คนจีนคนแรกที่มาตั้งรกรากในออสเตรเลีย เขาคือใคร

Mak Sai Yingg's grandson, Private John Joseph Shying (State Library of NSW).jpg

หลานชายของ หมาก ไซ ยิง คือ พลทหาร จอห์น โจเซฟ ไชอิง (State Library of NSW)

คนจีนคนแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในออสเตรเลียเดินทางมาถึงเมื่อสองร้อยปีก่อน มาค ไซ ยิง (Mak Sai Ying) ก่อร่างสร้างตัวเป็นเจ้าของโรงแรมในพื้นที่ตะวันตกของซิดนีย์


หอสมุดแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์มีสมบัติล้ำค่ามากมาย ในจำนวนนั้น คือจดหมายเหตุที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับคนจีนคนแรกที่มาตั้งรกรากในออสเตรเลีย

นั่นคือในปี 1818 หมาก ไซ ยิง (Mak Sai Ying) เดินทางมาถึงจากกวางโจว เขาทำงานเป็นช่างไม้ก่อนแล้วจากนั้นก็ได้เป็นเจ้าของโรงแรมขนาดเล็กหลายแห่ง

ชื่อของเขาถูกเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษว่า จอห์น ไชอิง (John Shying) ซึ่งระบุชัดเจนในเอกสารสำมะโนประชากรและชื่อผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์
กด ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์
thai_120822_First ever Chinese migrant in Australia image

คนจีนคนแรกที่มาตั้งรกรากในออสเตรเลีย เขาคือใคร

SBS Thai

12/08/202207:30
คุณแอนนี ทอง (Annie Tong) จากหอสมุดแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ นำเอกสารเหล่านี้บางส่วนมาเปิดเผย

นอกจากนั้นเอกสารเหล่านั้นแล้ว ก็ยังมีอีกมากมาย รวมทั้งรูปภาพของหลานชายของเขา คือพลทหาร จอห์น โจเซฟ ไชอิง (John Joseph Shying) และแผนที่แสดงที่ตั้งของโรงแรมขนาดเล็กของเขา

หมาก ไซ ยิง เลือกที่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่พาร์รามัตตา (Parramatta) ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเมืองที่มีความสำคัญอันดับสองของออสเตรเลีย

ทุกวันนี้ มีอาคารขนาดใหญ่อยู่ใกล้กับจุดที่โรงแรมแห่งนั้นเคยตั้งอยู่ และกำลังมีการก่อสร้างรถรางไลท์ เรล (light rail) รอบๆ อาคารดังกล่าว

และฝั่งตรงข้ามถนนคือสุสานเซนต์แพทริก ที่ซึ่งสามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวของหมาก ไซ ยิง ได้
เขาเป็นคนจีนคนแรกที่เรารู้ว่าเข้ามายังออสเตรเลีย และเขาอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ ดังนั้นเขาจึงมีความสำคัญต่อเรามาก
คุณจูดิท ดันน์ เป็นนักประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นของพาร์รามัตตา
คุณจูดิท ดันน์ เป็นนักประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นของพาร์รามัตตา เธอกล่าวถึงหมาก ไซ ยิง ว่า

"เป็นบุคคลที่น่าสนใจที่สุด ที่ไม่ค่อยมีคนรู้เกี่ยวกับเขามากนัก เขาเป็นคนจีนคนแรกที่เรารู้ว่าเข้ามายังออสเตรเลีย และเขาอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ ดังนั้นเขาจึงมีความสำคัญต่อเรามาก" คุณจูดิท ดันน์ กล่าว

การอพยพมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียของหมาก ไซ ยิง ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จอย่างมาก แม้เขาจะต้องอยู่ภายใต้นโยบายด้านเชื้อชาติในสมัยนั้น

เขาไม่สามารถซื้อที่ดินได้เนื่องจากนโยบายด้านเชื้อชาติเหล่านี้ เขาจึงอาศัยความเอื้ออาทรของผู้อื่นเพื่อจะไปข้างหน้า ในที่สุดเขาก็ได้ดำเนินกิจการโรงแรมขนาดเล็กสามแห่งในพื้นที่พาร์รามัตตา

"โรงแรมเล็กๆ เกิดขึ้นทีหลัง เขาได้ยื่นขอที่ดินจากโบสถ์บนถนนสายนี้ที่อยู่ตรงหน้าเราที่นี่ เขาได้รับอนุมัติที่ดินผืนหนึ่งแต่ในสุดดูเหมือนจะไม่เกิดขึ้น จริงๆ แล้วเขาไม่ควรจะได้ถือครองที่ดินเพราะถือว่าเขาเป็นคนต่างด้าวจากจักรวรรดิจีน ดังนั้นผู้อื่นจึงซื้อที่ดินแทนเขา แต่เขาได้ทำข้อตกลงสำหรับบ้านและที่ดินในพาร์รามัตตาเป็นเวลาหลายปีด้วยความช่วยเหลือของผู้อื่น"
ในที่สุดเขาก็ได้ที่ดินผืนหนึ่งซึ่งเขาสร้างบ้านบนที่ดินผืนนั้น จากนั้นก็สร้างโรงแรมโกลเดน ไลออน อินน์ (Golden Lion Inn) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ดีเยี่ยม
"ในที่สุดเขาก็ได้ที่ดินผืนหนึ่งซึ่งเขาสร้างบ้านบนที่ดินผืนนั้น จากนั้นก็สร้างโรงแรมโกลเดน ไลออน อินน์ (Golden Lion Inn) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ดีเยี่ยม เพราะเกวียนที่ออกจากที่นี่จะไปยังวินด์เซอร์ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกอาหาร ดังนั้นจึงมีการจราจรที่คับคั่งแม้แต่ในตอนนั้น" คุณดันน์ นักประวัติศาสตร์ กล่าว

นอกจากความสำเร็จในฐานะนักธุรกิจแล้ว หมาก ไซ ยิง ก็ไม่เคยขาดผู้หญิงที่มาชอบพอเขา
เขาเป็นชายคนจีนคนแรก เขามีหน้าตาแตกต่างจากคนอื่น การพูดของเขาก็แตกต่าง บางทีเขาอาจจะแต่งตัวแตกต่างด้วย แต่กระนั้นเขาค่อนข้างจะเป็นผู้ชายที่มีผู้หญิงชอบพอมากมาย
"เขาเป็นชายคนจีนคนแรก เขามีหน้าตาแตกต่างจากคนอื่น การพูดของเขาก็แตกต่าง บางทีเขาอาจจะแต่งตัวแตกต่างด้วย แต่กระนั้นเขาค่อนข้างจะเป็นผู้ชายที่มีผู้หญิงชอบพอมากมาย เพราะมีผู้หญิงสามคนที่พร้อมจะแต่งงานกับบุคคลที่ถูกเรียกในบันทึกของทางการว่าเป็นคนต่างด้าว”

ภรรยาคนแรกของหมาก ไซ ยิง ชื่อซาราห์ ทอมป์สัน ซึ่งเขามีลูกด้วยสี่คน

หลังการตายของเธอ เขาก็ได้แต่งงานกับหญิงคาทอลิกชาวไอริช ที่เสียชีวิตลงเพียงสามปีต่อมา

ภรรยาคนที่สามของเขาคือ มาร์กาเรต แมคกาวิน หญิงชาวไอริชอีกคน ที่เขามีลูกสาวด้วยหนึ่งคน

ร่างของเธอก็ถูกฝังอยู่ที่สุสานเซนต์แพทริกในพาร์รามัตตาด้วยเช่นกัน

คุณดันน์ กล่าวว่า สุสานแห่งนี้เป็นภาพสุ่มที่แสดงให้เห็นว่าพาร์รามัตตาเป็นพื้นที่ที่มีความผสมผสานของวัฒนธรรมต่างๆ มาตลอด

"มีชาวอะบอริจินถูกฝังอยู่ที่นี่ นี่คือสุสานที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เราจึงมีผู้อพยพชาวอิตาลีในยุคแรกๆ เรามีชาวจีน เรามีชาวอะบอริจิน เรามีชาวสวิสเชื้อสายฝรั่งเศส ฉันได้จัดทัวร์เล็กๆ ที่ฉันเลือกคนจากเชื้อชาติต่างๆ และแสดงให้เห็นว่าเรามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาช้านาน" คุณดันน์ กล่าว

กว่าสองร้อยปีต่อมา ความทรงจำเกี่ยวกับหมาก ไซ ยิง ยังคงอยู่ต่อไป

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share