ผู้ย้ายถิ่นอาจพบปัญหาด้านภาษาจากเทเลเฮล์ท

Dr Asher Freilich says the demand for Instant Scripts' telehealth services have increased ten-fold since the coronavirus pandemic.

Dr Asher Freilich says the demand for Instant Scripts' telehealth services have increased ten-fold since the coronavirus pandemic. Source: SBS

ประชาชนจากชุมชนหลากวัฒนธรรมที่พูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง อาจเผชิญปัญหาในการสื่อสารระหว่างรับคำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านบริการเทเลเฮล์ท ขณะที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาบีบให้ผู้คนต้องใช้บริการนี้มากขึ้น


กดปุ่ม 🔊ที่ภาพด้านบนเพื่อฟังรายงาน

จากข้อมูลของเมดิแคร์ (Medicare) ชี้ว่า มีชาวออสเตรเลียกว่า 1.8 ล้านคนที่ใช้บริการรับคำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านทางโทรศัพท์ หรือที่เรียกว่าบริการ เทเลเฮล์ท (telehealth) ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

แพทย์ทั่วไป (แพทย์จีพี) กำลังพูดคุยกับคนไข้ผ่านทางโทรศัพท์ หรือทางวิดีโอคอล แทนที่จะให้คำปรึกษาแบบพบกันซึ่งๆ หน้า โดยเป็นความพยายามที่จะชะลอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

แต่ประชาชนที่พูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง การใช้ล่ามมาช่วยแปลภาษาให้ก็ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากกฎการสร้างระยะห่างทางสังคม

บริการเทเลเฮล์ท (telehealth) มีมานานหลายปีแล้ว โดยส่วนใหญ่มักเป็นบริการสำหรับชุมชนที่อยู่ห่างไกล แต่ขณะนี้ บริการนี้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป

อินสแทนต์ สคริปส์ (Instant Scripts) เป็นบริการให้คำปรึกษาจากแพทย์ผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งเคยได้รับโทรศัพท์จากผู้มาใช้บริการวันละ 100 สายก่อนช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

แต่ตอนนี้ มีผู้โทรศัพท์เข้ามาใช้บริการวันละกว่า 1,000 สาย

นายแพทย์ อาเชอร์ ไฟรลิค ซึ่งให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์แก่คนไข้ผ่าน อินสแทนต์ สคริปส์ (Instant Scripts) เขากล่าวว่า คนไข้ใหม่ที่มาใช้บริการจำนวนมากขอคำปรึกษาเรื่องปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เนื่องจากประชาชนกำลังต้องแยกตัวโดดเดี่ยว ไม่ได้พบเพื่อนฝูงและครอบครัว

"ผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้นอย่างหนึ่งของการแยกตัวจากสังคมคือ การพุ่งสูงขึ้นของภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ความรู้สึกว่าตนตกอยู่ในความเสี่ยง ความเหงา ซึ่งเรากำลังสังเกตเห็นการขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตที่มีเข้ามาเป็นจำนวนมาก" นายแพทย์ ไฟรลิค เผย

คุณเกรก เชอร์ มีประสบการณ์รับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่านเทเลเฮล์ทเป็นครั้งแรก เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับยาสำหรับโรคหอบหืด โดยที่เขาไม่ต้องไปนั่งรอพบแพทย์ที่คลินิกอีกต่อไป

"ผมยอมรับว่า มันแตกต่างไปจากเดิม มันแปลกๆ ที่จะต้องพูดคุยกับแพทย์ของคุณทางโทรศัพท์ผ่านวิดีโอ แต่แพทย์ก็มีความเป็นมืออาชีพมากและเห็นอกเห็นใจ ผมพบว่ามันเป็นบริการที่ดีมาก" คุณเชอร์ คนไข้เผยประสบการณ์

แต่สำหรับแพทย์ทั่วไปบางคน อย่างแพทย์หญิง คูดซีอา ฮาสนานี พบว่า ยากที่จะเคยชินกับการวินิจฉัยโรคโดยไม่ได้ตรวจร่างกายคนไข้

"การได้เห็น ได้รู้สึก ได้สังเกตอาการ และตรวจร่างกายคนไข้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ฉันรู้สึกว่าการให้คำปรึกษายังไม่สมบูรณ์ หากฉันไม่ได้ตรวจร่างกายคนไข้อย่างเหมาะสม"

แพทย์หญิง ฮาสนานี แพทย์ทั่วไปที่พูดได้ทั้งภาษาฮินดี ภาษาอูรดู และพูดภาษารัสเซียได้เล็กน้อย กล่าวว่า แพทย์ชุมชนที่มักให้บริการในภาษาต่างๆ อยู่แล้วยังคงสามารถให้คำปรึกษาแก่คนไข้ผ่านระบบเทเลเฮล์ทได้

แต่หากไม่มีแพทย์ที่พูดภาษาอื่นๆ ได้นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ การจะเข้าถึงบริการล่ามทางเทเลเฮล์ทนั้นลำบาก โดยมากจึงทำให้หน้าที่ช่วยแปลภาษาตกเป็นของสมาชิกในครอบครัว

"เนื่องจากเราต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ดังนั้น จึงมีเพียงสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้มาช่วยแปลภาษาได้ การมีล่ามจากข้างนอกเดินเข้ามาหาพวกเขาที่บ้านและช่วยแปลภาษาให้ เป็นการทำให้ทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในความเสี่ยง" แพทย์หญิง คูดซีอา ฮาสนานี เล่าปัญหา

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขของสหพันธรัฐ กล่าวว่า แพทย์สามารถใช้บริการแปลและล่าม (TIS) ที่ดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทยได้
ฟังคุณหมอคนไทยอธิบายเรื่องเทเลเฮล์ท

หมออธิบายแยกตัวเพื่อกักโรคอย่างไรในออสเตรเลีย

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้ 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share