หลายฝ่ายแย้งเสียงเรียกร้องให้กฎวีซ่าคู่ครองยากขึ้น

NEWS: มีรายงานระบุว่ากฎด้านวีซ่าคู่ครองของออสเตรเลียเป็นหนึ่งในกฎเกณฑ์ด้านวีซ่าที่ใจกว้างที่สุดในประเทศโลกตะวันตก แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายถิ่นฐานไม่เห็นด้วย

Couple

Couple Source: Pexel/Pixabay

รายการเอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full article in English on SBS News page 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการอพยพย้ายถิ่นฐานต่างไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างที่ว่าระบบวีซ่าคู่ครองของออสเตรเลียนั้นกำลังถูกฉกฉวยประโยชน์จากผู้อพยพย้ายถิ่น ที่จ้องจะหาหนทางง่ายๆ ที่จะได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของออสเตรเลีย

ในรายงานฉบับหนึ่งที่เผยแพร่โดยสถาบันการวิจัยประชากรแห่งออสเตรเลีย และตกเป็นข่าวในสื่อของออสเตรเลียหลายสำนักรวมทั้งหนังสือพิมพ์ ดิ ออสเตรเลีย เมื่อวันจันทร์ นายบ๊อบ เบอร์เรลล์ นักประชากรศาสตร์ กล่าวว่า ผู้ต้องการย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในออสเตรเลีย แต่ไม่สามารถได้สถานะผู้อยู่อาศัยถาวรได้จากวิธีอื่น กำลังแห่กันมาจนล้นระบบจากการสมัครวีซ่าคู่ครองหลอกๆ

ดร.เบอร์แรลล์ กล่าวว่า นั่นเป็นไปได้เนื่องจากออสเตรเลีย “มีกฎเกณฑ์สำหรับการมีสิทธิได้รับวีซ่าคู่ครองที่อ่อนที่สุดในโลกตะวันตก” และเรียกร้องให้มีการปรับปรุงระบบให้เข้มงวดมากขึ้น
แต่คุณลิซ อัลเลน นักประชากรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออสเตรเลียน ยูเนแนล ยูนิเวอร์ซิตี หรือเอเอ็นยู บอกกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่า “ไม่มีหลักฐานใดที่จะชี้ว่าระบบวีซ่าคู่ครองกำลังถูกใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์จากผู้สมัครขอวีซ่า เพื่อหลอกเอาสถานะผู้อยู่อาศัยถาวรจากรัฐบาลออสเตรเลีย”

“ความจริงแล้ว ในกระบวนการเพื่อพิสูจน์ความเป็นหุ้นส่วนชีวิตกันนั้นค่อนข้างเข้มงวด และมักต้องมีหลักฐานที่จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลเชื่อได้ว่าความเป็นหุ้นส่วนกันนั้นไม่เป็นไปตามแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ร่วมสมัย” ดร.อัลเลน ระบุ

ในการให้สัมภาษณ์กับ เอสบีเอส นิวส์ เมื่อคืนวันจันทร์ (29 ก.ค.) ดร.เบอร์เรลล์ บอกชัดเจนว่าผู้อยู่อาศัยถาวรในวัยผู้ใหญ่ในออสเตรเลีย มีสิทธิเป็นสปอนเซอร์ให้คู่ครองมาอยู่ในออสเตรเลียได้ และเขาไม่ต้องการท้าทายเรื่องนี้ แต่เขากล่าวว่าถึงว่าเวลาแล้วที่จะต้องมีกฎเกณฑ์อย่างเข้มงวดว่าใครมีสิทธิได้วีซ่าคู่ครอง

“ผมไม่ได้อ้างว่าพวกเขากำลังใช้มันอย่างผิดวัตถุประสงค์ ผมแค่กำลังบอกว่าบทบัญญัติด้านวีซ่าคู่ครองนั้นอ่อนมาก มันให้โอกาสอย่างมากต่อผู้ต้องการย้ายถิ่นฐานได้มีทางเลือกที่จะขอวีซ่าคู่ครองได้ ซึ่งนั่นเป็นปัญหา” ดร.เบอร์เรลล์ ระบุ

เพิ่มอายุของผู้ที่จะเป็นสปอนเซอร์ได้

ส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นนั้น ดร.เบอร์เรลล์ เสนอให้เพิ่มอายุของผู้ที่จะสปอนเซอร์คู่ครองได้ให้เป็น 21 ปี (ขณะนี้ 18 ปี) เพื่อพยายามทำให้แน่ใจได้ว่าสปอนเซอร์จะสามารถให้การสนับสนุนคู่ครองได้โดยไม่ต้องอาศัยเงินทุนจากรัฐบาล และมีการยืนยันว่าทั้งคู่มีความสัมพันธ์อย่างแท้จริงต่อกันก่อนการสมัคร (ซึ่งเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วในตอนนนี้) และต้องยืนยันความสัมพันธ์อีกครั้งหลังสองปีผ่านไป

ขณะนี้นั้น ผู้อพยพย้ายถิ่นสามารถอาศัย ทำงาน และเรียนในออสเตรเลียได้ ขณะที่กำลังมีการพิจารณาใบสมัครขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของพวกเขา

เฟคกา (FECCA) องค์กรสูงสุดของประเทศที่เป็นตัวแทนชาวออสเตรเลียที่มีภูมิหลังจากหลากหลากภาษาและวัฒนธรรม ไม่เห็นด้วยกับความเห็นที่ว่าระบบวีซ่าคู่ครองเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะเข้ามาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย

“มันไม่ถูกต้องที่จะกล่าวว่ากระบวนขอวีซ่าคู่ครองทั้งชั่วคราวและถาวรนั้นง่าย” คุณแมรี พาเทตโซส ประธานเฟคกา กล่าว

“กระบวนการสมัครนั้นเข้มงวด และเมื่อยื่นใบสมัครแล้ว ผู้สมัครที่ประสบความสำเร็จต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการรอการพิจารณา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 75 ของการสมัคร วีซ่าประเภทนี้นั้นยังแพง และมีค่าวีซ่าเกือบ 8,000 ดอลลาร์สำหรับการสมัครด้วย”

ดร.อัลเลน กล่าวว่า ในหลายๆ กรณีนั้นกระบวนการสมัครขอวีซ่าคู่ครองนั้น “มีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลานาน และบางครั้งก็ได้ผลที่ทำให้หัวใจสลาย” โดยเสริมว่าแม้การสมัครจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่รัฐบาลก็มีรายได้หลายพันดอลลาร์จากค่าสมัครวีซ่า
Dr Liz Allen said Australia's partner visa application process was costly, lengthy and often heartbreaking.
Dr Liz Allen said Australia's partner visa application process was costly, lengthy and often heartbreaking. Source: ANU
ดร.เบอร์เรลล์ ได้อ้างว่า 1 ใน 3 ของการสมัครขอวีซ่าคู่ครองทั้งหมดเกิดจาก ‘การอพยพย้ายถิ่นแบบลูกโซ่’ (chain migration) ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นกระบวนการที่ผู้อยู่อาศัยถาวรในออสเตรเลีย (ซึ่งโดยมากเป็นผู้มาอยู่ได้ไม่นาน และเกิดในเอเชีย) เดินทางไปยังประเทศบ้านเกิดเพื่อเลือกคู่ครองให้มาอยู่ด้วยในออสเตรเลีย แต่ดร.อัลเลน กล่าวว่านี่เป็นการพูดจาเกินจริงโดยมาจากความหวาดกลัวชาวต่างประเทศ

“ผลการค้นพบที่ระบุในรายงานนี้แทบจะไม่ให้หลักฐานหรือให้น้อยนิดเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนคำกล่าวอ้างที่ไม่สมเหตุสมผลนี้” ดร.อัลเลน กล่าว

จากข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย ระบุว่าระหว่างปีการเงิน 2017-2018 มีการอนุมัติวีซ่าคู่ครองไปแล้ว 39,799 วีซ่าในออสเตรเลีย โดยลดลงจาก 47,825 วีซ่าในปีก่อน

ดร.เบอร์เรลล์ ระบุว่า จากข้อมูลของเดือนมิถุนายน 2018 มีประชาชน 1.4 ล้านคนที่ถือวีซ่าชั่วคราวในออสเตรเลีย ซึ่งไม่รวมชาวนิวซีแลนด์

“เกือบทั้งหมดมีสิทธิได้วีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวรในฐานะคู่ครอง หากพวกเขาสามารถหาผู้อยู่อาศัยถาวรที่ยินดีจะสปอนเซอร์พวกเขาได้” รายงานชี้

“สำหรับคู่ครองที่ต้องการย้ายถิ่นฐาน ซึ่งกำลังอาศัยอยู่ในประเทศที่ประชาชนมีรายได้ต่ำ การได้วีซ่าคู่ครองของออสเตรเลียให้โอกาสมากอย่างที่พวกเขาจะมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการเข้าประเทศ นอกเสียจากค่าวีซ่า”

รายงานยังสรุปว่าผู้ใดที่อายุ 18 ปี ว่างงาน ได้รับเงินสวัสดิการ และกำลังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ตามทฤษฎีแล้วสามารถเป็นสปอนเซอร์วีซ่าคู่ครองให้แก่ผู้ที่ต้องการย้ายถิ่นฐานได้ ปราบใดที่พวกเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์ที่แท้จริงต่อกัน
Skilled Migration Points test system
ประชาชนที่มีภูมิหลังจากหลากหลายเชื้อชาติและภาษาในออสเตรเลีย Source: AAP Source: AAP
ขณะที่ทั้ง ดร.อัลเลน และคุณพาเทตโซส ตระหนักดีว่าจำเป็นต้องมีการตรวจสอบที่รัดกุมในกระบวนการสมัครวีซ่า พวกเขาเห็นว่าการให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่ด้วยกันเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ระบบการอพยพย้ายถิ่นฐานให้มีประสิทธิภาพ

“เราต้องตระหนักว่าการให้ครอบครัวได้มาอยู่ด้วยกันเป็นส่วนสำคัญของโครงการอพยพย้ายถิ่นที่ประสบความสำเร็จ” คุณพาเทตโซส กล่าว

ดร.อัลเลน เสริมว่ากำลังมีความวิตกเกี่ยวกับการรอคอยวีซ่าคู่ครองที่กินเวลายาวนานและมีผู้สมัครรอคิวเป็นจำนวนมาก ซึ่งเธอกล่าวว่าระยะเวลารอคอยเพิ่มขึ้นเนื่องจากการที่รัฐบาลมุ่งตัดลดจำนวนการรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ถาวรในออสเตรเลีย

เธอยังชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของคู่ครองที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนในศาลอุทธรณ์คำตัดสินวีซ่าหลังวีซ่าถูกปฏิเสธ และผู้อยู่อาศันถาวรในออสเตรเลียหลายคนที่ต้องออกไปอาศัยอยู่ในประเทศอื่นเพื่อจะได้อยู่กับคู่ครองของพวกเขา

“มีการกล่าวกันว่ากระบวนการนั้นถูกจงใจทำให้ล่าช้า และบางครั้งก็ปฏิเสธใบสมัครไปเลย แทนที่จะได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน” ดร.อัลเลน ตั้งข้อสังเกต

Share
Published 30 July 2019 3:20pm
Updated 30 July 2019 3:36pm
By Maani Truu
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends