การเปลี่ยนแปลงกฎวีซ่านักเรียนล่าสุดกระทบกับนักเรียนไทยอย่างไร

khun game edited.jpg

คุณ วิทวัส บุษราคัมวงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเอเจนซีด้านการศึกษาออสเตรเลีย

คุณ วิทวัส บุษราคัมวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารศูนย์บริการให้คำปรึกษาด้านการศึกษาต่อในประเทศออสเตรเลียพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลงกฎวีซ่านักเรียนล่าสุดกระทบกับวงการการศึกษาต่อออสเตรเลียอย่างไร


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน


จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติอออสเตรเลีย (ABS) ปัจจุบันมีนักเรียนไทยที่เข้ามาศึกษาต่อในออสเตรเลียคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 หรืออยู่ในลำดับที่7 ของจำนวนนักเรียนต่างชาติทั้งหมด

การเปลี่ยนแปลงกฎวีซ่านักเรียนและรายชื่อแรงงานทักษะของรัฐบาลออสเตรเลียทำให้นักเรียนไทยส่วนหนึ่งที่กำลังจะเข้ามาศึกษาต่อที่ออสเตรเลียมีความไม่แน่ใจว่าจะมีผลกระทบกับพวกเขาหรือไม่

คุณ วิทวัส บุษราคัมวงษ์ หรือ คุณเกม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจาก beyond study และเจ้าของเพจ Thai wah club เปิดเผยถึงเสียงตอบรับจากนักเรียนไทยว่า

“เป็นช่วง mix feedback ส่วนหนึ่งก็มีการคิดไว้ว่ามันคงเป็นแบบนี้ แต่อีกฝั่งหนึ่งคือมันจะเริ่มน่ากลัวไหมประมาณนี้ ซึ่งถ้าเราไปอ่าน budget ของทางรัฐบาลออสเตรเลียตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นก็มีเรื่องของ proposal migration reform พฤษภาคม ก็มีการเขียนเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว แต่พอเริ่มมาเอามาใช้มันก็เริ่มน่าตกใจขึ้นในทางปฏิบัติ”

international students
รัฐบาลออสเตรเลียมีการเปลี่ยนแปลงกฎวีซ่านักเรียนที่มาศึกษาต่อในออสเตรเลีย Source: SBS

ประเด็นเด่นๆ เรื่องหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงกฎวีซ่านักเรียนในครั้งนี้คือเรื่องการปรับขึ้นเงินออมที่นักเรียนต้องมีในบัญชีก่อนที่จะมาศึกษาต่อในออสเตรเลียซึ่งรัฐบาลให้เหตุผลว่าเป็นการปรับขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและให้แน่ใจว่านักเรียนจะมีเงินพอโดยไม่ต้องรีบหางานทันที

คุณ วิทวัส เห็นว่ามีความสมเหตุสมผลเมื่อพิจารณาถึงภาวะค่าครองชีพของออสเตรเลียในปัจจุบัน

ถ้าเทียบกับเงินเฟ้อโดยรวมก็ถือว่าสมเหตุสมผล โดยปกติเงินออมตรงนี้ก็จะรวมถึงค่าครองชีพปีแรก นอกจากนั้นเวลาคำนวณ statement ที่ต้องโชว์ก็เป็นการรวมอย่างอื่นเข้ามาด้วย อย่างเช่นค่าเทอมที่ไม่ได้จ่ายในปีแรก ค่าตั๋วเครื่องบิน และอื่นๆ
คุณ วิทวัส บุษราคัมวงษ์ หรือ คุณเกม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารศูนย์ปรึกษาการศึกษาต่อออสเตรเลีย

“ในแง่ของค่าครองชีพ เมื่อก่อนตัวเงินออมจะอยู่ประมาณ 17,000 ดอลลาร์เมื่อหาร 12 เดือนก็ตกอยู่ประมาณ 1,400 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งในปัจจุบันค่าครองชีพของนักเรียนที่เราลองประมาณการอยู่ที่ 2,000 ต่อเดือน เพราะฉะนั้น 1,400 ดอลลาร์ต่อเดือนมันไม่พอในความเป็นจริง ดังนั้นการปรับขึ้นเงินออมก็เป็นการสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น”


ส่วนการรัฐบาลก้าวเข้ามาจัดการปิดช่องว่างสถาบันการศึกษาที่ดำเนินการอย่างไม่สุจริตและมีอัตราการปฏิเสธวีซ่าสูงนั้นด้วยการห้ามออก Concurrent coe ซึ่งอาจมีผลกระทบกับนักเรียนที่เกิดกรณีฉุกเฉินในระหว่างเรียน ทำให้นักเรียนต้องวางแผนการเรียนอย่างรัดกุมมากขึ้น

แต่ในทางกลับกันก็เป็นการปิดช่องว่างไม่ให้นักเรียนหรือโรงเรียนหาช่องทางนี้เพื่อเอื้อประโยชน์ในการอยู่ต่อในออสเตรเลียก็จะทำไม่ได้อีกต่อไปคุณ วิทวัส อธิบายว่า

Concurrent COE เอามาใช้ในทางที่ผิดหลักๆ คือ การที่ enrol มาในคอร์สแพงๆ ก่อนแล้วหาโรงเรียนที่ dodgy มาแล้วออก Concurrent ให้โดยไม่สน release letter พอมีช่องโหว่ตรงนี้ รัฐบาลเลยหยุดใช้ Concurrent มันก็จะเสียประโยชน์กับนักเรียนที่มีกรณีฉุกเฉินตรงนี้ก็ทำไม่ได้แล้ว ก็ต้องเรียนตามลำดับขั้นตอนไป ส่วนนักเรียนหรือโรงเรียนที่หาทางไม่สุจริตแบบนี้ก็จะทำไม่ได้เช่นกัน
คุณ วิทวัส บุษราคัมวงษ์ อธิบาย

Foreign university students report
นักเรียนไทยสนใจในการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น Credit: Chris Ison/PA

คอร์สยอดฮิตของนักเรียนไทย

คุณ วิทวัส เปิดเผยว่าการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยมีความนิยมเพิ่มมากขึ้น และคอร์สยอดฮิตของนักเรียนไทยอันดับแรกยังเป็นการสมัครเรียนในสายงานธุรกิจ ตามมาด้วยสาย STEM เช่น วิศวะ หรือ ไอที และการเรียนในสายงานพยาบาลหรือครู ก็เริ่มมาแรงเช่นกัน ส่วนการเรียนเป็นเชฟ ยังครองแชมป์ของการเรียนในสายอาชีพ

ซึ่งการเลือกเรียนสายอาชีพใดก็จะมีหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาที่ได้วีซ่าหลังจากจบการศึกษา หรือว่าปัจจัยด้านการเงิน เป็นต้น

“เทรนด์นักเรียนจะสนใจเรียน higher Ed มากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นทาง business เยอะกว่า เทรนด์ในปีนี้ก็เห็นว่า business เยอะเป็นอันดับต้นๆ รองลงมาเราจะเห็นว่าเป็นสาย STEM วิศวะ ไอที ต่างๆ ก็ขึ้นมา แล้วก็จะมีสาย health teaching, nursing มากขึ้น ส่วนสาย Trade ส่วนมากยังเป็นเชฟอยู่”


จากกฎที่เปลี่ยนแปลง บวกกับ สภาพเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพแพงขึ้น คุณ วิทวัสคิดว่าออสเตรเลียยังมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดการศึกษาต่างประเทศอยู่ โดยเฉพาะกับนักเรียนที่ต้องการมาเรียนอย่างจริงจังและวางแผนการเรียนหรือการทำงานในระยะยาวมากกว่าที่จะเข้ามาเรียนและทำงานเพื่อเก็บเงินในระยะสั้น

“คนอยาก invest ใน long term มากกว่า immediate result รีบมารีบได้เงิน อาจจะไม่เหมาะ trend ในการ migrate ยาวๆ ก็มีมากขึ้น อายุน้อยลง คือศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อย ปรึกษา migration agent ตั้งแต่ยังไม่เรียนจบมหาวิทยาลัย

ภาพรวมของตลาดออสเตรเลียยังเป็นแหล่งการศึกษาที่คนที่จริงจังมาเรียนโดยเฉพาะด้าน high ED หรือ Trade occupation

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



 

 

 

 

Share