'อย่าจับพอสซัม' แพทย์เตือนหลังพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้กระต่าย

พบผู้ป่วยในรัฐนิวเซาท์เวลส์ติดเชื้อไข้กระต่ายที่มีความอันตรายและแพร่กระจายง่าย หลังถูกพอสซัมกัดและข่วน แพทย์เตือนหากพบพอสซัมห้ามสัมผัส

環尾負鼠(ringtail possum)

環尾負鼠(ringtail possum) Source: AAP

หน่วยงานสุขภาพรัฐนิวเซาท์เวลส์​ระบุว่า เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบหญิงคนหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของนครซิดนีย์ เริ่มมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต เหนื่อยล้า และเจ็บคอ หลังถูกตัวริงเทลพอสซัม (ringtail possum) กัดและข่วน 

ขณะที่การตรวจทางพยาธิสภาพยังคงดำเนินต่อไป เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยว่าหญิงคนดังกล่าวเป็นโรคไข้กระต่าย

“หากคุณพบเห็นสัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วย อย่าสัมผัสหรือพยายามช่วยเหลือ โปรดติดต่อผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มช่วยเหลือสัตว์ป่าท้องถิ่น หรือสัตวแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต” นางคีรา กลาสโกว (Keira Glasgow) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านโรคติดต่อ จากหน่วยงานด้านสุขภาพรัฐนิวเซาท์เวลส์กล่าว 

ทั้งนี้ นางกลาสโกวกล่าวอีกว่า โรคไข้กระต่าย หรือทูลารีเมีย (tularaemia) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบยาก ซึ่งสามารถติดต่อสู่คนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ แต่ไม่สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ โรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ง่ายมาก แต่ผู้คนส่วนมากสามารถฟื้นฟูอาการได้อย่างเต็มที่ หากได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม 

ด้วยอาการของโรคไข้กระต่ายจะปรากฏภายใน 2 สัปดาห์ หลังได้รับเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งรวมถึงไข้ขึ้นสูง ตัวสั่นเทา เหนื่อยง่าย ปวดตามร่างกาย เวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน หากผู้ป่วยได้รับเชื้อทางผิวหนัง ผ่านการกัดหรือข่วน จะมีอาการเปื่อยยุ่ยที่บริเวณแผลรวมอยู่ด้วย

“หากคุณรู้สึกไม่สบายด้วยอาการเหล่านี้หลังจากสัมผัสตัวพอสซัม โดยเฉพาะยิ่งหากคุณถูกกัดหรือข่วน มันสำคัญมากที่คุณจะได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ” นางกลาสโกวกล่าว
Ringtail Possum.
อย่าจับพอสซัม Source: San Diego Zoo
จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยโรคไข้กระต่ายเพียง 2 คนในออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองรายถูกพอสซัมกัดและข่วนในรัฐแทสเมเนียเมื่อปี 2011 ขณะที่จำนวนสัตว์ที่ติดเชื้อดังกล่าวในออสเตรเลีย มีเพียงพอสซัมเพียง 2 ตัวเท่านั้น ซึ่งป่วยตายในปี 2002 และปี 2003 ตามลำดับ ในพื้นที่แพร่เชื้อ (คลัสเตอร์) ที่แตกต่างกัน  

หน่วยงานด้านสุขภาพรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวอีกว่า ยังไม่มีผู้เสียชีวิตในออสเตรเลียจากโรคไข้กระต่าย ขณะที่เชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคมีความอันตรายน้อยกว่า หากเทียบกับที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ

ทั้งนี้ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าทารองกา (The Taronga Conservation Society) ในสำนักทะเบียนด้านสุขภาพสัตว์ป่าของออสเตรเลีย (Australian Registry of Wildlife Health) กำลังร่วมมือกับหน่วยงานด้านสุขภาพรัฐนิวเซาท์เวลส์ ในการสอบสวนการติดเชื้อครั้งนี้ต่อไป

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร ให้ตรวจสอบข้อจำกัดในรัฐของคุณเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกัน

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ

เอสบีเอสมุ่งมั่นให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 แก่ชุมชนหลากหลายภาษาในออสเตรเลีย เรามีข่าวและข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ 63 ภาษาที่เว็บไซต์ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 21 May 2020 10:30am
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends