เด็กอายุเท่าไหร่ถึงควรเล่นโซเชียลมีเดีย?

โรงเรียนและรัฐบาลเริ่มออกคำสั่งห้ามใช้มือถือ และผู้ปกครองบางท่านพยายามยื้อไม่ให้บุตรหลานเล่นโซเชียลมีเดียให้นานที่สุด

ผู้สอนและผู้ออกกฎหมายชี้มือถือทำให้เด็กเสียสมาธิในโรงเรียน

ผู้สอนและผู้ออกกฎหมายชี้มือถือทำให้เด็กเสียสมาธิในโรงเรียน Source: AAP

ประเด็นสำคัญ
  • รัฐบาลมลรัฐทั่วออสเตรเลียเริ่มแบนการใช้มือถือ
  • ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียอนุญาตให้ผู้ที่มีอายุ 13 ปีลงทะเบียนได้ แต่ผู้ปกครองหลายท่านไม่เห็นด้วย
  • ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าผู้สอน การกีดกันและการสื่อสารเป็นกุญแจสำคัญในการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยในกลุ่มวัยรุ่น
โซเชียลมีเดีย (social media) และสมาร์ทโฟน (smart phone) ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในยุคใหม่ แต่อายุเท่าไหร่ที่จะเหมาะสมกับการเริ่มใช้?

แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้งเฟสบุ๊ก (Facebook) อินสตาแกรม (Instagram) และติ๊กต็อก (TikTok) อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปสมัครใช้บริการ หลายฝ่ายกล่าวว่าควรเพิ่มอายุ

ขณะนี้รัฐบาลระดับมลรัฐและมณฑลต่างๆ เริ่มใช้มาตรการแบนและจำกัดการใช้สมาร์ทโฟน ขณะที่ผู้ปกครองหลายท่านพยายามจำกัดการเข้าถึงและการเปิดรับโซเชียลมีเดียของเด็กๆ

คำถามคือ อายุเท่าไหร่คืออายุที่เหมาะสม? ทำไมโรงเรียนถึงห้าม

ใช้สมาร์ทโฟน? และกลุ่มวัยรุ่นจะสามารถใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยได้อย่างไร?

ข้อเสียเยอะกว่าข้อดี

คุณแดนนี เอลาชิ (Dany Elachi) คุณพ่อที่อาศัยอยู่ในซิดนีย์หวังที่จะให้ลูกๆ ของเขาที่มีอายุระหว่าง 5 – 13 ปี อยู่ห่างจากโซเชียลมีเดียให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

คุณเอลาชิและคุณซินเทีย (Cynthia) ภรรยาของเขาร่วมก่อตั้งสมาพันธ์ เฮดส์ อัป (Heads Up Alliance) ชุมชนของครอบครัวในออสเตรเลียที่ประสงค์จะชะลอการใช้โซเชียลมีเดียและการใช้สมาร์ทโฟนของลูกๆ ของพวกเขาจนกว่าจะจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 2 (Year 8)

ลูกๆ ของทั้งสองสามารถใช้เทคโนโลยี เล่นไอแพด (iPad) และมีแล็ปท็อป ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียน แต่ไม่มีสมาร์ทโฟนหรือบัญชีโซเชียลมีเดียของตนเอง
คุณแอนีและคุณซินเทีย เอลาชิ ผู้ก่อตั้งสมาพันธ์เฮดส์ อัป ชุมชนของครอบครัวที่ชะลอการใช้โซเชียลมีเดียและการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กๆ
คุณแอนีและคุณซินเทีย เอลาชิ ผู้ก่อตั้งสมาพันธ์เฮดส์ อัป ชุมชนของครอบครัวที่ชะลอการใช้โซเชียลมีเดียและการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กๆ Source: Supplied / Dany Elachi
เราไม่คิดว่าประโยชน์ของมันจะมีน้ำหนักมากกว่าข้อเสียที่มีมากมาย
คุณเอลาชิอธิบาย
“โซเชียลมีเดียถูกออกแบบมาให้เสพติดมัน เรารู้ว่ามีผู้ร้ายที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในโซเชียลมีเดีย เรารู้ว่าโซเชียลมีเดียและสมาร์ทโฟนทำให้เด็กๆ หลายคนนอนดึก และด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าเด็กๆ ต้องใช้เวลากับมันมาก เด็กๆ จะไม่ไปทำอย่างอื่น เช่น อ่านหนังสือ หรือสานสัมพันธ์กับครอบครัว”

คุณเอลาชิกล่าวว่า ควรมีการศึกษาเรื่องความปลอดภัยบนโซเชียลมีเดียและความเสี่ยงต่างๆ ในโรงเรียน รวมถึงข้อกำหนดเรื่องอายุที่มากขึ้นในการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ
“เราสนับสนุนเรื่องการศึกษา อันที่จริงเราคิดว่าควรมีการให้ความรู้ในประเด็นเหล่านี้มากขึ้น เพราะนี่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา และเราควรเตรียมพร้อมกับปัญหาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” คุณเอลาชิกล่าว
เราคิดว่าอายุที่เหมาะสมน่าจะเป็น 15 หรือ 16 ยิ่งรอได้นานเท่าไหร่ ยิ่งดี

โรงเรียนควรแบนมือถือหรือไม่?

ไม่นานมานี้ รัฐบาลระดับมลรัฐทั่วออสเตรเลียเริ่มบังคับใช้การแบนและการจำกัดการใช้สมาร์ทโฟน

ในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษานี้ รัฐบาลรัฐเซาท์ออสเตรเลียสั่งแบนการใช้โทรศัพท์มือถือในระดับมัธยมปลายทั่วรัฐ เพื่อปรับปรุงสมาธิในห้องเรียน ลดการกลั่นแกล้ง (bullying) และการละเมิด (harassment)

กฎระเบียบที่คล้ายคลึงกันนี้กังคับใช้ในโรงเรียนของรัฐบาล ในรัฐนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรีเช่นกัน รัฐวิกตอเรีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย รัฐทาสแมเนียเริ่มใช้กฎนี้ตั้งแต่ปี 2020
ผู้สอนและผู้ออกกฎหมายอ้างว่าโทรศัพท์เป็นสิ่งรบกวนสมาธิและทำให้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งและสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนแย่ลง

คุณแพทริก โทมัส (Patrick Thomas) ผู้จัดการหน่วยงานให้บริการความรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ วายเซฟ (ySafe) แห่งรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียกล่าวกับเอสบีเอส นิวส์ ว่าการแบนไม่ใช่กุญแจของการแก้ปัญหาเรื่องโซเชียลมีเดียเสมอไป

“ผมเข้าใจว่าการแบนเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่เราควรพิจารณาถึงบริบททุกครั้ง” คุณโทมัสกล่าว

“มันเป็นเรื่องยากมากในการแบนที่ครอบคลุม และนั่นคือเหตุผลที่ว่าการศึกษาเป็นเรื่องที่ดีมาก เราควรพิจารณาเรื่องการใช้โทรศัพท์ เกมส์ และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย เราควรพิจารณาเรื่องของเขตและการสื่อสารด้วย”
คุณเอลาชิและสมาพันธ์เฮดส์ อัป พยายามรณรงค์เรื่องการจำกัดใช้มือถือตามโรงเรียน โดยให้เด็กนักเรียนสามารถใช้อุปกรณ์เมื่อจำเป็นต่อการเรียน หรือเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการแพทย์

“สิ่งแรกคือไม่ให้ใช้โทรศัพท์ แต่หากครูผู้สอนบอกว่าจำเป็นต่อการเรียน ไม่มีใครต่อต้านจุดนั้น แต่ในกรณีอื่นๆ เราคิดว่าควรให้อยู่ห่างจากโทรศัพท์และให้พ้นสายตา” คุณเอลาชิกล่าว

แนวคิดหัวรุนแรงและการสมรู้ร่วมคิดอยู่ในโลกโซเชียลมีเดีย

คุณไซมอน คอปแลนด์ (Simon Copland) เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติของออสเตรเลีย (Australian National University) ภาควิชาสังคมวิทยา ที่มุ่งเน้นเรื่องกลุ่มขวาจัดและกลุ่มขวาจัดหัวรุนแรงในโซเชียลมีเดียกล่าวว่า

“โลกออนไลน์เป็นสถานที่ที่ผู้คนมารวมตัวกันและพบปะผู้คนที่พวกเขาอาจไม่พบเจอโดยทั่วไป ดังนั้นหากคุณเป็นวัยรุ่นที่ยังด้อยประสบการณ์ คุณอาจอยู่ในโลกออนไลน์และสามารถหากลุ่มต่างๆ ได้แทบทุกกลุ่ม และคำอธิบายต่างๆ ว่าทำไมคุณต้องเผชิญสิ่งที่คุณกำลังอาจเผชิญอยู่” คุณคอปแลนด์กล่าว

“กลุ่มขวาจัดจะให้ความรู้สึกเหมือนคุณอยู่ในพื้นที่ที่ยินดีต้อนรับคุณ และมีแนวโน้มว่าคุณอาจลงเอยในแหล่งออนไลน์เหล่านั้นมากกว่าที่คุณจะสามารถพบเจอได้ในชีวิตจริง”
ดร. คอปแลนด์กล่าวว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงบางกลุ่มและผู้สร้างกลุ่มเหล่านี้ที่มีเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยที่กลุ่มเด็กวัยรุ่นจะยังไม่เอะใจกับเนื้อหาที่รุนแรง

“ผมคงไม่พูดว่ากลุ่มเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่เปราะบาง แต่มีกลุ่มหัวรุนแรงขวาจัดบางกลุ่มและกลุ่มอื่นๆ ที่จงใจตั้งเป้าหมายเป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว และสามารถทำได้อย่างค่อนข้างฉลาด” ดร. คอปแลนด์อธิบาย

“สิ่งที่เราเห็นคือกระแสของผู้นำกลุ่มเหล่านี้พยายามและรณรงค์กลุ่มขวาจัดให้เป็นกลุ่มก้าวร้าว เป็นพังค์ยุคใหม่ และเป็นสิ่งที่ทันสมัยสิ่งใหม่ และนั่นเป็นสิ่งที่ดึงดูดกลุ่มคนวัยรุ่นได้”

การศึกษาและขอบเขตเป็นสิ่งสำคัญ

เมื่อพูดถึงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มใช้โซเชียลมีเดีย คุณโทมัสกล่าวว่าไม่มีการระบุอายุที่แน่นอน และขึ้นอยู่กับพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ของเด็กแต่ละคน

“เด็กอายุระหว่าง 10 – 13 ปี บางคนอาจยังไม่สนใจ บางคนอาจมีพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ที่สูงกว่า มันจึงเป็นพื้นที่เข้าสังคมสำหรับพวกเขา” คุณโทมัสกล่าว
ผมจะไม่แนะนำให้เด็กเล็กใช้มือถือ แต่ผมจะเริ่มให้พวกเขาใช้อุปกรณ์ของครอบครัว
คุณโทมัสกล่าวว่าการให้เด็กๆ ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม มีขอบเขตและมีการสื่อสารที่เหมาะสมตั้งแต่อายุยังน้อยสามารถส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียที่ดีได้

“ยิ่งเราสามารถพูดคุยปัญหาต่างๆ ได้อย่างอิสระที่บ้าน เรายิ่งสามารถลดความเสี่ยงของการอยู่ในโลกออนไลน์และพูดถึงการส่งข้อความเรื่องเพศสัมพันธ์ (sexting) การเปลือยกาย หรือการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (cyberbullying) หรือพฤติกรรมของผู้ร้าย ยิ่งเราพูดถึงเรื่องเหล่านี้อย่างเปิดเผยมากเท่าไหร่ คนวัยรุ่นยิ่งรู้สึกสบายใจมากเท่านั้น” คุณโทมัสอธิบาย

“ขอบเขตและการควบคุมการใช้ก็มีความสำคัญพอๆ กัน”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 2 February 2023 2:47pm
By Jessica Bahr
Presented by Chollada Kromyindee
Source: SBS


Share this with family and friends