หลายคนไม่สนใจและไม่เข้าใจป้ายคำเตือนที่ชายหาด

ป้ายคำเตือนที่ชายหาดบอนได (Bondi Beach)

ป้ายคำเตือนที่ชายหาดบอนได (Bondi Beach) Credit: SBS

เกือบ 1 ใน 3 คนไม่เข้าใจคำเตือนสำคัญที่ห้ามว่ายน้ำบริเวณระหว่างธง เสียงเรียกร้องให้ทบทวนป้ายเตือนบนชายหาด หลังผลวิจัยล่าสุดเผยว่าผู้ที่ไปเที่ยวชายหาดส่วนใหญ่ไม่สนใจหรือไม่เข้าใจคำเตือนเรื่องความปลอดภัย


ในวันที่ท้องฟ้าสดใสที่ชายหาดบอนได (Bondi Beach) อันมีชื่อเสียงของซิดนีย์ แต่เหมือนว่าบางสิ่งไม่ชัดเจน และนั่นคือป้ายคำเตือน
ฉันไม่รู้ว่าต้องว่ายน้ำในบริเวณที่มีธงอยู่ ถ้าฉันไม่ได้เห็นคำเตือนที่เป็นตัวหนังสือ
นักท่องเที่ยวกล่าว
ในระหว่างปี 2021-22 มีการรายงานผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 141 รายซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้เกิดคำถามถึงประสิทธิภาพของป้ายคำเตือน

จากผลการวิจัยที่สอบถามประชาชน 160 คนที่หาดบอนได เรื่องความเข้าใจถึงข้อความเตือนพบว่า เกือบครึ่งของคนที่เกิดในต่างประเทศ และร้อยละ 40 ของคนออสเตรเลียไม่เข้าใจหรือไม่ค่อยอ่านป้ายเตือน

การวิจัยยังพบอีกว่าเกือบร้อยละ 30 ของคนออสเตรเลียและคนที่เกิดในต่างประเทศเข้าใจว่าคำเตือนให้ ‘ว่ายน้ำในบริเวณที่มีธง’ มีไว้สำหรับนักกีฬาว่ายน้ำหรือผู้ที่ฝึกฝนว่ายน้ำ

และครึ่งหนึ่งของผู้ที่ไปเที่ยวชายหาดเข้าใจถึงการไม่มีธงว่า คุณสามารถลงไปเล่นน้ำได้ แต่ห้ามว่ายน้ำ

ด็อกเตอร์มาซากิ ชิบาตะ (Dr Masaki Shibata) จากมหาวิทยาลัยแอดิเลด (University of Adelaide) นักวิจัยกล่าวว่า

“ปกติแล้วนักท่องเที่ยวจะคิดว่าการว่ายน้ำในบริเวณที่มีธงหมายความว่า คุณต้องว่ายน้ำบริเวณนั้น และหากคุณไม่สามารถว่ายน้ำได้ คุณต้องอยู่ด้านนอก นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดมากเลย”
ผู้คนที่ชายหาดในออสเตรเลีย
ผู้คนที่ชายหาดในออสเตรเลีย Credit: Pexels/Belle Co
สิ่งหนึ่งที่ดร.ชิบาตะพบคือ ทางการควรพิจารณาการใช้รหัสสีใหม่ รวมถึงการใช้ธงสีแดงและสีเหลือง เพราะสีแดงในบางประเทศหมายความถึงอันตราย

และนักท่องเที่ยวผู้หนึ่งไม่แน่ใจ
ปกติแล้วฉันจะมองหาธงและดูว่ามันอันตรายไหม ฉันไม่รู้ถึงเรื่องสีที่นี่ แต่ฉันคิดว่าสีแดงหมายความว่าอย่าลงไปเล่นน้ำ เพราะมันอันตราย
นักท่องเที่ยวกล่าว
ดร.ชิบาตะแนะว่ารูปควรจะอธิบายถึงอันตรายอย่างละเอียดสำหรับชาวต่างชาติที่อาจไม่เข้าใจ เช่น แมงกะพรุนที่อันตรายที่นี่คือ ‘บลูบอทเทิล (Bluebottles)’

“มีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ที่เกิดในต่างประเทศรู้ว่าบลูบอทเทิลคืออะไร คุณอาจคิดว่ามันเป็นแค่เศษแก้ว หรือขวดสีฟ้า อะไรทำนองนั้น นี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้พูดกันบนหาดบอนได และถึงแม้ว่าพวกเขาจะอ่านป้ายคำเตือน พวกเขาก็อาจไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร”
ดร.ชิบาตะกล่าวว่า ป้ายคำเตือนบนหาดบอนไดมักใช้คำแสลงที่มีน้อยกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่เกิดในต่างประเทศเข้าใจ

คุณเชน ดอว์ (Shane Daw) จากหน่วยช่วยชีวิตคนตกน้ำ (Surf Livesaving Australia) กล่าวว่า ปัญหาหนึ่งคือหลายคนมักไม่สนใจคำเตือน

“ผมคิดว่าเราควรระวังให้มากกว่านี้เกี่ยวกับวิธีที่เราทำ ผมคิดว่าต้องมีการแนะนำและรณรงค์ให้ดีกว่านี้เกี่ยวกับผู้ที่เดินทางมาออสเตรเลีย ให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาอาจเจออะไรบ้าง”

คุณดอว์กล่าวว่า จากสถิติของผู้ที่จมน้ำ มี 12 เปอร์เซ็นต์เป็นนักท่องเที่ยว นักศึกษาต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวแบ็กแพ็ก (Backpacker) ซึ่งมีพื้นเพจากต่างประเทศ

นั่นหมายความว่า ผู้ที่พำนักในออสเตรเลียซึ่งเกิดในต่างประเทศเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะจมน้ำในทะเลมากที่สุด

หากคุณหรือบุคคลอื่นตกอยู่ในอันตราย โทรสายด่วนฉุกเฉิน 000


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share