อธิบายศัพท์แสงด้านการเลือกตั้ง จาก donkey vote ไปจนถึง democracy sausage

อธิบายคำศัพท์แสงเกี่ยวกับการเลือกตั้งของออสเตรเลีย ตั้งแต่ donkey vote ไปจนถึง democracy sausage ขณะการเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐของออสเตรเลียจะมีขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม

การขายแซนด์วิชไส้กรอกปิ้งเพื่อหาทุนสนับสนุนองค์การต่างๆ ในชุมชน มักมีขึ้นที่ศูนย์เลือกตั้งทั่วประเทศในวันเลือกตั้ง

การขายแซนด์วิชไส้กรอกปิ้งเพื่อหาทุนสนับสนุนองค์การต่างๆ ในชุมชน มักมีขึ้นที่ศูนย์เลือกตั้งทั่วประเทศในวันเลือกตั้ง Source: AAP

คำศัพท์แสงเกี่ยวกับการเลือกตั้งของออสเตรเลีย อาจทำให้หลายๆ คนที่มาอยู่ใหม่ในออสเตรเลียงุนงงได้

คุณอัลจีน ครูซ เป็นวิศวกรไฟฟ้าในบริสเบน เขาอพยพมาจากฟิลิปปินส์มาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อสามปีก่อน และยังคงงุนงงกับศัพท์แสงทางการเมือง

“พูดตรงๆ เลยก็คือ ศัพท์สแลงเกือบทั้งหมดนั้น ผมไม่เข้าใจเลยจริงๆ มันตลกดีที่เมื่อใดที่ผมคุยกับชาวออสเตรเลีย และพวกเขาใช้คำสแลง บางครั้งผมก็ต้องใช้เวลากว่าจะเข้าใจถึงสิ่งที่พวกเขาหมายถึงจริงๆ” คุณอัลจีน ครูซ กล่าว

“มันจะเยี่ยมมากถ้าผมคุ้นเคยกับคำศัพท์สแลงเหล่านี้จริงๆ เพื่อที่ว่าผมจะสามารถเข้าใจสิ่งที่พวกเขาพูดได้”

เรามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับคำศัพท์บางคำที่ใช้บ่อยในการเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐของออสเตรเลียกันเถอะ

Above the line

คำว่า “above the line” หรือ "เหนือเส้น" หมายถึงการลงคะแนนเสียงในบัตรลงคะแนนเลือกวุฒิสมาชิก ลงคะแนนเสียงเหนือเส้นหมายความว่าคุณต้องใส่หมายเลขตามลำดับความชอบ (จาก 1 ถึง 6) ลงในช่องอย่างน้อย 6 ช่อง ในการลงคะแนนเสียงให้พรรคหรือกลุ่มการเมืองที่คุณต้องการเลือก

คะแนนเสียงที่คุณเลือกตั้งลำดับความชอบ จะถูกส่งไปให้ผู้สมัครในพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่คุณเลือกเป็นตัวเลือกอันดับแรก จากนั้นจะส่งไปยังผู้สมัครของพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่คุณเลือกเป็นอันดับสอง และต่อไปเรื่อยๆ
ตัวอย่างการลงคะแนนเสียงเหนือเส้น (above the line) สำหรับบัตรลงคะแนนเลือกวุฒิสมาชิก
ตัวอย่างการลงคะแนนเสียงเหนือเส้น (above the line) สำหรับบัตรลงคะแนนเลือกวุฒิสมาชิก Source: AEC

Below the line

Below the line หมายถึงในการลงคะแนนเสียงใต้เส้นในบัตรลงคะแนนเลือกวุฒิสมาชิก โดยคุณจะต้องใส่หมายเลขเรียงตามลำดับความชอบ (จาก 1 ถึง 12) ลงในช่องอย่างน้อย 12 ช่อง สำหรับผู้สมัครแต่ละคน ซึ่งคุณรู้แน่ชัดว่าคุณกำลังลงคะแนนเสียงให้ใคร

Democracy sausage

การขายแซนด์วิชไส้กรอกปิ้งเพื่อหาทุนสนับสนุนองค์การต่างๆ ในชุมชน มักมีขึ้นที่ศูนย์เลือกตั้งทั่วประเทศในวันเลือกตั้ง

ศาสตราจารย์จูดิท เบร็ตต์ จากมหาวิทยาลัยลา โทรบ กล่าวว่า คำว่า “Democracy sausage" หรือ “ไส้กรอกประชาธิปไตย" เกิดขึ้นราวๆ ปี 2012 หลังจากที่เริ่มมีการใช้คำนี้ทางออนไลน์

“คนหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งในโซเชียลมีเดียใช้คำว่า “Democracy sausage" (ไส้กรอกประชาธิปไตย) เพื่อพูดถึงสถานที่ที่ผู้คนสามารถซื้อไส้กรอกเป็นอาหารเช้าได้เมื่อเราต้องไปเลือกตั้ง และคำดังกล่าวก็เริ่มถูกใช้แพร่หลาย” ศาสตราจารย์เบร็ตต์ กล่าว
ที่หน่วยเลือกตั้ง คุณอาจเห็นแผงขายแซนวิชไส้กรอกเพื่อเรี่ยไรเงินให้องค์กรในชุมชน ซึ่งมักเรียกกันว่า 'ไส้กรอกประชาธิปไตย'
ที่หน่วยเลือกตั้ง คุณอาจเห็นแผงขายแซนวิชไส้กรอกเพื่อเรี่ยไรเงินให้องค์กรในชุมชน ซึ่งมักเรียกกันว่า 'ไส้กรอกประชาธิปไตย' Source: AAP Image/James Ross

Donkey vote

ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่แพร่หลายว่า นี่เป็นการลงคะแนนแบบทิ้งขว้างซึ่งทำให้เป็นบัตรเสีย แต่ความจริงๆ แล้วการลงคะแนนเสียงแบบที่เรียกกันว่า Donkey vote (ลงคะแนนแบบโง่ๆ เหมือนลา) ยังคงเป็นการลงคะแนนที่ไม่ได้ทำให้บัตรเสียแต่อย่างใด

รองศาสตราจารย์ พอล วิลเลียมส์ นักวิจารณ์การเมืองของมหาวิทยาลัยกริฟฟิท กล่าวว่า " Donkey vote (ลงคะแนนแบบโง่ๆ เหมือนลา) เป็นลงคะแนนที่ถูกต้อง แต่เราคิดว่าลาเป็นสัตว์ที่โง่เขลา ดังนั้นแนวคิดในเรื่องนี้ก็คือ คนที่เข้าไปที่หน่วยเลือกตั้ง เข้าไปในคูหาเลือกตั้ง และคิดว่า ‘ฉันไม่รู้ว่าเรื่องการเมืองเลย ฉันไม่มีความสนใจ และฉันจะสิ่งที่ง่ายที่สุดและเร็วที่สุดเพื่อจะได้ออกไปจากที่นี่’ "

สิ่งที่เร็วที่สุดและง่ายที่สุดมักจะหมายถึง การที่ผู้คนใส่หมายเลข 1 ที่ด้านบนของบัตรลงคะแนนเสียงและใส่หลายเลขเรียงตามลำดับมาจนถึงด้านล่างของบัตรลงคะแนน โดยไม่ได้คิดหรือไม่รู้ว่าพวกเขากำลังลงคะแนนเสียงให้ใครหรือเลือกใคร

นอกจากนี้ ยังมีการลงคะแนนแบบ Donkey vote (ลงคะแนนแบบโง่ๆ เหมือนลา) โดยทำกลับกันคือใส่หมายเลข 10 ลงที่ด้านบนของบัตรลงคะแนน และใส่หมายเลขเรียลงลำดับมาเรื่อยๆ ในถึงหมายเลข 1 ที่ด้านล่างของบัตรลงคะแนน

Hung parliament

มาจากแนวคิดเดียวกันกับ hung jury (คือคณะลูกขุนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันจนไม่สามารถหาข้อสรุปได้)  แต่ในรัฐสภา หมายความว่าไม่มีพรรคใดที่ได้ที่นั่งส่วนใหญ่โดยรวมในรัฐสภา ดังนั้นจึงไม่มีพรรคการเมืองใดที่จะจัดตั้งรัฐบาลโดยลำพังได้ และสามารถควบคุมเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาได้

แต่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากพรรคอื่นและจากผู้สมัครอิสระ
การเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐของออสเตรเลียจะมีขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม
การเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐของออสเตรเลียจะมีขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม Source: AAP / MICK TSIKAS/AAPIMAGE

‘I don’t hold a hose’

ดร.อแมนดา โลจ์เซน ผู้อำนวยการศูนย์พจนานุกรมแห่งชาติออสเตรเลีย (ANDC) กล่าวว่า สำนวนหนึ่งที่ ANDC จับตาดูอยู่คือสำนวนที่ว่า ‘I don’t hold a hose’ หรือ “ผมไม่ได้เป็นคนถือสายยาง" ซึ่งย้อนกลับไปในปี 2019 เมื่อนายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอร์ริสัน ไปพักผ่อนที่ฮาวายในช่วงฤดูไฟป่าของออสเตรเลีย

“ตอนที่กลับมา เขาใช้สำนวนว่า ‘I don’t hold a hose’ หรือ “ผมไม่ได้เป็นคนถือสายยาง" เพื่อจะบอกว่า จริงๆ แล้วเขาไม่ใช่คนที่ต้องออกไปจัดการดับไฟป่าโดยตรง” ดร.โลจ์เซน กล่าว

“แต่จากนั้นมันก็ถูกนำมาใช้เพื่อต่อต้านเขา ทั้งในบริบทของไฟป่าและในบริบทอื่นๆ ภายหลัง สำหรับการไม่รับผิดชอบโดยตรงสำหรับสิ่งที่เขาผลักความรับผิดชอบให้คนอื่นหรือให้กับปัจจัยอื่นๆ”

“เราเห็นสำนวนนี้ถูกนำไปใช้บ่อยๆ ในเรื่องการฉีดวัคซีนต้านโควิดให้ประชากร เป็นประโยคที่ว่า 'ผมไม่ได้เป็นคนถือเข็มฉีดยา' เราเพิ่งเห็นเมื่อไม่นานนี้กับสถานการณ์น้ำท่วมด้วยว่า 'ผมไม่ได้เป็นคนถือถังวิดน้ำ'"

Manchurian candidate

วลีที่ได้ยินในรัฐสภาเมื่อเร็ว ๆ นี้ซึ่งใช้โดยทั้งสองพรรคการเมืองหลัก แต่ในช่วงแรกถูกใช้โดยพรรคร่วมเพื่ออ้างถึงพรรคแรงงานว่า เห็นอกเห็นใจจีนเกินกว่าที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเห็นว่าเหมาะสม ดร.อแมนดา โลจ์เซน ผู้อำนวยการศูนย์พจนานุกรมแห่งชาติออสเตรเลีย (ANDC) กล่าว

Pork barrelling

มีคำจำกัดความในพจนานุกรมแมกควารี (Macquarie) ว่า "เป็นการให้ส่วนที่ไม่เหมาะสมสำหรับเงินของรัฐบาล เพื่อแลกกับการสนับสนุนทางการเมือง"

ดร.วิลเลียมส์ จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิท กล่าวว่า วลี Pork barrelling หรือถังบรรจุเนื้อหมูมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเนื้อหมูที่บรรจุมาในถังไม้เป็นอาหารหลักสำหรับคนมั่งคั่งในศตวรรษที่ 19

วลีนี้มีความหมายทางการเมืองในช่วงสงครามกลางเมืองของอเมริกา เมื่อนักการเมืองเสนอเงินให้เพื่อบูรณะชุมชนต่างๆ การเสนอถังบรรจุเนื้อหมูถูกนำมาใช้สำหรับการติดสินบน ซึ่งออสเตรเลียได้นำมาประยุกต์ใช้ในแบบของเราเอง

Pork barrelling เป็นแนวทางปฏิบัติที่พรรคการเมืองและนักการเมืองใช้เงินสาธารณะอย่างมิชอบ เพื่อหาผลประโยชน์ทางการเมืองใส่ตน โดยมากแล้วมักเป็นการใช้เงินสาธารณะเพื่อโน้มน้าวใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยให้คำมั่นสัญญาต่างๆ ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 9 May 2022 3:43pm
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News

Share this with family and friends