้ามีความสนใจอยู่ตรงจุดนี้
ลองมองไปที่ประเทศญี่ปุ่น ทีมฟุตบอลลีกญี่ปุ่น (J.League) คอนซาโดเล ซัปโปโร (Consadole Sapporo) เซ็นสัญญากับชนาธิป สรงกระสินธ์ ผู้เล่นที่โด่งดังที่สุดของประเทศไทยเมื่อปี 2017 จำนวนผู้ติดตามหน้าเฟซบุ๊กของลีกญี่ปุ่นฉบับภาษาไทยมียอดใกล้ถึง 5 แสนคน ส่วนของภาษาญี่ปุ่นน่ะเหรอ? มีผู้ติดตามน้อยกว่าครึ่ง คืออยู่ที่ 226,000 คน

แม้ตัวเลขดังกล่าวจะน่าทึ่งมากแล้ว แต่ยังมีคนไทยถึง 3 ล้านคนที่ต้องการชม “การลงซ้อมครั้งแรกของเมสซี่เจ” จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมบริษัท ไทยโยโกเร บริษัทอาหารแช่แข็งของประเทศไทยถึงเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนของทีมซัปโปโร

ถ้ามันดีพอสำหรับลีกญี่ปุ่น มันก็ดีพอสำหรับลีกออสเตรเลียเช่นกัน การจ้างผู้เล่นจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเป้าหมายเพื่อช่วยเพิ่มผู้ชมให้กับฟุตบอลญี่ปุ่น เพิ่มความร่วมมือ และท้ายที่สุดก็คือเพิ่มรายได้จากส่วนนั้นของโลก
hanathip of Consadole Sapporo
Chanathip of Consadole Sapporo in action during the J.League J1 match between Yokohama F.Marinos and Consadole Sapporo at the Nissan Stadium on November 09, 201 Source: Masashi Hara/Getty Images
ชนาธิปเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเขาเก่งพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทีมที่เล่น

หากปราศจากการลงเล่นเป็นประจำ ประโยชน์จากโฆษณาก็คงอยู่ไม่นาน ไม่ผิดอะไรที่จะเซ็นสัญญากับผู้เล่นที่สามารถช่วยเล่นนอกสนามได้เช่นเดียวกับการเล่นในสนาม กุญแจสำคัญคือเซ็นสัญญานั้นต้องทำด้วยความเคารพ

การเซ็นสัญญากับผู้เล่นระดับแนวหน้าจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือขั้นตอนที่ง่ายและชัดเจน แต่ไม่ใช่ว่าทุกสัญญาจะประสบความสำเร็จ มันเป็นเรื่องปกติที่จะล้มเหลว แต่ด้วยประสบการณ์ที่มากขึ้นและความเข้าใจในท้องถิ่น จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายทำให้การตัดสินใจได้ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจเป็นพื้นที่ที่แคบ แต่นี่เปิดโอกาสดีๆ ให้

มีความยอมรับนับถือในฟุตบอลออสเตรเลียและลีกออสเตรเลีย และมีความสนใจอย่างมากในหมู่แฟนบอลที่ประเทศบ้านเกิด ว่าวีรบุรุษของพวกเขาเล่นได้ดีแค่ไหนในออสเตรเลีย

ความสนใจดังกล่าวควรจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ ควรจะนำมาปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระยะยาว และ อย่างที่กล่าวไปแล้ว ว่าควรเป็นไปด้วยความเคารพ และถ้าทั้งหมดทั้งมวลนั้นเกิดขึ้นจริง สิ่งที่จับต้องได้มากกว่าความสนใจจะตามมา
Supporters of Buriram United celebrate
Supporters of Buriram United celebrate as the team became the first Thai team to reach the AFC Champions League last 16 after drawing 2-2 with South Korea's FC Source: KIM JAE-HWAN/AFP via Getty Images
ลองจินตนาการดู ถ้ามีผู้เล่นจากประเทศอินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย มาเล่นที่ประเทศออสเตรเลียทุกสัปดาห์ สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแรกเลยคือเรื่องนี้ไปอยู่บนพาดหัวข่าว จากนั้นจึงเป็นเกมการเล่นและตามมาด้วยผู้สนับสนุนการแข่งขัน (สปอนเซอร์)

สหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลีย (FFA) ควรทำให้มั่นใจว่ากระบวนการจะเป็นไปอย่างราบรื่นขึ้น

ฟุตบอลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นกำลังพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลา ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงเพียง 2 หรือ 3 คนจากภูมิภาคนั้นก็จะสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งการเล่นในสนาม และช่วยให้มั่นใจถึงอนาคตที่ดี และพาดหัวที่ว่าผู้สนับสนุนหายไปจะกลายเป็นเรื่องในอดีต


เอสบีเอส ไทย: สัปดาห์หน้าจะมีการแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก​ 2020 (AFC Champions League 2020) ระหว่างทีมเชียงราย ยูไนเต็ดจากประเทศไทย และทีมเมลเบิร์นวิกตอรี ในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ เวลา 19.30 น. ตามเวลาในออสเตรเลีย ที่สนามเมลเบิร์น เรคแทงกูลาร์ สเตเดียม (Melbourne Rectangular Stadium) นครเมลเบิร์น  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์  AFC Champions League 


รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 




Share
Published 7 February 2020 10:30am
Updated 7 February 2020 12:41pm
By John Duerden
Presented by Narissara Kaewvilai

Share this with family and friends