รัฐบาลออสฯ พิจารณาปรับรายชื่ออาชีพผู้ขอวีซ่าทักษะยกแผง

NEWS: รัฐบาลออสเตรเลียเดินหน้าพิจารณาปรับรายชื่ออาชีพสำหรับผู้ขอวีซ่าทักษะ รับตลาดแรงงานขยาย-เศรษฐกิจโต คาดแล้วเสร็จ มี.ค.2020

Australia's top-10 highest earning jobs.

Source: AAP/ Getty Images

รัฐบาลได้ให้คำมั่นในการยกเครื่องระบบรับเข้าแรงงานแบบมีทักษะ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมบางภาคส่วน

นางมิเคเลีย แคช (Michaelia Cash) รัฐมนตรีด้านการจ้างงานและทักษะ ได้ประกาศการพิจารณาของรัฐบาลในครั้งนี้ เพื่อตอบรับกับข้อกังวลในรายชื่ออาชีพปัจจุบันราว 500 รายการ ที่ไม่สะท้อนกับความต้องการแรงงานจากต่างประเทศในบางภาคส่วน
Senator Michaelia Cash in Melbourne
Employment Minister Michaelia Cash says skilled migration is needed to support the government $100 billion infrastructure roll out. Source: AAP
“เรารับทราบถึงข้อกังวลเหล่านั้น และได้ให้คำมั่นเพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่า ไม่มีกำแพงใดมาขวางกั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องของออสเตรเลีย” นางแคชกล่าว

การพิจารณารายการอาชีพ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ยังเล็งเป้าไปที่การทำให้แน่ใจว่า จะมีคนทำงานที่เพียงพอเพื่อมาสนับสนุนโครงการระบบสาธารณูปโภค มูลค่า $100,000 ล้านดอลลาร์ ที่มีระยะเวลา 10 ปี

“ลูกจ้างแบบมีทักษะเป็นส่วนหนึ่งของความมั่งคั่งของประเทศนี้ตลอดมา แต่เราจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่า เรานำลูกจ้างที่เหมาะสมเข้ามาเติมตำแหน่งงานที่ยังขาดคน” นางแคชกล่าว

เมื่อปีงบประมาณที่ผ่านมา ออสเตรเลียได้อนุมัติวีซ่าสำหรับลูกจ้างแบบมีทักษะไป 80,000 ราย โดยอาชีพในหมวดสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นสาขาอาชีพที่มีความนิยมสูงสุด

แต่อย่างไรก็ตาม งานประเภทใหม่ อย่างนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ที่กำลังมีความต้องการคนทำงาน อาจไม่สามารถเพิ่มในรายการอาชีพซึ่งถูกกำกับดูแลโดยมาตรฐาน ANZSCO (Australian and New Zealand Standard Classification of Occupations) ซึ่งไม่ได้รับการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 2013

นายจารอด บอล (Jarod Ball) ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวสร้างความยากลำบากให้กับนายจ้าง โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

“ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในตลาดแรงงาน มีอาชีพใหม่ๆ มากมายที่ไม่สามารถนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศได้โดยง่าย หากยึดตามรายชื่ออาชีพในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องจัดการ” นายบอลกล่าว 

ขณะที่โครงการรับผู้มีความสามารถจากทั่วโลกมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย (Global Talent Scheme) ได้มีการนำมาใช้เพื่อพยายามให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยี อย่างเช่น ธุรกิจสตาร์ทอัพ ไปจนถึงการจ้างคนทำงานที่มีทักษะสูงจากต่างประเทศ นายบอลกล่าวว่า งานเหล่านั้นควรที่จะสะท้อนกับระบบการรับผู้อพยพย้ายถิ่นแบบมีทักษะกระแสหลัก

มุ่งเป้าส่งแรงงานสู่พื้นที่ชนบท

การพิจารณารายการอาชีพในครั้งนี้ จะพิจารณางานโดยแยกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ที่ครบคลุมลูกจ้างแบบมีทักษะชั่วคราว (Temporary Skilled Worker) แรงงานที่อาศัยอยู่ระยะกลาง (Medium-long term stay) และอาชีพในพื้นที่ชนบท (Regional occupations) 

ในส่วนหนึ่งของนโยบาย “ลดความแออัด” มีการออกประเภทวีซ่าใหม่ เพื่อดึงดูดให้ผู้อพยพย้ายถิ่นไปอาศัยและทำงานในพื้นที่ชนบท
Lawyers predict a 50 per cent increase in the number of migrants who will face deportation under the government's proposed changes.
รัฐบาลต้องการให้แรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศไปอยู่อาศัยในพื้นที่ชนบทมากกว่าในเมืองใหญ่ Source: AAP
นอกจากนี้ นายบอลกล่าวอีกว่า มีผลลัพธ์ที่ค่อนข้างคละเคล้ากันไปในแง่ความสำเร็จของความพยายามเพิ่มจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นที่ไปอาศัยและทำงานในพื้นที่ชนบทครั้งก่อน

“ผู้คนจะรับโอกาสนี้ ในการไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทเป็นระยะสั้น และอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี หรือตามเงื่อนไขใดก็ตาม และจะย้ายเข้ามาในเมืองใหญ่เพื่อที่มาทำงานที่มีทักษะสูงกว่า และได้รับค่าตอบแทนมากกว่า” นายบอลกล่าว 

การปรึกษากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ยังคงดำเนินการ โดยคาดว่ารายชื่อสาขาอาชีพจะได้รับการปรับปรุงภายในเดือนมีนาคม ปี 2020

ทั้งนี้ โครงการรับผู้อพยพย้ายถิ่นของออสเตรเลียมีข้อกำหนดว่า วีซ่าสำหรับอาศัยและทำงานถาวรในออสเตรเลียจะต้องได้รับการอนุมัติให้ผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะไม่เกิน 2 ใน 3 ของผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะทั้งหมด

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can check out the full version of this story in English on SBS News website .

Share
Published 5 September 2019 2:24pm
Updated 5 September 2019 5:03pm
By Rosemary Bolger
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News


Share this with family and friends