พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีให้ลูกปลอดภัยออนไลน์

NEWS: มีเด็กจำนวนมากขึ้นที่ถูกข่มเหงรังแกออนไลน์ แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่กลับไม่รู้ว่าจะทำให้ลูกๆ ปลอดภัยในโลกออนไลน์ได้อย่างไร สถิติล่าสุดเผย

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น)

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full article in English

มีพ่อแม่ไม่ถึงครึ่งที่รู้สึกมั่นใจที่จะดูแลด้านความปลอดภัยของลูกๆ ในโลกออนไลน์ได้ ขณะที่มีเด็ก 1 ใน 3 เคยมีประสบการณ์ที่เลวร้ายออนไลน์

ข้อมูลดังกล่าวมาจากการสำรวจพ่อแม่ในออสเตรเลีย 3,500 คน ที่มีลูกอายุระหว่าง 2-17 ปี โดยพบว่าเด็ก 1 ใน 3 เคยถูกข่มเหงรังแกออนไลน์จากเพื่อนร่วมชั้นเรียน ร้อยละ 22 จากเพื่อน และร้อยละ 28 จากคนแปลกหน้า

รายงาน แพเรนทิง อิน เดอะ ดิจิทัล เอจ (Parenting in the Digital Age) พบว่า มีพ่อแม่ชาวออสเตรเลียร้อยละ 46 เท่านั้น ที่รู้สึกมั่นใจในการจัดการกับความเสี่ยงออนไลน์ที่ลูกๆ อาจพบได้

คุณจูลี อินแมน แกรนต์ กรรมาธิการด้านอี-เซฟตี หรือความปลอดภัยออนไลน์ บอกกับ เอสบีเอส นิวส์ว่า พ่อแม่ชาวออสเตรเลียร้อยละ 81 ยื่นอุปกรณ์ดิจิทัลให้ลูกๆ ก่อนที่ลูกจะอายุ 4 ขวบด้วยซ้ำ

และเธอกล่าวว่า จากการที่กำลังมีเด็กๆ มากขึ้นมีประสบการณ์แง่ลบออนไลน์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่จะต้องรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

“แม้ว่าพ่อแม่จะไม่ค่อยมีเวลา และการจัดการกับเรื่องความปลอดภัยออนไลน์เป็นเรื่องท้าทาย แต่นาทีที่เรายื่นอุปกรณ์ดิจิตัลให้เด็กๆ ก็เป็นนานทีที่เราควรเริ่มทำให้แน่ใจว่าเรามีส่วนร่วมในชีวิตออนไลน์ของลูกๆ เช่นเดียวกับที่เรามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของพวกเขา” คุณ อินแมน แกรนต์ กล่าว
Getty
Source: Getty
สร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจเพื่อรับมือโลกออนไลน์

“เทคโลโยลีจะยังคงมีอยู่ต่อไป แต่โชคร้ายที่เด็กๆ มากขึ้นเคยมีประสบการณ์แง่ลบออนไลน์ และมีพ่อแม่เพียงร้อยละ 28 ที่ระบุว่าพวกเขารู้ว่าลูกเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดี”

การวิจัยดังกล่าวพบว่า พ่อแม่ร้อยละ 95 ต้องการได้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกออนไลน์

แต่มีพ่อแม่เพียง 1 ใน 3 ที่พยายามหาข้อมูลอย่างกระตือรือร้นว่าจัดการปัญหาออนไลน์อย่างดีที่สุดได้อย่างไร เช่นสถานการณ์การข่มเหงรังแกออนไลน์ การติดต่อจากผู้ที่เราไม่ต้องการติดต่อด้วย หรือเรื่องของ ‘เซ็กซ์ติง’ (sexting) หรือการส่งและเผยแพร่ภาพอนาจาร และการส่งภาพโป๊เปลือย ข้อมูลล่าสุดชี้
สำนักงานของกรรมาธิการด้านอี-เซฟตี หรือความปลอดภัยออนไลน์ ได้เสนอข้อมูลให้ความรู้บนเว็บไซต์ของสำนักงานสำหรับช่วยเหลือผู้ใหญ่ให้เข้าใจประเด็นปัญหาเหล่านี้

คุณจูลี อินแมน แกรนต์ กรรมาธิการด้านอี-เซฟตี กล่าวเสริมว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องช่วยกันสร้างสรรค์ให้เด็กๆ มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ (การฟื้นตัวจากปัญหาได้ดี ไม่มีอารมณ์หรือความคิดเชิงลบ) สำหรับรับมือกับโลกดิจิทัล

“เริ่มพูดคุยกันแต่เนิ่นๆ พูดคุยกันบ่อยๆ และทำให้แน่ใจว่าการพูดคุยนั้นสอดคล้องกัน” เธอกล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์

“เราพูดคุยกับลูกๆ ซักถามว่าพวกเขาเป็นอย่างไรที่โรงเรียน พวกเขาทำได้ดีเพียงไรในกิจกรรมกีฬาที่เข้าร่วม พวกเขาใช้เวลากับเพื่อนๆ คนไหนบ้าง หนึ่งในคำถามที่เราต้องถามเป็นประจำคือ ‘ลูกกำลังอะไรออนไลน์’ ‘กำลังใช้แอพอะไร เล่นเกมส์อะไร’ ‘ลูกพบเห็นสถานการณ์ความขัดแย้งอะไรเกิดขึ้นออนไลน์หรือไม่’ ‘ลูกรู้สึกสบายใจหรือเปล่า’ เหล่านี้เป็นการสนทนาที่สำคัญมาก”
Children using internet
Children using internet Source: Pixabay/sharpemtbr CC0
ไม่มีวิธีใดที่ใช้ได้กับทุกคน

รายงานดังกล่าวยังอธิบายด้วยว่า พ่อแม่มักใช้วิธีการเลี้ยงดูลูกที่แตกต่างกัน เพื่อบริหารจัดการด้านความปลอดภัยออนไลน์ของลูกๆ ที่บ้าน

พ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ มักมีใช้การควบคุมการเข้าถึงสื่อออนไลน์ของลูกๆ และตั้งกฎเกณฑ์ในการใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เนต ขณะที่พ่อแม่ที่มีลูกๆ ที่โตกว่า มักจะไม่เข้มงวดเท่า

“ไม่มีวิธีการใดที่ใช้ได้กับทุกคน สำหรับการดูแลลูกในยุคดิติทัล” คุณอินแมน แกรนต์ กล่าว

“เราเห็นพ่อแม่จำนวนมากเห็นไปหาเครื่องมือออนไลน์สำหรับควบคุมการใช้อินเตอร์เนตของลูก หรือแม้แต่ใช้อุปกรณ์ติดตาม เพื่อสอดส่องดูแล นี่จึงเป็นคำถามสำหรับพ่อแม่ส่วนใหญ่ว่า จะเฝ้าติดตาม หรือไม่เฝ้าติดตาม?”

“เรารู้ว่าเด็กๆ มีพฤติกรรมตามธรรมชาติที่ชอบทำอะไรเสี่ยงๆ และพวกเขายังจะพยายามหลีกเลี่ยงการทำตามกฎที่คุณตั้งขึ้นสำหรับพวกเขาด้วย การใช้อุปกรณ์เฝ้าติดตามต่างๆ โดยไม่ได้พูดคุยกับพวกเขาก่อนอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจได้” คุณอินแมน แกรนต์ เผย
เธอแนะนำให้พ่อแม่พูดคุยกับลูกๆ และอธิบายกับพวกเขาว่าจะใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยได้อย่างไร

“มันเป็นสิทธิพิเศษ แต่ไม่ใช่สิทธิ และเราจำเป็นต้องตั้งข้อจำกัดล่วงหน้า”

รายงานดังกล่าวยังระบุว่า เรื่องสถานะเพศของลูกไม่มีผลต่อการที่พ่อแม่ตระหนักเรื่องประสบการณ์แง่ลบออนไลน์ของลูกๆ 

รายงานยังพบด้วยว่า ประเด็นส่วนใหญ่ที่พ่อแม่กังวลคือ การพบเห็นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ที่นอกเหนือจากสื่อลามกอนาจร (ร้อยละ 38) การติดต่อกับคนแปลกหน้า (ร้อยละ 37) และการถูกข่มเหงรังแกออนไลน์ (ร้อยละ 34)



Share
Published 28 May 2019 11:32am
By Dubravka Voloder
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends