สร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะด้วยงานสีน้ำไปกับคุณสมเกียรติ หาณสถิตย์

dtai_1.jpg

พูดคุยเรื่องประวัติศาสต์ด้านสถาปัตยกรรมในซิดนีย์ และการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะด้วยสีน้ำ ไปจนถึงการฝึกใจให้ปล่อยวางผ่านปลายพู่กัน ของคุณสมเกียรติ หาณสถิตย์ (ต่าย)


Visualiser คืองานอะไร?

Visualiser คืองานที่เราทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อวางแผนการจัดการพื้นที่ โดยจะต้องทำงานบนบรีฟร่วมกันกับทีม ก่อนจะนำมาสร้างสรรค์ให้ออกมาเป็นลักษณะภาพของพื้นที่นั้น ๆ ขึ้นมาเป็นภาพ

ซึ่งก่อนที่เราจะขึ้นภาพได้นั้น เราสามารถเริ่มได้จากหลายวิธี โดยถ้าเป็นโปรเจคที่อยู่อาศัย เราก็สามารถร่วมทำงานกับสถาปนิกหรือดีไซเนอร์ โดยเราต้องสเก็ตขึ้นมาจากบรีฟ เช่น ต้องมีสิ่งปลูกสร้างอะไรในโครงการบ้าง หรือผังของแต่ละชั้นต้องมีขนาดเท่าไหร่ เราสามารถนำข้อมูลไปใช้ขึ้นรูปได้ด้วย 2 วิธีคือ ใช้โปรแกรมเพื่อสร้างภาพสามมิติ (3D) ขึ้นมา หรือถ้าเรามีเวลาไม่พอ เราก็จะสก็ตภาพด้วยมือ

dtai_5.jpeg

จุดเริ่มต้นของการใช้สีน้ำเพื่อสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะร่วมกับหน่วยงานของรัฐ

จุดเริ่มต้นมาจากสมัยที่ผมทำงานให้กับบริษัทสถาปนิกตั้งแต่สิบกว่าปีก่อน ซึ่งเราได้ย้ายมาออสเตรเลียเพื่อมาเรียนต่อที่ College of Fine Arts ของมหาวิทยาลัย UNSW (หรือ COFA ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น UNSW Art & Design) ดังนั้นเราเลยเคยทำงานด้านนี้และชอบมาอยู่ก่อนแล้ว มันเลยทำให้ผมคิดเองว่าทำไมถึงไม่ลองใช้วิธีวาดรูป แทนที่จะทำทุกอย่างบนคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

วันนึงผมไปร้านหนังสือและเจอหนังสือสอนการวาดรูปภาพวิวว่าทำยังไง เราเห็นแล้วเราคิดว่าเราทำได้ดีกว่านี้อีก เลยคิดว่าถ้าเราทำได้ดีแล้วทำไมไม่ทำเอง มันเลยเป็นจุดเริ่มต้นให้เรากลับมาวาดรูปอีกครั้งตั้งแต่ย้ายมา
พอเราไปซื้ออุปกรณ์มาวาดรูปโดยที่คิดว่าจะแค่ทำเป็นงานอดิเรก แต่เรารู้สึกสนุกและได้กลับมาพัฒนาการวาดรูปได้อย่างก้าวกระโดด
คุณต่ายเล่าให้เราฟัง

ตอนนั้นเราวาดอะไรบ้าง?

สมัยนั้นผมทำงานอยู่ใจกลางเมืองไม่ไกลจากทาวน์ ฮอลล์ และจะมีเวลาพักกลางวันหนึ่งชั่วโมง เราเลยคิดว่าเราสามารถไปรวาดจากสถานที่จริงข้างนอกได้ งานสมัยก่อนผมจึงวาดรูปตึกไว้เยอะมาก เพราะเราทำงานในบริษัทสถาปนิกด้วย ตอนนั้นทุกช่วงกลางวันก็เลยหอบของออกไปวาดรูปบางครั้งก็ไม่เสร็จก็ไม่เป็นไร เราก็เอากลับไปทำงานแล้วกลับมาวาดต่อวันอื่น

dtai_2.jpeg

ที่จริงถ่ายรูปเพื่อบันทึกภาพตรงหน้าก็ได้ แต่ถ้าเราทำแบบนั้น มันก็ไม่มีอะไรให้ความแปลกใหม่หรือให้ประสบการณ์ใหม่กับเรา
คุณต่ายเสริม
ตอนนั้นเราศึกษาด้วยตัวเองจากการอ่านหนังสือของศิลปินดังๆ เช่น เดวิด เคอร์ทิส (David Curtis) ที่เค้าแชร์ว่าคนสมัยก่อนเค้าไม่มีกล้อง ก็ต้องถือกระดานวาดรูปออกไปวาดกันตรงนั้นเพื่อบันทึกสถานที่และบรรยากาศเอาไว้ ถ้าเค้าทำไม่เสร็จก็จะกลับมาสถานที่นั้นใหม่ในวันอื่นแต่ช่วงเวลาเดิม มันเลยทำให้เราคิดว่าทำไมเราไม่ใช้กระบวนการทำงานแบบนี้

จากการออกไปวาดรูปสีน้ำในตอนนั้น มันทำให้ผมที่เป็นคนอยากรู้เรื่องสถาปัตยกรรมในยุคที่ต่างกัน ได้ทำให้ผมได้ไปสังเกตและค้นหาข้อมูลต่อว่าแต่ละตึกสร้างในยุคไหน สไตล์แตกต่างกันอย่างไร และใครเป็นคนสร้าง เช่น อาคารเก่าหลายแห่งในซิดนีย์ก็จะมีกลิ่นอายของยุควิกตอเรียนเข้ามาเป็นหลัก หรือ อิทธิพลการออกแบบอาคารสไตล์ดัชท์

dtai_4.jpeg

จากงานอดิเรกสู่การสร้างรายได้

เพราะผมออกไปวาดรูปทุกวัน จนสมุดเล่มนึงของผมเต็ม เราเลยเอาไปให้พี่ที่รู้จักกันช่วยดูว่าเค้าจะให้ความเห็นว่ายังไงกับงานวาดของเรา เค้าเลยแนะนำว่าสวยขนาดนี้ เราน่าจะเอาไปขายได้เลย ตั้งแต่นั้นพี่เค้าเลยชอบบอกว่าทำไมไม่ยอมไปขายตามพวกตลาด The Rocks มันก็เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเรา

เราวาดสีน้ำเพราะมันเป็นงานอดิเรกที่สร้างความสุขให้กับเราตอนนั้น แต่ไม่ได้คิดว่ามันจะขายได้จริง ๆ เพราะเรามีงานประจำอยู่แล้วด้วย
คุณต่ายเล่า

โครงการไหนบ้างที่เรามีส่วนร่วมพัฒนา

โครงการ เป็นโครงการเราพัฒนาร่วมกับ โดยพื้นที่ของโครงการนั้นตั้งอยู่บนพื้นที่ประวัติศาสตร์ของชาวอะบอริจินมาก่อน ด้วยความที่เป็นพื้นที่ติดทะเลและมีเรือสำราญลำใหญ่ ๆ ของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและเอเชียมาจอดเทียบท่าทุกสุดสัปดาห์ ทางรัฐจึงอยากจะให้ท่าน้ำนั้นเป็นแลนด์มาร์คที่สร้างความตื่นเต้นให้กับนักท่องเที่ยวได้

dtai_6.jpeg
Image courtesy of CoxArchitecture
dtai_8.jpeg
Image courtesy of CoxArchitecture
เราใช้สกิลล์วาดภาพสีน้ำของเราสร้างสรรค์ออกมา 3-4 รูปเพื่อให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้จะให้ประสบการณ์อะไรกับนักท่องเที่ยวได้บ้าง โดยเราทำงานร่วมกันกับทีมและไดเรกเตอร์บนโจทย์ที่เค้าให้มา ว่าอยากให้มันได้บรรยากาศชายฝั่ง ออกแนวคันทรี่นิด ๆ และไม่เน้นวัสดุหรูหรา

ทางรัฐอยากให้พื้นที่ของโปรเจคนี้มันเบลนด์ไปกับสภาพแวดล้อม ช่วงปีนั้นมีไฟป่าเยอะมาก วัสดุที่เรานำมาใช้จึงเป็นไม้รีไซเคิลเพื่อที่จะเพิ่มโอกาสจ้างงานให้คนท้องถิ่นด้วย

dtai_9.jpeg
Image courtesy of CoxArchitecture

โครงการ North Head Sanctuary ในย่าน Manly

โปรเจคนี้เองก็เป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่ได้ร่วมมือกันกับบริษัทสถาปนิก โดยโครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ประวัติศาสตร์และมีความละเอียดอ่อนเพราะเป็นพื้นที่ทางทหารของออสเตรเลียด้วย สามารถเข้าไปดูบนของทางรัฐได้ โดยทางโครงการต้องการพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ แต่จำเป็นต้องไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นแถวนั้นด้วย ตอนนี้น่าจะยังอยู่ในช่วงฟีดแบคกับชุมชนอยู่

ที่จริงยังมีอีกหลายโปรเจคที่ผมใช้สีน้ำช่วย ทั้งพวกโรงเรียนและโรงพยาบาล โดยเฉพาะพวกโปรเจคที่บรีฟยังไม่ชัด หรือยังไม่รู้ว่าต้องการอะไร

dtai_10.png
Image courtesy of CoxArchitecture

ความแตกต่างของการใช้ภาพสีน้ำและภาพดิจิตอลสามมิติ

ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ทุกคนหันไปใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานแทนใช้เทคนิกสีน้ำแบบเดิม ๆ พอเราเอากลับมาทำจากสกิลล์ของเรา มันเลยเป็นเทคนิกนึงของเราที่ทำให้การเข้าไปพูดคุยในมีตติ้งหรือองค์กรต่าง ๆ มันซอฟต์ขึ้น เหมือนเป็นซอฟต์ พาวเวอร์ที่ให้บรรยากาศการเข้าไปพูดคุยได้สบาย ๆ ชวนให้คนเข้ามาแชร์ไอเดียกันได้ มันเลยเป็นวิธีการนำเสนอภาพโปรเคของเราให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้นในที่ประชุม

สีน้ำที่มันซอฟต์ ไม่แข็งกร้าว ต่างจากภาพดิจิตอลที่สวยหรูจึงทำให้คนดูกล้าจะเสนอไอเดียร่วมกัน
คุณต่างเล่าให้เราฟังถึงข้อดีของการใช้สีน้ำ
การนำเสนอภาพโปรเจคพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ด้วยภาพสีน้ำ มันทำให้เกิดความรู้สึกเชื้อเชิญให้ทุกคนที่เห็น กล้าที่จะร่วมเสนอไอเดียและความเห็นไปด้วยกันได้ง่ายกว่าพวกงานสามมิติที่เป็นภาพกำหนดชัดเจนว่าต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างในพื้นที่ปลูกสร้าง

แต่สีน้ำก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น อาจจะไม่เหมาะกับการใช้เป็นภาพโฆษณาอพาร์ตเมนท์ที่อยู่อาศัยที่ลูกค้าอาจจะต้องการเห็นชัดเจนว่าจะได้อะไรในโครงการ จึงต้องเป็นภาพดิจิตอลสมจริงมากกว่าภาพสีน้ำ

งานสีน้ำที่ให้มากกว่าความสนุก

หลักการใช้สีน้ำ มันช่วยสอนให้เราได้ฝึกจิตใจให้เราปล่อยและมองข้าม
คุณต่ายกล่าว
เพราะจุดที่เราต้องการซ้ำเพื่อให้ได้สีหรือเส้นแบบที่เราต้องการ หากเราลงสีไปซ้ำ ๆ กระดาษมันจะเริ่มช้ำหรือบวมได้ มันเลยทำให้เรารู้สึกมองข้ามหรือปล่อยวางได้

dtai_13.jpeg

มุมที่ชอบในเมืองซิดนีย์

ผมชอบย่านเดอะ ร็อกส์ (The Rocks) เพราะสำหรับผมมันเป็นเหมือนสนามเด็กเล่นของผมเลย ด้วยข้อดีหลายอย่าง คือเป็นย่านที่อยู่อาศัย และมีสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ยุคที่หลากหลายให้เราเห็น ทั้งสไตล์วิกตอเรียน อาร์ตนูโว อาร์ตเดโค รวมไปถึงตึกใหม่ ๆ ที่ใช้วัสดุและรูปทรงที่หลากหลาย มีให้เลือกวาดทั้งอุโมงค์ ตึกเก่า หรือผับบาร์ ก็มีให้วาดได้ทุกหัวมุม

สำหรับใครที่สนใจหรืออยากติดตามคุณสมเกียรติ หาณสถิตย์ (ต่าย) สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Instagram:

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่

Share