คุณแม่คนไทยกับการเลี้ยงเด็กพิเศษที่ออสเตรเลีย

disabled_family-a family with a disabled boy together-pexels-rdne-stock-project.jpg

ครอบครัวพ่อแม่ ลูกที่เป็นเด็กพิเศษ และลูกสาว ที่สวนแห่งหนึ่ง Credit: Pexels/RDNE stock project

ในวันแรกๆ ที่มีคนทักว่าลูกไม่ปกติ คุณอ้อมพยายามปฏิเสธว่าไม่จริง แต่แล้วก็ตัดสินใจพาลูกไปตรวจ ฟังคุณอ้อม คุณแม่คนไทย เล่าถึงการเลี้ยงลูกที่เป็นเด็กพิเศษ เรื่องราวการเลี้ยงลูก สวัสดิการ และสังคมที่ออสเตรเลีย


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คุณอ้อม (นามสมมติ) เล่าถึงวันที่พยาบาลสงสัยในพฤติกรรมของลูกคุณอ้อมที่พูดช้า

“ตอนนั้นเถียงพยาบาลไปว่า เพราะว่าที่บ้านพูด 2 ภาษาหรือเปล่า เด็กอาจจะยังไม่ถนัด”
disabled_family-A family with a disabled boy together (2)-pexels-rdne-stock-project.jpg
ครอบครัว พ่อ แม่ ลูกชายที่เป็นเด็กพิเศษ และลูกสาวอยู่ด้วยกัน Credit: Pexels/RDNE stock project
จนเมื่อคุณอ้อมพาลูกไปไชล์ดแคร์ (Childcare) พี่เลี้ยงก็บอกให้คุณอ้อมลองเอาลูกไปตรวจ เนื่องจากลูกพูดช้า ไม่เล่นกับเด็กคนอื่น และจดจ่ออยู่กับของเล่นเพียงชิ้นเดียว

คุณอ้อมจึงพาลูกไปตรวจกับแพทย์จีพี (GP) เพื่อส่งตัวไปหากุมารแพทย์ (Paediatrician) หมอจิตแพทย์ และนักบำบัดการพูด (Speech therapist) ประมาณ 3-4 เดือนถึงจะรู้ผล
จริงๆ ในใจก็เตรียมใจไว้อยู่แล้วนะคะ แต่พอไปฟังผลจริงๆ ก็ตกใจเหมือนกัน เพราะว่าคุณหมอเค้าก็ยืนยันครบทุกคน ลงความเห็นว่าลูกยูเป็นนะ
คุณอ้อมเล่าถึงวันที่ตัดสินใจพาลูกไปตรวจ
โดยแพทย์ลงความเห็นว่าลูกของคุณอ้อมเป็นออทิสติก (Autistic) ระดับกลาง (moderate)

“อดคิดไม่ได้ว่า เอ๊ะ เป็นเพราะเราที่เลี้ยงลูกผิดหรือเปล่า”

 “แรกๆ เค้า (สามี) เหมือนกับยังไม่ค่อยยอมรับเท่าไหร่อ่ะค่ะ เค้ารู้สึกว่าลูกเค้าไม่ได้เป็นอะไรซักหน่อย จริงๆ เค้าไม่ได้เห็นด้วยกับการที่เอาลูกไปตรวจนู่นนี่นั่นแล้วค่ะ ... เค้าใช้เวลานานกว่าอ้อมอีกในการที่จะยอมรับว่าลูกเค้าเป็นแบบนี้อ่ะค่ะ”
คุณอ้อมเล่าให้ฟังถึงการเลี้ยงลูกที่เป็นเด็กพิเศษว่า เด็กที่เป็นเด็กพิเศษแต่ละคนมีพฤติกรรมไม่เหมือนกัน โดยลูกของคุณอ้อมมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมและการตอบสนองกับอารมณ์ของผู้อื่น แต่ไม่มีปัญหาเรื่องการเรียน

“บางทีอ่านตำรา อ่านตามพวกผู้เชี่ยวชาญนี่มันก็ช่วยได้ระดับนึง"
แต่สุดท้ายเราก็ต้องมาดูลูกของเราเองด้วย ว่าเค้ามีตรงไหนที่ต้องบำบัด แล้วก็ไปโฟกัสที่ตรงนั้นเอา
คุณอ้อมเล่าถึงการดูแลตัวเอง โดยเฉพาะการเข้าสังคม

“เวลาออกไปข้างนอกเนี่ย เราต้องคอยประกบเค้าตลอด ... เพราะบางทีเค้าจะไปเล่นกับเด็กคนอื่นผิดวิธี จะแบบไปผลักเค้าบ้าง คือนั่นคือวิธีการเล่นของเค้าอ่ะค่ะ เพราะฉะนั้นก็จะเหนื่อยพ่อกับแม่ที่จะต้องคอยไปประกบเค้า แล้วก็คอยอธิบายให้ผู้ปกครองคนอื่นฟัง”
disabled-A father walk with a disabled boy pulling a luggage at a train station-pexels-rdne-stock-project.jpg
คุณพ่อกับลูกชายเด็กพิเศษเดินด้วยกันบริเวณสถานีรถไฟ Credit: Pexels/RDNE stock project
และคุณอ้อมยังเล่าถึงการไปโรงเรียนของลูกที่เป็นเด็กพิเศษ สวัสดิการสำหรับเด็กและผู้ปกครอง (NDIS) รวมถึงการยอมรับของสังคมที่ออสเตรเลีย
คนที่เนี่ย อ้อมคิดว่าเค้าค่อนข้างเปิดกว้าง เปิดรับเรื่องนี้ มีความช่วยเหลือจากรัฐบาลค่อนข้างเยอะอ่ะค่ะ
ฟังรายละเอียดทั้งหมดได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
กด ▶ เพื่อฟังบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
Thai Interview Raising disabled child 070823 image

คุณแม่คนไทยกับการเลี้ยงเด็กพิเศษที่ออสเตรเลีย

SBS Thai

07/08/202321:47
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share