ผู้เชี่ยวชาญอ้างนักเรียนต่างชาติทำให้เมืองหนาแน่น ไม่ใช่ผู้ย้ายถิ่นฐาน

NEWS: อดีตเจ้าหน้าที่ด้านตรวจคนเข้าเมืองระดับสูงกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า การที่นายมอร์ริสันจะลดช่องทางเข้าเมืองโดยถาวรลงนั้น จะมีผลเพียง ‘เล็กน้อย’ ต่อความแออัด

An image of an intersection in Sydney

สี่แยกหนึ่งบริเวณใจกลางนครซิดนีย์ Source: Pixabay

You can read the full version of this story in English on SBS News .

อดีตเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกล่าวว่า การลดการรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจะมีผลกระทบ ‘เพียงเล็กน้อย’ ต่อความหนาแน่นของเมือง เนื่องจากแรงกดดันที่แท้จริงนั้นมาจากผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราว โดยเฉพาะนักเรียนนานาชาติ

นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันได้กล่าวในสัปดาห์นี้ว่า เขาคาดว่าจะลดจำนวนผู้ย้ายถิ่นฐานถาวรที่รับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียลงประมาณ 30,000 คน โดยกล่าวว่า “ถนนนั้นติดขัด” และโรงเรียนต่างๆ ก็เต็มแล้ว
แต่คุณอาบุล ริซวี อดีตรองเลขาธิการภายในกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า มัน “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่ความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะมีผลกระทบใดๆ ต่อ “การแก้ไขความแออัด’

คุณริซวีกล่าวว่า แรงกดดันที่แท้จริงต่อเมืองต่างๆ ย่านชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียซึ่งมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นนั้น คือการผลักดันจากการเพิ่มจำนวนสูงขึ้นของนักเรียนนานาชาติ ในขณะที่ผู้เข้าเมืองโดยถาวรนั้นได้อยู่ในระดับที่คงที่มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว

“นักเรียนนานาชาติเป็นปัจจัยขนาดใหญ่ที่ทำให้จำนวนผู้เข้าเมืองสุทธินั้นเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่โดยแท้จริงแล้วนั้นเป็นจำนวนมากที่เข้ามาอยู่ในซิดนีย์ เมลเบิร์น และบริสเบน” เขากล่าว
Former Immigration deputy secretary Abul Rizvi
Former immigration deputy secretary Abul Rizvi. Source: SBS
นักเรียนนานาชาติได้ทำให้เปอร์เซ็นต์ของผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวนั้นเพิ่มขึ้น  – ซึ่งก็รวมไปถึงลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างที่เป็นนักท่องเที่ยวสะพายเป้ (backpackers) และเหล่านักท่องเที่ยว โดยมีนักเรียนเป็นจำนวน 32,000 คนที่เข้าเมืองมาในช่วงปี 2011-12 และก้าวกระโดดขึ้นเป็น 100,000 คนในปี 2016-17

จากนั้นนักเรียนเหล่านี้ก็กลายเป็นพวกที่คุณริซวีเรียกว่า “ผู้อยู่อาศัยชั่วคราวในระยะยาว” – ผู้ซึ่งอยู่ในประเทศออสเตรเลียมาเป็นระยะเวลาหนึ่งด้วยวีซ่าชั่วคราวหลายวีซ่า โดยหลายๆ คนพยายามหาหนทางที่จะกลายเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร

คุณริซวียังกล่าวว่า แผนการของรัฐบาลที่จะผลักดัน นั้นในท้ายที่สุดก็อาจผลักดันประชากรให้ออกไปจากนครซิดนีย์หรือเมลเบิร์น

“เรื่องดังกล่าวจะบีบให้นักเรียนนานาชาติหลายๆ คนที่มาอยู่ในซิดนีย์และเมลเบิร์น ออกไปยังพื้นที่เช่นแอดิเลด ดาร์วิน โฮบาร์ต และพื้นที่ส่วนภูมืภาคของออสเตรเลีย และดังนั้น มันก็จะมีผลกระทบต่อซิดนีย์และเมลเบิร์นในแง่นั้น”

“อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมเคยกล่าว ผลกระทบจะมีเพียงเล็กน้อย และผลกระทบต่อความแออัดนั้นก็จะเป็นเพียงระยะสั้นและน้อยนิด”

นางทันญา พลิเบอร์เซก จากพรรรคแรงงานได้กล่าวว่า รัฐบาลได้ทำการอนุมัติวีซ่าชั่วคราวให้เข้ามาเป็นจำนวน “มหาศาล”

“ห้าปีที่รัฐบาลพรรคลิเบอรัลได้เป็นผู้ควบคุมการตรวจคนเข้าเมือง เป็นเวลาห้าปีซึ่งก็ได้เห็นจำนวนที่มากมหาศาล โดยเฉพาะวีซ่าชั่วคราว ในขณะที่เรานั้นจริงๆ แล้วควรจะฝึกอบรมชาวออสเตรเลียให้ทำงานต่างๆ ที่อยู่บนรายการทักษะซึ่งขาดแคลนได้เป็นปีๆ ในแต่ละรอบ” นางพลิเบอร์เซกกล่าว

“ดูแล้วช่างน่าย้อนแย้งเสียจริงๆ ใช่ไหม?”

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 21 November 2018 10:03am
Updated 22 November 2018 9:19am
By James Elton-Pym
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP, Pixabay


Share this with family and friends