เติบโตเป็นหนุ่มสุดมั่นในออสเตรเลียได้ แม้มีปัญหาการได้ยิน

ชยธร ศักดาทร หรือเบส เยาวชนไทยในออสเตรเลียแชร์ประสบการณ์ได้รับความช่วยเหลือด้านการได้ยินจากภาครัฐของออสเตรเลีย

ชยธร ศักดาทร หรือเบส เยาวชนไทยในออสเตรเลียแชร์ประสบการณ์ได้รับความช่วยเหลือด้านการได้ยินจากภาครัฐของออสเตรเลีย Source: Chayathorn Sakdatorn

ชยธร ศักดาทร หรือเบส เติบโตเป็นหนุ่มสุดมั่น แม้จะมีปัญหาการได้ยิน ต้องขอบคุณความช่วยเหลือฟรีจากภาครัฐในออสเตรเลียที่มีให้แก่เด็กๆ ที่มีปัญหาสูญเสียการได้ยิน


ชยธร ศักดาทร หรือเบส เยาวชนไทยในออสเตรเลียแชร์ประสบการณ์ได้รับความช่วยเหลือด้านการได้ยินจากภาครัฐของออสเตรเลีย ทั้งให้พบผู้เชี่ยวชาญและได้รับเครื่องช่วยฟังฟรีมูลค่าหลายพันเหรียญ ตั้งแต่อายุ 12 ปีจนโตเป็นผู้ใหญ่ เขาเล่าว่าปัญหาสูญเสียการได้ยินสร้างความท้าทายอย่างไร ความช่วยเหลือที่เขาได้รับอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐของออสเตรเลีย พร้อมย้ำให้สังคมเปิดใจยอมรับในความแตกต่างของผู้พิการทุพพลภาพ เพื่ออุ้มชูให้คนกลุ่มนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างแท้จริง

กด ▶ เพื่อบทสัมภาษณ์ทั้งหมด
LISTEN TO
thai_200722_bass_hearing_loss.mp3 image

เติบโตเป็นหนุ่มสุดมั่นในออสเตรเลียได้ แม้มีปัญหาการได้ยิน

SBS Thai

21/07/202223:03
“ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่ได้ตระหนักรู้ว่ามีคนเหล่านี้อยู่ มันก็จะไม่เกิดบรรยากาศของการอุ้มชู มันจะกลายเป็นว่าคนพิการเป็นคนที่น่าสงสารตลอดไป เพราะเขาช่วยตัวเองไม่ได้ แต่บางคนเขาต้องการช่วยตัวเอง เขาต้องการใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้”: ชยธร ศักดาทร

ชยธร ศักดาทร (Chayathorn Sakdatorn) หรือเบส ย้ายมาอาศัยอยู่ที่ซิดนีย์มาตั้งแต่ตอนที่เขาอายุ 12 ปี และมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในออสเตรเลีย เขาเล่าถึงให้เราฟังถึงต้นเหตุที่ทำให้เขาสูญเสียการได้ยินไปในบางส่วนในช่วงวัยเด็ก

“ตอนเด็กๆ ผมชอบว่ายน้ำมากและไปว่ายน้ำที่สโมสรหน้าหมู่บ้านตลอดเวลา ตอน 5-6 ขวบ เกิดอาการติดเชื้ออักเสบในหู เลยไปหาหมอ ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่เชียงใหม่ ก็รักษาไปตามอาการ แล้วกลายเป็นว่าพอเชื้อมันหายไปแล้ว แต่การได้ยินก็สูญเสียไป ตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าการได้ยินมันสูญเสียไปมากน้อยแค่ไหน จนได้มาที่ออสเตรเลีย เข้า ม.1 นี่แหละครับ” เบส เล่า

“ตอนนั้นเขาก็มีการตรวจสุขภาพประจำปีพอดี ซึ่งรวม (การตรวจ) หูอยู่ในนั้นด้วย เขาก็ตรวจไปและพบว่าผมมีปัญหาด้านการได้ยินและมันก็ค่อนข้างซีเรียส เขาเลยออกจดหมายให้ ณ ตอนนั้นเลยว่า น่าจะมีปัญหาหูชั้นกลาง และควรต้องใส่เครื่องช่วยฟัง คือถ้าถามว่าอาการหนักไหม ก็คิดว่าน่าจะหนักครับ เพราะเขาดูตกใจนิดนึงว่า เฮ้ย ไม่ได้ยินเลยเหรอ” เบส กล่าวปนหัวเราะ
เครื่องช่วยฟังที่คุณเบสได้รับฟรีจากภาครัฐของออสเตรเลีย จากสมัยก่อนที่มีขนาดใหญ่และมามีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ
เครื่องช่วยฟังที่คุณเบสได้รับฟรีจากภาครัฐของออสเตรเลีย จากสมัยก่อนที่มีขนาดใหญ่และมามีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ Source: Chayathorn Sakdatorn
เขาบอกว่า ก่อนจะมาอยู่ออสเตรเลีย ทั้งตัวเขาเองและครอบครัวไม่ได้ตระหนักว่า เรื่องการได้ยินจะกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเด็กได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ

“ตอนที่ยังไม่เคยได้ hearing aids (เครื่องช่วยฟัง) ครอบครัวผมเขารู้ว่า จะต้องพูดกับผมดังๆ แต่โดยส่วนตัวตอนแรกผมไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นปัญหา อาจจะเพราะคนอื่นพูดดังด้วย จะเริ่มเป็นปัญหาตอนมาอยู่(ในออสเตรเลีย) ใหม่ๆ ช่วงเดือนสองเดือนแรกที่ยังไม่ได้เครื่องช่วยฟัง แล้วมันเป็นภาษาที่เราไม่คุ้นเคยด้วย อันนี้เลยเริ่มเกิดปัญหา ก็ถือว่าดีที่เขามาตรวจตอนนั้นแล้วเจอ ไม่งั้นคงจะทำให้เรียนรู้ยากพอสมควรครับ”
ตอนแรกผมไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นปัญหา อาจจะเพราะคนอื่นพูดดังด้วย จะเริ่มเป็นปัญหาตอนมาอยู่ (ในออสเตรเลีย) ใหม่ๆ แล้วมันเป็นภาษาที่เราไม่คุ้นเคย ดีที่เขามาตรวจเจอ ไม่งั้นคงทำให้เรียนรู้ยากพอสมควร
จากนั้นเบสก็ได้รับความช่วยเหลือฟรีจากภาครัฐและองค์กรด้านนี้โดยเฉพาะคือ จึงทำให้เขาได้รับเครื่องช่วยฟังภายในเวลาไม่นานนัก

“ตอนนั้นตั้งแต่ตรวจที่โรงเรียนไปจนถึงผมได้รับเครื่องช่วยฟังเครื่องแรกในชีวิตใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งถือว่าไม่นานเลย แต่เดี๋ยวนี้เร็วกว่านั้นอีก เครื่องรุ่นที่ผมมีข้างละประมาณ 4,000-6,000 ดอลลาร์ ซึ่งผมได้ฟรีมาสองข้าง โดยที่นี่ (ออสเตรเลีย) เขาจะมีบริการให้ (เครื่องช่วยฟัง) ฟรีจนถึงอายุ 26 ปี”
เครื่องรุ่นที่ผมมีข้างละ 4,000-6,000 ดอลลาร์ ผมได้ฟรีมาสองข้าง โดยที่นี่ (ออสเตรเลีย) เขาจะมีบริการให้ (เครื่องช่วยฟัง) ฟรีจนถึงอายุ 26 ปี
เครื่องช่วยฟังที่มองจากด้านหลังคล้ายขาแว่นตา
เครื่องช่วยฟังที่มองจากด้านหลังคล้ายขาแว่นตา Source: Chayathorn Sakdatorn
เบสฝากข้อคิดว่า การที่สังคมจะช่วยสนับสนุนผู้มีความพิการทุพพลภาพอย่างแท้จริงนั้นต้องเริ่มจากการเปิดใจยอมรับและเคารพในความแตกต่าง

“ถ้าคนในสังคมไม่เข้าใจพวกเรา ไม่ได้ปลูกฝังให้มีความตระหนักรู้ว่าในสังคมมีใครบ้างที่อยู่ร่วมกับคุณ มีคนตาบอด มีคนขาไม่ดี มีคนนั่งรถเข็น มีคนหูไม่ได้ยิน ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่ได้ตระหนักรู้ว่ามีคนเหล่านี้อยู่ มันก็จะไม่เกิดบรรยากาศของการอุ้มชูขึ้นมา มันก็จะกลายเป็นว่าคนพิการจะเป็นคนที่น่าสงสารตลอดไป เพราะเขาช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะเขาใช้ชีวิตด้วยตัวเองไม่ได้ เขาไม่มีความภูมิใจในตัวเองที่ต้องขอความช่วยเหลือตลอดเวลา การช่วยกันนั้นดี แต่บางคนเขาต้องการช่วยตัวเอง เขาต้องการใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้ ดังนั้นในสังคมจึงควรมีทั้งความช่วยเหลือในด้านอุปกรณ์และการสร้างความตระหนักรู้ ถ้าเราสามารถทำให้คนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้จริงๆ เราจะไปไกลมาก”
ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่ได้ตระหนักรู้ว่ามีคนเหล่านี้อยู่ มันก็จะไม่เกิดบรรยากาศของการอุ้มชู มันจะกลายเป็นว่าคนพิการเป็นคนที่น่าสงสารตลอดไป เพราะเขาช่วยตัวเองไม่ได้ แต่บางคนเขาต้องการช่วยตัวเอง เขาต้องการใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้
“ผมคิดว่าการจะเปลี่ยนสังคมโดยรวมให้เกิดความเข้าใจได้ต้องเริ่มจากสถาบันครอบครัว เริ่มจากสื่อ เริ่มจากการปลูกฝังเทรนด์ของโซเชียลให้เห็นว่าเรื่องนี้มันน่าสนใจ เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ห้ามแตะต้อง ไม่ได้เป็นเรื่อง sensitive มันก็จะเป็นการให้ความรู้ การสร้างเทรนด์ให้มันเป็นเรื่องปกติในสังคม”
คุณเบสที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนทำให้แทบสังเกตไม่เห็น
คุณเบสที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนทำให้แทบสังเกตไม่เห็น Source: Chayathorn Sakdatorn
ฟังการพูดคุยทั้งหมดกับคุณ ชยธร ศักดาทร หรือเบส ซึ่งอธิบายปัญหาการสูญเสียการได้ยินว่ามีลักษณะหลากหลายเหมือนคนที่มีปัญหาด้านสายตา เสียงแบบไหนที่เขาไม่ได้ยิน เครื่องช่วยฟังเป็นอย่างไร เขายังได้เล่าถึงการจัดการกับความท้าทายอย่างไรขณะมีปัญหาด้านการได้ยินและต้องทำงานในร้านอาหาร และแสดงความเห็นด้านความตระหนักรู้และการยอมรับที่คนในสังคมควรมีให้แก่ผู้ที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย พร้อมฝากข้อคิดถึงครอบครัวในการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองให้แก่ลูกหลานที่ใช้เครื่องช่วยฟัง

LISTEN TO
thai_200722_bass_hearing_loss.mp3 image

เติบโตเป็นหนุ่มสุดมั่นในออสเตรเลียได้ แม้มีปัญหาการได้ยิน

SBS Thai

21/07/202223:03


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hearing Services Program และโครงการ National Disability Insurance Scheme (NDIS) ที่มีความช่วยเหลือโดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย สำหรับพลเมืองและผู้อยู่อาศัยถาวรของออสเตรเลีย ได้ที่เว็บไซต์ของ Hearing Australia


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share