ภาพตัดต่อ-ข้อมูลเท็จเหตุไฟป่าออสเตรเลียระบาดหนัก

NEWS: พบภาพเหตุไฟป่าในออสเตรเลียยอดนิยมที่คนโซเชียลแห่แชร์หลายภาพถูกตัดต่อ บางส่วนเป็นข้อมูลเท็จที่มาจากคนละเหตุการณ์ นักวิจัยสื่อเตือนใช้วิจารณญาณแยกแยะข่าวสารให้รอบคอบ

Photoshopped images and altered maps are among misinformation about bushfires spreading on social media.

Photoshopped images and altered maps are among misinformation about bushfires spreading on social media. Source: Twitter

มีภาพสะเทือนใจและความสูญเสียจากเหตุไฟป่าในออสเตรเลียอย่างไม่ขาดสายตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบหรือไม่ว่า หลายภาพยอดนิยมที่ผู้คนนำไปแชร์ตามโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมากนั้นไม่ใช่ของจริง

ภาพจากเหตุไฟป่าครั้งก่อน อย่างเช่น ภาพครอบครัวที่หลบอยู่ใต้ท่าเรือจากเหตุไฟป่าในเมืองดูนัลลีย์ (Dunulley) ในรัฐแทสเมเนีย เมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา ถูกนำกลับมาเผยแพร่อีกครั้ง
Tammy Holmes is seen taking refuge with her grandchildren under a jetty as a bushfire engulfed the Tasmanian town of Dunalley in January, 2013.
Tammy Holmes is seen taking refuge with her grandchildren under a jetty as a bushfire engulfed the Tasmanian town of Dunalley in January, 2013. Source: Tim Holmes/AP
นอกจากนี้ ยังมีภาพตัดต่อภาพหนึ่งที่มีผู้นำไปแชร์เป็นจำนวนมาก นั่นคือภาพเด็กผู้หญิงที่อุ้มโคอาลาอยู่หน้ากำแพงไฟป่าที่ลุกไหม้อยู่ด้านหลัง
twitter
Source: Twitter
ดร.จูลี โพเซตตี (Dr Julie Posetti) ผู้อำนวยการการวิจัยระดับโลก จากศูนย์ผู้สื่อข่าวระหว่างประเทศ (International Centre of Journalists) ซึ่งได้ร่วมเขียนคู่มือสำหรับผู้สื่อข่าวขององค์การสหประชาชาติ ในเรื่องวารสารศาสตร์และข้อมูลอันเป็นเท็จ กล่าวว่า 

“กว่าสิบปีในการวิจัยด้านโซเชียลมีเดีย มีหลายสิ่งที่ปรากฏชัด ขณะที่ผู้คนแชร์ข้อมูลที่ได้รับการเติมแต่งหรือภาพที่ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พวกเขาคิดว่ามันคือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงอย่างประมาทเลินเล่อ ยังมีอีกหลายคนที่ต้องการที่จะเติมเชื้อไฟให้กับการสร้างข้อมูลเท็จด้วยเหตุผลที่เลวร้าย ตั้งแต่เรียกร้องความสนใจเพื่อบ่อนทำลาย ไปจนถึงการใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ผ่านการกระทำอย่างรอบคอบในการทำให้ชีวิตผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกเบี่ยงเบนการรับรู้ข่าวสารไปจนผิดทาง” ดร.โพเซตตีกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ 

สำหรับผู้ที่ประสบภัยไฟป่านั้น เธอกล่าวว่า มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะหลีกเลี่ยงจากแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ และพึ่งพาแหล่งข้อมูลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานดับเพลิงในชุมชน หรือวิทยุและโซเชียลมีเดียของเอบีซี

อย่างไรก็ตาม ดร โพเซตตี ได้กล่าวว่า มันเป็นเรื่องที่สำคัญในการไม่สับสนว่า งานศิลปะะนั้นเป็น “ภาพปลอม”

กรณีนี้เกิดขึ้นจากภาพของ นายแอนโทนี เฮียร์ซีย์ (Anthony Hearsey) ศิลปินที่ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมขององค์การนาซา (NASA) ของสหรัฐฯ ในการทำแบบจำลองไฟป่าแบบ 3 มิติบนแผนที่ออสเตรเลีย และเกิดความคลาดเคลื่อนจนแสดงเหตุไฟป่าว่ารุนแรงเกินจริง มีผู้คนจำนวนมากนำภาพดังกล่าวไปแชร์ และเข้าใจผิดว่าเป็นภาพจาก NASA

นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวยังได้รับการแชร์โดยศิลปินชื่อดังจากสหรัฐฯ “ริแอนนา (Rihanna)” บนทวิตเตอร์ส่วนตัวของเธอ ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 95 ล้านบัญชี และถูกนำไปแชร์ต่อ หรือ รีทวีต (retweet) มากถึง 73,000 ครั้ง
เมื่อไม่นานมานี้ เฟซบุ๊กได้แสดงข้อความเตือนว่า ภาพดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ

“ภาพของผมถูกบล็อกบนเฟซบุ๊ก เพราะมีหลายคนที่แชร์ภาพนี้ไปด้วยคำบรรยายภาพว่า ‘นี่เป็นภาพจาก NASA’ ภาพจึงถูกพาดข้อความคำเตือนไว้แบบนั้น” นายเฮียร์ซีย์ เจ้าของผลงานซึ่งไม่คาดคิดว่าภาพดังกล่าวจะได้รับความนิยมกล่าว 

“คิดเสียว่าภาพนี้เป็นแผนภูมิแสดงการเกิดไฟป่า” เขากล่าว
ยังมีภาพที่ถูกบิดเบือนบางส่วนถูกนำไปใช้ระดมเงินอย่างผิดกฎหมาย จากผู้คนทั่วไปที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุไฟป่า โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าและผู้บริโภคออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission หรือ ACCC) ได้ประกาศเตือนหลังพบผู้ตั้งแคมเปญระดมเงินที่อ้างว่าจะนำเงินที่ได้ไปช่วยเหลือคนหรือสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่าจำนวนหนึ่งเป็นมิจฉาชีพ
นอกจากนี้ สื่อมวลชนเองก็ได้เข้าไปเป็นหนึ่งในผู้เผยแพร่ข้อมูลเท็จ หลังสถานีโทรทัศน์เอบีซีของสหรัฐฯ ได้ประกาศแก้ไขข้อมูลจากการนำเสนอข่าวที่ผิดพลาด โดยแสดงจุดเกิดเหตุไฟป่าบนแผนที่ออสเตรเลียในพื้นที่ทางตอนเหนือและตอนกลางของประเทศไปก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ดร.โพเซตตี กล่าวอีกว่า มันไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่มีการนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบขนาดของไฟป่ากับภูมิประเทศต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ชมในต่างประเทศเข้าในสถานการณ์ในแบบที่ใกล้เคียงกับท้องถิ่น แต่สิ่งเหล่านี้ควรทำอย่างถูกต้อง
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ ตร.โพเซตตีกังวล คือการเพิ่มขึ้นของจำนวน “ผู้ปล่อยข่าวเท็จ” ที่เผยแพร่ข้อมูลเพื่อเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงที่ว่า สาเหตุในการเกิดดวิกฤตไฟป่ามาจากความนิ่งเฉยที่จะดำเนินการเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มีหลายโพสบนโซเชียลมีเดียที่พูดอย่างเกินจริงว่า (เหตุไฟป่า) มาจากการเพิ่มจำนวนของมือวางเพลิง ภายใต้แฮชแท็ก #ArsonistEmergency

นอกจากนี้ ดร.โพเซตตี ยังกล่าวอีกว่า สิ่งที่สำคัญไม่ใช่เพียงแค่ผู้คนสามารถสังเกตได้ว่าภาพไหนเกินความเป็นจริง แต่ยังรู้เท่าทันข้อมูลเท็จจากช่องทางที่ไร้ความรับผิดชอบและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอีกด้วย 

“มันจะกลายเป็นความวิบัติที่ทับถมกับเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมด หากผู้คนถูกชักจูงโดยผู้ใฝ่ร้ายในการทำลายความน่าเชื่อถือของวิทยาศาสตร์และหลักฐานต่าง ๆ ที่อยู่ตรงหน้า ในประเด็นเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อันเป็นสาเหตุของเหตุไฟป่าที่เลวร้ายในครั้งนี้"

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 




Share
Published 8 January 2020 3:00pm
Updated 10 January 2020 9:30am
By Rose Bolger
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends