มหาวิทยาลัยออสเตรเลียได้อันดับสูงกว่าเคมบริดจ์และออกซ์ฟอร์ดในความน่าจ้างของบัณฑิต

เผยมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียที่ได้อันดับสูงในแง่ผลลัพธ์ความน่าจ้างงานของบัณฑิต

Public domain photograph of international students

ภาพนักศึกษานานาชาติ Source: (SBS Hindi/public domain)

You can read the full version of this story in English on SBS Hindi .

มหาวิทยาลัยซิดนีย์ และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นติดท็อปเท็นสิบอันดับแรกของมหาวิทยาลัยระดับโลก ในแง่ผลลัพธ์ความน่าว่าจ้างงาน (employability) ของบัณฑิตผู้จบการศึกษา โดยอ้างอิงจากการจัดอันดับ 2019 QS Graduate Employability Rankings ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา

ในขณะที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์นั้นเป็นอันดับหนึ่งของออสเตรเลียและอันดับห้าของโลกในแง่ความน่าว่าจ้างงานของบัณฑิต มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นได้อันดับที่สองในออสเตรเลียและอันดับที่หกของโลก

นอกจากจะมีการทำการสำรวจนายจ้างกว่า 40,000 ราย ยังดูมากไปกว่าอัตราการจ้างงาน และประเมินความเกี่ยวโยงกับการเป็นผู้ประสบความสำเร็จสูง ตลอดจนการจัดให้มีการฝึกงานร่วมกับสถานที่ทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับบัณฑิต
University of Sydney
มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (SBS Hindi/Wikimedia Commons) Source: wikimedia commons
ดอกเตอร์ ไมเคิล สเปนซ์ รองอธิการบดีและอาจารย์ใหญ่มหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่า  “เรายินดีกับอันดับต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งก็เป็นการยืนยันชัดเจนอีกครั้งว่าบัณฑิตของเรานั้น เป็นหนึ่งในผู้เป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลก”

คุณกลิน เดวิส รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นกล่าวว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวนั้นเป็นข้อพิสูจน์ถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่และต่อเนื่องของการให้การศึกษาระดับโลกให้กับนักเรียนทุกๆ คน

“วิสัยทัศน์ของเราในฐานะมหาวิทยาลัยก็คือการผลิตบัณฑิตที่ดีเยี่ยมโดยผ่านขั้นตอนร่วมกันของการศึกษาระดับปริญญาตรี เสริมด้วยการลงลึกเฉพาะทางในระดับบัณฑิตศึกษา” ศาสตราจารย์เดวิสกล่าว

“การที่เราทำเช่นนี้ ก็เพื่อตั้งเป้าที่จะเป็นเลิศในผลการศึกษา และผลิตบัณฑิตซึ่งมีคุณภาพสูง” เรายินดีที่การจัดอันดับการน่าว่าจ้างได้สะท้อนให้เห็นถึงเป้านี้ของเรา”
Image of the University of Melbourne
มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (Wikimedia Commons/Moriarty.L CC BY-SA 3.0) Source: (Wikimedia Commons/Moriarty.L CC BY-SA 3.0)
การจัดอันดับ QS Graduate Employability Ranking นั้นตั้งอยู่บนองค์ประกอบห้าประการ: ชื่อเสียงของนายจ้าง, ผลลัพธ์ของศิษย์เก่า, การมีส่วนร่วมกับนายจ้าง, ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง-นักศึกษา และอัตราการว่าจ้างงานของบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเอ็มไอที ได้อันดับที่หนึ่งจากทั่วโลก ตามมาโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, ยูซีแอลเอ และฮาร์วาร์ด

สิบอันดับแรกของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียตามผลลัพธ์ความน่าว่าจ้างงาน

1. มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (The University of Sydney)
2. มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (The University of Melbourne)
3. มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (The University of New South Wales)
4. มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์(The University of Queensland)
5. มหาวิทยาลัยโมแนช (Monash University)
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (University of Technology Sydney)
7. มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (The Australian National University)
8. มหาวิทยาลัยอาร์เอ็มไอที (RMIT University)
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนสแลนด์ (Queensland University of Technology)
10. มหาวิทยาลัยแมคควอรี (Macquarie University)

สิบอันดับแรกของมหาวิทยาลัยทั่วโลกตามผลลัพธ์ความน่าว่าจ้างงาน

1. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology)
2. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)
3. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลีส (University of California, Los Angeles)
4. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University)
5. มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (Sydney University)
6. มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (Melbourne University)
7. มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University)
8. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley)
9. มหาวิทยาลัยซิงหัว (Tsinghua University)
10. มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford)

ในขณะที่สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และนิวซีแลนด์ได้เริ่มใช้เงื่อนไขต่างๆ ของวีซ่านักเรียนที่เข้มงวดขึ้น ออสเตรเลียนั้นเริ่มใช้ขั้นตอนการประเมินวีซ่าที่เรียบง่ายขึ้นเมื่อเดินกรกฎาคม ค.ศ. 2016

จำนวนนักศึกษานานาชาติที่ประเทศออสเตรเลียรับเข้ามาในปีนี้นั้นผ่านหลักครึ่งล้านคนแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โดยจำนวนนักศึกษาดังกล่าวได้พุ่งถึงระดับสูงที่เป็นประวัติการณ์ จากจำนวนนักเรียนนานาชาติกว่า 500,000 คนซึ่งลงทะเบียนในหลักสูตรกว่า 540,000 หลักสูตรในออสเตรเลีย
Image of the University of New South Wales (UNSW) in Sydney
มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW) ในนครซิดนีย์ (Wikimedia Commons/Sardaka CC BY-SA 4.0) Source: (Wikimedia Commons/Sardaka CC BY-SA 4.0)
ประเทศจีนยังคงเป็นแหล่งที่มาที่ใหญ่ที่สุดของนักศึกษานานาชาติ ที่ 31 เปอร์เซ็นต์ ส่วนนักศึกษาจากประเทศอินเดียนั้นมีจำนวน 12 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่รับทั้งหมด

มูลค่าของตลาดนักเรียนนานาชาตินั้นพิ่มขึ้น 22 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2016 และขณะนี้ก็อยู่ที่ $32.2 พันล้านต่อปี


Share
Published 19 September 2018 1:29pm
Updated 27 September 2018 4:42pm
By Mosiqi Acharya
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Hindi


Share this with family and friends