กลุ่มผู้สนับสนุนการลงประชามติย้อนรำลึกถึงบทเรียนเมื่อปี 1967

Uluru-Unsplash-jason-ham.jpg

อูลูรู Credit: Unsplash/Jason Ham

เริ่มต้นสัปดาห์แห่งการปรองดองในออสเตรเลีย กลุ่มผู้สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญรวมตัวกันที่อูลูรูในวันครบรอบ 6 ปีของแถลงการณ์จากหัวใจที่เรียกร้องให้ชนพื้นเมืองมีสิทธิในสภาและการลงประชามติ วอยซ์ ทู พาร์ไลเมนต์ที่จะมีขึ้นในปีนี้


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

เมื่อครั้งที่มีการลงประชามติเมื่อปี 1967 เพื่อให้นับรวมชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอเรส สเตรท ในสำมะโนประชากรของประเทศ

รัฐมนตรีกระทรวงชนพื้นเมืองแห่งออสเตรเลีย ลินดา เบอร์นีย์ ยังเป็นเด็ก

“เมื่อปี 1967 ฉันอายุ 10 ขวบ และเราไม่ได้ถูกนับรวมเช่นคนอื่นๆ ออสเตรเลียรู้ว่ามีแกะกี่ตัวในประเทศ แต่ไม่รู้ว่ามีชนพื้นเมืองกี่คน มันเป็นเรื่องของการรับรู้ว่าเรามีตัวตน การลงประชามติในปี 2023 นี้เป็นการต่อสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีการยอมรับนับตั้งแต่ครั้งนั้น เราถูกนับรวมแล้ว ตอนนี้เราต้องการให้ได้ยินเสียงของเรา”
ฟังแถลงการณ์จากหัวใจ
Thai: The Uluru Statement from the Heart image

Thai: The Uluru Statement from the Heart

SBS Thai

04/11/202004:52
การลงประชามติเพื่อยอมรับชนชาติแรก (First Nation) ในสำมะโนประชากรครั้งนั้นเป็นการลงประชามติที่ประสบความสำเร็จ มีการลงคะแนนเสียงสนับสนุนเกิน 90 เปอร์เซ็นต์

เหตุการณ์ครั้งนั้นกลายเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่สนับสนุนการลงประชามติ วอยซ์ ทู พาร์ไลเมนท์ (Voice to Parliament) ครั้งนี้ คุณนาธาน อาโป (Nathan Appo) สมาชิกกลุ่มผลักดันการลงประชามติเพื่อชนชาติแรก (First Nations Feferendum Engagement Group) กล่าวว่า

“เมื่อมองย้อนไป ในฐานะคนรุ่นหลัง ดูสิ่งที่ป้าแจ็กกี ฮิกกินส์ (Jackie Huggins) ป้าแพต (Pat) และป้าลินดา (Linda) ได้ทำมาอย่างนัก การลงประชามติเมื่อปี 1967 เป็นงานหนักอย่างใหญ่หลวง ทำให้เรามาถึงจุดนี้ได้ พวกเขาทุกคนต่อสู้มา"
และตอนนี้เป็นเวลาของพวกเรา ที่จะร่วมกันทำต่อไป
กลุ่มผลักดันการลงประชามติเพื่อชนชาติแรกรวมตัวกันที่อูลูรู (Uluru) เพื่อระลึกถึงการเผยแพร่แถลงการณ์จากหัวใจเมื่อ 6 ปีที่แล้ว

ในขณะที่การอภิปรายถึงร่างประชามติในสภาที่กรุงแคนเบอร์ราดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและผู้นำฝ่ายค้าน ปีเตอร์ ดัตทัน (Peter Dutton) เป็นหนึ่งในโต้โผกลุ่มผู้คัดค้านเรื่องนี้
โปรเจกต์ วอยซ์ จะทำให้เกิดการเหยียดผิวในประเทศอีกครั้ง ในเวลาที่เราต้องการให้ประเทศเป็นหนึ่งเดียว
"ข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีข้อนี้จะแบ่งแยกเชื้อชาติ พรรคเสรีนิยมสนับสนุนการยอมรับในรัฐธรรมนูญ แต่เราไม่สนับสนุนการทำให้รัฐธรรมนูญของเราแตกแยก บ่อนทำลาย และเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตย เราทุกคนโหยหาผลลัพธ์ที่เป็นไปได้จริงซึ่งจะช่วยปรับปรุงชีวิตของชนพื้นเมือง ไม่ควรมีผู้นำคนไหน พรรคใด หรือชาวออสเตรเลียคนไหนที่จะถือว่ามีคุณธรรมสูงส่งในเรื่องนี้”
แต่รัฐมนตรีเบอร์นีย์กล่าวว่านายดัทตันย้อนแย้งในตัวเอง

“ฉันเสียใจที่คุณดัทตันเลือกที่จะโหวตต่อต้าน ถ้าเขากังวลเรื่องการปรองดองมากนัก ฉันก็ขอให้เขาโหวตให้เรื่องนี้”

คาดว่าร่างพระราชบัญญัติการลงประชามติ วอยซ์ ทู พาร์ไลเมนท์ จะผ่านการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรสัปดาห์หน้า และจะถูกตรวจสอบโดยสภาสูงในเดือนมิถุนายน

สมาชิกวุฒิสภา จาซินตา ไพร์ซ (Jacinta Price) ผู้สนับสนุนชนพื้นเมืองจากกลุ่มพันธมิตรเสรีนิยมกล่าววิจารณ์เรื่องนี้

“ในปี 1967 เราลงคะแนนสนับสนุนชนพื้นเมืองออสเตรเลียอย่างท่วมท้นให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชากรที่เทียบเท่ากับเรา ได้รับโอกาสในการทำงานและการศึกษาเทียบเท่ากับเรา นั่นคือสิ่งที่ออสเตรเลียสนับสนุน มันแสดงให้เห็นว่าเราไม่ใช่ประเทศที่เหยียดเชื้อชาติเลย แต่การลงประชามติในครั้งนี้กำลังแบ่งแยกเชื้อชาติ ใช่ เราต้องเคารพการโต้เถียงนี้ เคารพผู้ที่โหวตให้และโหวตต้านด้วยเช่นกัน ถ้าคุณโหวตต้าน คุณไม่ได้ถือว่าเหยียดเชื้อชาติในประเทศนี้”
Traditional dancers perform during the official ceremony to celebrate the closure of the climb at Uluru-Kata Tjuta National Park in the Northern Territory, Sunday, October 27, 2019.  (AAP Image/Lukas Coch) NO ARCHIVING
การแสดงพื้นเมืองเพื่อเฉลิมฉลองการประกาศห้ามปีนอูลูรูอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2019 ที่วนอุทยานนอร์เทิร์น เทอร์ริทอรี Source: AAP
โพลสำรวจความคิดเห็นโดยสถาบัน รอย มอร์แกน (Roy Morgan) เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาระบุว่าการสนับสนุนให้โหวตให้เรื่องนี้ลดลงเหลือ 46 เปอร์เซ็นต์

เนื่องจากมีความกังวลมากขึ้นว่าจะกลายเป็นหัวข้อการสนทนาที่แบ่งแยกและมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของโครงการวอยซ์เพิ่มขึ้น

ด้านผู้สนับสนุนหวังว่าการอภิปรายที่ทวีความรุนแรงขึ้นนี้จะไม่สูญเปล่า ศาสตราจารย์แจ็ก บีทสัน (Jack Beetson) สมาชิกกลุ่มผลักดันการลงประชามติเพื่อชนชาติแรกกล่าวว่า

“เมื่อผมคิดถึงการลงประชามติในครั้งนี้ ผมหวังว่าเมื่อลูกๆ ของผมมองย้อนกลับมาถึงการโหวตให้เรื่องนี้ในอีก 60 ปีข้างหน้า พวกเขาจะไม่มองเห็นถึงความกลัว การถูกทำร้ายหรือถูกทรมานที่โรงเรียน นั่นเป็นสิ่งที่ผมหวัง”

คุณสก็อตต์ วิลสัน (Scott Wilson) ผู้รอดชีวิตจากสโตเลน เจนเนอเรชั่นส์ (Stolen Generations) รู้สึกเช่นเดียวกัน

เขากล่าวว่า แม้เขาจะยังเป็นเด็กเมื่อปี 1967 เขายังคงจำได้ถึงผลกระทบจากการลงประชามติในครั้งนั้น และเขาต้องการเห็นการลงประชามติในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ
ผมจำได้ว่า เมื่อครั้งที่ผมเป็นเด็กอยู่ที่ดาร์วิน (Darwin) ในบางคืนชนพื้นเมืองจะถูกขังไว้เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกมาเวลากลางคืน
การลงประชามติในปี 1967 ทำให้เรื่องนี้สิ้นสุดลง ผมขอเรียกร้องถึงชาวออสเตรเลียทุกคน รถไฟมาจอดที่ชานชาลาแล้ว ประวัติศาสตร์กำลังเรียกร้อง คุณจะขึ้นรถไฟไปกับเราตามเส้นทางนี้หรือไม่ หรือคุณจะอยู่กับฝุ่นควัน ไม่เข้าร่วมกับเรา เมื่อรถไฟออกตัวแล้ว”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share