ผู้ถูกพิษแมงกะพรุนเพิ่มอย่างก้าวกระโดด

NEWS: เจ้าหน้าที่กล่าวว่ามีผู้คนยี่สิบสองรายเข้าโรงพยาบาลในรัฐควีนส์แลนด์หลังจากถูกพิษซึ่งคาดว่าเป็นของแมงกะพรุน อีเรอคานด์จี ในฤดูกาลนี้

An irukandji jellyfish.

An irukandji jellyfish. Source: WA DEPARTMENT OF PARKS AND WILDLIFE

You can read the full version of this story in English on SBS News .

ผู้คนจำนวนยี่สิบสองรายถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล โดยคาดว่าถูกพิษของแมงกะพรุนอีเรอคานด์จี (Irukandji) ในรัฐควีนส์แลนด์ในฤดูกาลนี้

ซึ่งนับว่ามากกว่าสองเท่าตัวของจำนวนเฉลี่ยในระยะเวลา 10 ปี หากอ้างอิงจากบริการให้คำแนะนำสัตว์กัดต่อยทางน้ำแห่งออสเตรเลีย (Australian Marine Stinger Advisory Service)

โดยทั่วๆ ไปแล้วจะพบแมงกะพรุนที่อาจเป็นอันตรายถึงตายดังกล่าวเป็นจำนวนมากในท้องน้ำเขตร้อนทางตอนเหนือของรัฐดังกล่าว แต่กระแสน้ำอุ่นจากฝนตกหนักก็ดึงดูดให้พวกมันมายังทางตอนใต้มากกว่าเดิม

ผู้อำนวยการของ AMSAS นางลิซา เกอร์ชวิน กล่าวว่า ปีนี้ “ดูทรงแล้วเป็นปีที่ท่าทางจะแย่”

เธอกล่าวว่า “คุณไม่สามารถบอกได้ว่ามีแหล่งชุกชุมอยู่ที่ไหนในปีนี้ -- พวกมันอยู่ทั้งตอนบนและตอนล่างของชายฝั่ง”

“มีการกระจุกตัวเป็นกลุ่มๆ บริเวณเกาะเฟรเซอร์ มีการกระจุกตัวที่หมู่เกาะวิตซันเดย์ มีการกระจุกตัวในภูมิภาคของเมืองแคนส์และก็มีคนที่โดนต่อยอยู่ในระหว่างนั้น”

เจ้าหน้าที่บริเวณชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ยังได้เตือนผู้ลงว่ายน้ำให้ระมัดระวังแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงิน  (bluebottle jellyfish) ซึ่งเกยฝั่งเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์
More than 2500 people have been treated for bluebottle stings on the Gold and Sunshine coasts in Queensland.
More than 2500 people have been treated for bluebottle stings on the Gold and Sunshine coasts in Queensland. Source: Twitter/@QldAmbulance
ทั่วรัฐควีนส์แลนด์ แต่เกือบทั้งหมดนั้นอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนจำนวน 22,282 รานยที่เข้ารับการรักษาเนื่องจากถูกต่อยโดยแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงินตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึง  7 มกราคม เมื่อเทียบกับ 6831 รายในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว

เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มกราคม มีผู้รับการรักษาเนื่องจากพิษแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงิน 526 ราย

เหล่านักกู้ชีพเตือนว่าสภาพของแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงินนั้นจะยังดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายวัน
- - - - -

SBS Thai

 ซึ่งเป็นเว็บไซต์คำแนะนำด้านสุขภาพที่สนับสนุนโดยรัฐบาลระดับรัฐและสหพันธรัฐของออสเตรเลีย ได้กล่าวว่าผู้ที่ประสบกับ “กลุ่มอาการอีเรอคานด์จี” (Irukandji Syndrome) นั้นจะรู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายของพวกเขาอย่างสาหัสที่สุดโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นบริเวณที่ถูกแมงกะพรุนอีเรอคานด์จีต่อย ปฏิกิริยาต่างๆ นั้นอาจยังไม่เกิดขึ้นเป็นเวลาสามสิบนาทีหลังจากที่ถูกแมงกระพรุนต่อย และจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์  และยังได้อธิบายถึงอาการอื่นๆ เช่น อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาการปวดบริเวณหลัง กล้ามเนื้อ หน้าอก และท้อง คลื่นไส้อาเจียน วิตกกังวล เหงื่อแตก ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว มีของเหลวคั่งในช่องปอด เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และสมองบวม ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

ควรทำอย่างไรหากถูกพิษอีเรอคานด์จีหรือแมงกะพรุนที่รุนแรง

หากมีกลุ่มอาการอีเรอคานด์จี  หรือมีปฏิกิริยาต่อพิษแมงกะพรุนชนิดอื่นอย่างรุนแรง ให้โทร 000 เพื่อเรียกรถพยาบาล และเริ่มต้นทำการปฐมพยาบาล:

  • ราดน้ำส้มสายชูเป็นปริมาณมากลงบนบริเวณที่ถูกต่อย ซึ่งจะยับยังเซลล์พิษ (nematocytes) ที่ยังไม่ได้ปล่อยพิษไม่ให้ทำงาน หากไม่มีน้ำส้มสายชู ให้ใช้น้ำทะเล
  • ใช้ความระมัดระวังในการดึงหนวดแมงกะพรุนออกจากผิวหนัง
  • หากบุคคลนั้นหมดสติ ให้ทำการกู้ชีพด้วยการปั๊มหัวใจและผายปอด
หากถูกพิษแมงกะพรุนที่ไม่รุนแรง เช่นแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงิน:

  • ล้างบริเวณที่โดนด้วยน้ำทะเลและดึงหนวดแมงกะพรุนออกจากผิวหนัง
  • แช่บริเวณที่ถูกพิษ หรือล้างด้วยน้ำอุ่นเป็นเวลา 20 นาที โดยไม่ให้น้ำลวก แต่ว่าก็ควรจะร้อนที่สุดเท่าที่ผู้นั้นจะสามารถทนได้ หรือประมาณ 45 องศาเซลเซียส หรืออาจทำการอาบน้ำร้อน
  • หากไม่มีน้ำร้อน ให้ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อช่วยระงับความเจ็บปวด
  • ปรึกษาแพทย์ของท่านหากความเจ็บป่วยยังดำเนินต่อเนื่อง
ไม่ควรใช้น้ำส้มสายชูสำหรับการถูกพิษแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงิน เนื่องจากจะไม่ช่วยและอาจทำให้ความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น

จะป้องกันการถูกแมงกะพรุนต่อยได้อย่างไร

  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในทะเลซึ่งมีป้ายเตือนเกี่ยวกับแมงกะพรุน
  • อย่าแตะต้องแมงกะพรุนไม่ว่าจะในน้ำหรือบนชายหาด
  • สวมชุดว่ายน้ำผ้ายืดชนิดคลุมทั้งตัว และรองเท้ากันน้ำ
ท่านอาจว่ายน้ำบริเวณใกล้กับนักกู้ชีพ ซึ่งก็จะสามารถปฐมพยาบาลท่านได้ หรือหากมีอาการรุนแรงก็จะเรียกรถพยาบาลให้กับท่าน

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 10 January 2019 5:14pm
Updated 10 January 2019 9:43pm
By SBS Newsroom
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AAP, SBS News, Twitter


Share this with family and friends