ทำไมการกล้าพูดเรื่องเงินๆ ทองๆ อาจช่วยคุณได้

THE FEED: การคุยอวดว่าคุณเก็บเงินได้เท่าไรแล้ว หรือการยอมรับว่าคุณนั้นเสียเงินไปกับการลงทุนที่เลวร้าย อาจทำให้รู้สึกตะขิดตะขวงใจ แต่ในระหว่างที่ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของกฎหมายด้านการเงินยังคงอยู่ในขั้นตอนของรัฐสภา เหล่าผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การพูดคุยกันถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ อาจเป็นหนทางที่ดีที่สุดของคุณ มาดูกันว่าทำไม

Image of an emoji amongst big banks' logos

“บ่อยครั้งที่ผู้คนจะกล่าวว่า ฉันนั้นเป็นลูกค้าที่ดี ซึ่งผมก็จะรับฟังแล้วก็กล่าวว่า ‘อย่าซื่อไปหน่อยเลย’”—แกรม พาร์สันส์ Source: Image by SBS The Feed

You can read the full version of this story in English on SBS The Feed .

การไต่สวนหาความจริงสาธารณะโดยกรรมาธิการแห่งพระองค์ต่ออุตสาหกรรมการธนาคาร เงินซูเปอร์แอนนูเอชัน และบริการด้านการเงิน (The Royal Commission into Misconduct in the Banking, Superannuation and Financial Services Industry) ได้พบความฉ้อฉล ความละโมบ การให้กู้โดยขาดความรับผิดชอบ และการกอบโกยผลกำไรจนเหนือสิ่งอื่นในอุตสาหกรรมดังกล่าว โดย ได้แนะนำ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องผ่านรัฐสถา

ที่สำคัญก็คือ ได้มีการพบว่า สาธารณชนทั่วไปนั้น ไม่ทราบหรือไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับเงินของพวกเขา

นายหน้าค้าหุ้น คุณมาร์คัส แพดลีย์ ก้าวไปไกลกว่านั้นอีก โดยกล่าวทางรายการโทรทัศน์ยามอาหารเช้าของเอบีซีว่า สถาบันทางการเงินและผู้ให้กู้นั้น ไม่สามารถจะ “คอยประคองมือของทุกๆ คนราวกับเป็นทารกตัวน้อยๆ เพียงเพราะพวกเขานั้นไม่เข้าใจ”
มาร์คัส แพดลีย์ พูดคุยในรายการข่าวยามเช้าทางเอบีซี (ABC News Breakfast) 5/2/19

แต่คุณลอรา ฮิกกินส์ ผู้นำกลุ่มผู้บริหารอาวุโสด้านสมรรถวิสัยทางการเงิน (Senior Executive Leader of Financial Capability) ของคณะกรรมาธิการการลงทุนและหลักทรัพย์แห่งออสเตรเลีย ( The Australian Securities Investment Commission หรือ ASIC) ไม่ได้กล่าวอย่างทื่อๆ เช่นนั้น เมื่อพูดคุยกับรายการเดอะฟีด
“ดิฉันคิดว่า โดยรวมๆ แล้ว การไต่สวนหาความจริงสาธารณะโดยกรรมาธิการแห่งพระองค์ ได้ชี้ให้เห็นชัดว่า ผู้บริโภคนั้นจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมกับเรื่องต่างๆ ทางการเงินของตนเอง และมีส่วนร่วมในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ทางการเงิน ของตนเอง”

ถึงเวลาพูดคุยเรื่องการเงินของท่านแล้ว

คุณลอราเน้นย้ำว่า การพูดคุยเกี่ยวกับเงินนั้นเป็นเพียงก้าวแรก

“การที่เราพูดคุยเกี่ยวกับเงินมากเท่าไร เราก็จะพูดถึงความสำเร็จและความล้มเหลวต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เราได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากตรงนั้น” เธอกล่าว

เมื่อทำการตัดสินใจทางการเงินใดๆ ก็ตาม คุณลอรากล่าวว่า คุณจำเป็นจะต้องถามคำถามต่างๆ และพูดคุยกับคนอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดระเบียบเงินซูเปอร์ (กองทุนเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุ) หรือการตัดสินใจว่าจะซื้อประกันภัยตามที่คนขายรถยนต์ยื่นเสนอมาหรือไม่

“มีประโยขน์ หากทำให้การสนทนาต่างๆ เหล่านั้นกลายเป็นเรื่องปกติ...มันเป็นเรื่องของความมั่นใจในการขอคำปรึกษาและหาคำตอบ”

สำหรับความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน ตั้งแต่ว่าจะประหยัดค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เรียกเก็บโดยธนาคารได้อย่างไ ร จะจ่ายหนี้บัตรเครดิตได้อย่างไร และจะสร้างความมั่งคั่งขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งยังมีเครื่องคิดเลขสำหรับจัดทำงบประมาณไว้ให้บนเว็บไซต์ดังกล่าว และมีวิธีที่จะติดตามเงินสูญหายของคุณคืนมา (ชาวออสเตรเลียนั้น มีเงินำนวน $1.1 พันล้านดอลลาร์อยู่ในหุ้น บัญชีธนาคาร และประกันชีวิตซึ่งหายสาบสูญ) โดยแหล่งขัอมูลของ ASIC ได้รับการแปลภาษาไว้ในหลายสิบภาษา

‘อย่าซื่อไปหน่อยเลย’

นักให้คำปรึกษาทางการเงินนากบริษัทกู๊ดเชพเพิร์ดไมโครไฟแนนซ์ คุณแกรม พาร์สันส์ กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของปัญหานั้นเป็นเรื่องทางวัฒนธรรม มันอาจดูเหมือนจะรู้ชัดกันอยู่แล้ว แต่เขาย้ำว่า คุณไม่จำเป็นต้องจงรักภักดีต่อธนาคารของคุณแต่อย่างใด
“บ่อยครั้งที่ผู้คนจะกล่าวว่า ฉันนั้นเป็นลูกค้าที่ดี ซึ่งผมก็จะรับฟังแล้วก็กล่าวว่า ‘อย่าซื่อไปหน่อยเลย’”
ลองสอบถามที่อื่นๆ ดูสำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดสำหรับเงินเก็บของคุณ รู้ให้ดีว่าเงินซูเปอร์ของคุณนั้นอยู่ที่ไหน และถ้าหากคุณมีหนี้ ก็ให้ไปขอคำแนะนำ

คุณแกรมกล่าวว่า การไม่ไขว่คว้าหาความช่วยเหลือนั้นอาจเป็นภยันตรายทางการเงิน

“ตัวอย่างเช่น มันไม่ใช่แค่เฉพาะเหล่าผู้รับบำนาญที่เป็นคนโสด แต่ว่ารวมถึงคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวอายุ 45 ปีที่มีลูกสามคนด้วย พวกเขานั้นโดดเดี่ยวเพราะว่าพวกเขาไม่สามารถจะสนทนากับใครได้เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเงินของพวกเขา เพื่อที่จะวางแผนการขึ้นมา”

“ซึ่งมันก็เข้าใจได้ ว่าแทนที่จะทำเช่นนั้น หลายๆ คนกลับหันไปหาผู้ให้กู้ซึ่งไม่มีความรับผิดชอบ และผู้ซึ่งกล่าวว่าพวกเขาสามารถหาทางออกที่ง่ายดายให้ได้”

คุณแกรมต้องการให้พวกเรานั้นพูดคุยกันเรื่องเงินให้มากกว่านี้ แม้แต่การคุยโอ้อวดกับเพื่อนๆ ของพวกเราถึงเงินสดที่เราได้เก็บสะสมไว้ และการเสาะหาดีลหรือข้อตกลงดีๆ ต่างๆ

“เราจำเป็นจะต้องพูดคุยกันอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาให้มากขึ้นกว่านี้เกี่ยวกับความเครียดทางการเงินและอุปลนิสัยในการออม”

เงินสำรองฉุกเฉิน

ผู้ก่อตั้งบริการให้การศึกษาด้านการเงินสกิลด์สมาร์ต () คุณปริธิ เจน กล่าวว่า พวกเราหลายๆ คนนั้นเชื่อว่าการบริหารจัดการเงินของพวกเราเองนั้นยากเย็นเกินไป

“เรามอบอำนาจของเราเองไปให้คนอื่น เพราะว่าเราทึกทักเอาเองว่ามันซับซ้อนเกินไป”

คุณปริธิกล่าวว่า เรื่องนี้จำเป็นจะต้องยุติลง และมีสิ่งต่างๆ ที่ง่ายดายซึ่งท่านสามารถทำได้เองเพื่อจัดระเบียบด้านการเงินต่าง และสิ่งหนึ่งก็คือ การสร้างกันชน (buffer) ขึ้น ด้วยการมีเงินก้อนสำรอง
“เงินก้อนฉุกเฉิน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราสนับสนุนให้คนก่อร่างขึ้น”
“มุ่งไปสู่การมีเงินก้อนฉุกเฉินสำหรับระยะเวลาสามเดือน ซึ่งจะเป็นกุญแจที่ช่วยหลีกเลี่ยงการพึ่งพาบัตรเครดิตหรือเงินกู้ส่วนบุคคลในการผ่านพ้นระยะเวลาวิกฤตต่างๆ เรื่องนี้จะช่วยเพิ่มพูนความมั่นคงและความคลายใจขึ้นเป็นอย่างมาก” เธอกล่าว

คุณปริธิแนะนำว่า ท่านสามารถเริ่มต้นได้จากจุดเล็กๆ โดยเจียดรายรับของท่านออกไว้ทุกๆ เดือน ซึ่งก็จะช่วยให้ไม่ให้ท่านนั้นเกิดภาวะความเปราะบางทางการเงิน เธอกล่าวว่า เว็บไซต์มันนีสมาร์ต (Money Smart) ของ ASIC นั้นเป็นแหล่งของมูลที่ดีและน่าเชื่อถือ และเช่นเดียวกัน   ก็อาจเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีสำหรับผู้ประสบความยากลำบากในการปลดหนี้สิน

สายด่วนดังกล่าวจะต่อท่านไปยังผู้ให้คำปรึกษาทางการเงิน หากว่าท่านมีปัญหาอย่างหนักเกี่ยวกับเงินของท่าน โดยเป็นองค์กรที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร และพวกเขายังกล่าวว่าผู้ให้คำปรึกษาทางการเงินเหล่านี้นั้นให้บริการช่วยเหลือที่ฟรี เป็นความลับ และเป็นอิสระ พวกเขาแตกต่างไปจากนักให้คำปรึกษาทางการเงินที่อื่นๆ หรือนักวางแผนทางการเงิน ซี่งมักจะมีการเรียกเก็บค่าบริการอย่างต่อเนื่อง สำหรับบริการต่างๆ และการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน

ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ที่รายการเดอะฟีดได้สนทนาด้วยนั้นแนะนำให้ซื้อหนังสือ (นักลงทุนเท้าเปล่า) โดยคุณสกอตต์ ปาเป ซึ่งเป็นหนังสือให้คำแนะนำที่อ่านเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับเรื่องการเงินและการเพิ่มความมั่งคั่งของคุณ โดยเขาได้จำหน่ายไปแล้วจำนวนกว่าหนึ่งล้านเล่ม จะมีการลงในรายละเอียดเรื่องการออมอย่างมีประสิทธิผล การบริหารเงินซูเปอร์ และการลงทุน และเขายังวิพากษ์วิจารณ์สถาบันทางการเงินต่างๆ อย่างเชือดเฉือน ซึ่งก็ตรงยุคหตรงสมัยเป็นอย่างมาก

พ่อรวยสอนลูก (Rich Dad Poor Dad) ก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน หนังสือเล่มดังกล่าวเขียนโดยโรเบิร์ต คิโยซากิ และชารอน เลคเตอร์ เมื่อกว่าสี่สิบปีมาแล้วและก็ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยหนังสือจะพาคุณเข้าไปในเรื่องความสำคัญของความรู้ความเข้าใจทางการเงิน และวิธีการที่จะใช้ให้ระบบทำงานให้กับคุณอย่างดีที่สุด

หนี้ก้อนใหญ่: เจาะอุตสาหกรรมซึ่งหาผลประโยชน์จากความสิ้นหวัง

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 7 March 2019 1:42pm
Updated 7 March 2019 7:37pm
By Emily Jane Smith
Presented by Tanu Attajarusit
Source: The Feed, Facebook, ABC


Share this with family and friends