นักวิชาการแนะรัฐควรสื่อสารอย่างไรช่วงโควิด

การสื่อสารในเชิงสุขภาพในช่วงโควิดมีหลักสำคัญคือ การเน้นให้ความมั่นใจกับประชาชน ดร.ชวาลิน เศวตนันทน์ กล่าว

การสื่อสารในเชิงสุขภาพในช่วงโควิดมีหลักสำคัญคือ การเน้นให้ความมั่นใจกับประชาชน ดร.ชวาลิน เศวตนันทน์ กล่าว Source: Pixabay

‘ถ้าไม่มีกิเลส ก็ไม่ติดโรค’ การสื่อสารจากภาครัฐด้วยเนื้อหาเช่นนี้เหมาะสมหรือไม่ในวิกฤตโควิด และสารเช่นนี้ส่งผลต่อประชาชนผู้รับสารอย่างไร ดร.ชวาลิน เศวตนันทน์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมกควารี ในซิดนีย์ วิเคราะห์เรื่องนี้


ดร.ชวาลิน เศวตนันทน์ เปรียบเทียบรูปแบบการสื่อสารสถานการณ์โควิดของทางการออสเตรเลียกับทางการไทย การสื่อสารที่แตกต่างกันของรัฐบาลทั้งสองประเทศนี้ส่งผลต่อประชาชนผู้รับสารอย่างไร สื่อสารแบบไหนจึงจะมีประสิทธิภาพ พร้อมฝากคำแนะนำหลักการรับข้อมูลข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน ในยุคดิจิทัลช่วงวิกฤตโควิด

ฟังสัมภาษณ์
LISTEN TO
Comparision of COVID communications between Thai and Australian authorities image

นักวิชาการแนะรัฐควรสื่อสารอย่างไรช่วงโควิด

SBS Thai

29/04/202119:36
ดร.ชวาลิน เศวตนันทน์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมกควารี ในซิดนีย์
ดร.ชวาลิน เศวตนันทน์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมกควารี ในซิดนีย์ Source: Supplied by Dr Chavalin Svetanant
“ในออสเตรเลียส่วนใหญ่เราจะได้ยินจากรัฐบาลมลรัฐ ซึ่งข้อมูลที่เขาสื่อสารกับเรา ส่วนใหญ่จะเป็นการรายงานข้อมูลแบบกึ่งทางการว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน tone (ลักษณะน้ำเสียงและอารมณ์) ที่ใช้จะเป็นลักษณะทางการและจริงจัง ไม่มีมุก ไม่เป็นแบบทีเล่นทีจริง ไม่แสดงอารมณ์เยอะ นอกจากนี้ ยังขอบคุณผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่ให้ความร่วมมือกับรัฐ”

การสื่อสารในเชิงสุขภาพ หลักสำคัญคือ การเน้นให้ความมั่นใจกับประชาชนว่า รัฐบาลมีความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ ขณะเดียวกัน ก็ขอความร่วมมือกับประชาชนในการรักษามาตรการต่างๆ ที่รัฐออกมาด้วย”

“ในประเทศไทย จะใช้วิธีการ engage กับผู้ฟังเยอะ มีลูกล่อลูกชน มีการเล่นกับอารมณ์ของผู้ฟังเป็นระยะ ลักษณะเหมือนการสนทนาแบบตัวต่อตัว เหมือนเราคุยกับเพื่อน ลักษณะการสื่อสารแบบนี้จะเห็นได้ชัดในช่วงแรกๆ เพราะว่าพบผู้ติดเชื้อไม่เยอะมาก พอหลังๆ ที่เป็นระยะที่สามที่มีการระบาดเยอะและเป็นวงกว้าง การสื่อสารจะเริ่มมี tone (ลักษณะน้ำเสียงและอารมณ์) ที่เป็นทางการมากขึ้น”
แม่ค้าที่สวมหน้ากากอนามัยขณะทำมาค้าขายช่วงโควิดระบาดในประเทศไทย
แม่ค้าที่สวมหน้ากากอนามัยขณะทำมาค้าขายช่วงโควิดระบาดในประเทศไทย Source: Pixabay
“ในช่วงการระบาดรอบที่สอง จะมีการรายงานไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อ เราได้เห็นโปสเตอร์ออนไลน์จากกรมควบคุมโรคออกมาว่า ‘หากคุณมีความลับเยอะ ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ถ้าไม่อยากถูกเปิดเผยไทม์ไลน์’ พออ่านแล้วต้องรีบกลับไปดูใกล้ๆ ว่า ใครเป็นคนประกาศออกมา

“วันก่อนมีคุณหมอคนหนึ่งออกมาบอกว่า ‘ถ้าไม่มีกิเลส ก็ไม่ติดโรค’ มันเหมือนกับคนติดโรคไปทำผิดอะไรมา”

การสื่อสารที่แตกต่างกันของรัฐบาลทั้งสองประเทศนี้ส่งผลต่อประชาชนผู้รับสารอย่างไร? สื่อสารแบบไหนจึงจะมีประสิทธิภาพ?

ฟัง ดร.ชวาลิน เศวตนันทน์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมกควารี ในซิดนีย์ พูดคุยในประเด็นเหล่านี้ พร้อมคำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไปจะกลั่นกรองข้อมูลที่เป็นเท็จหรือข่าวปลอมออกไปได้อย่างไร ในยุคดิจิทัลช่วงวิกฤตโควิด ติดตามบทสัมภาษณ์นี้เต็มๆ ได้จากเอสบีเอส ไทย ที่นี่

กดฟังสัมภาษณ์
LISTEN TO
Comparision of COVID communications between Thai and Australian authorities image

นักวิชาการแนะรัฐควรสื่อสารอย่างไรช่วงโควิด

SBS Thai

29/04/202119:36
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share