รมต.สาธารณสุขออสฯ ย้ำวัคซีนต้านโควิดมาถึงต้นปีหน้าแน่นอน

ยืนยันกรอบเวลาเดิม รัฐมนตรีสาธารณสุขออสฯ เผยวัคซีนต้านโควิดไม่เลื่อนเวลามาถึงออสเตรเลียที่กำหนดไว้ภายในเดือนมีนาคมปีหน้า หลังวัคซีนจากบริษัทยักษ์ได้ผลการรักษา 90%

Minister for Health Greg Hunt Source: AAP

Health Minister Greg Hunt Source: AAP

ชาวออสเตรเลียจะสามารถรับวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป โดยวัคซีนที่พัฒนาสำเร็จนั้น จะได้รับการจัดส่งมายังออสเตรเลียด้วยระบบทำความเย็นที่มีความซับซ้อน

นายเกร็ก ฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขของออสเตรเลีย ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันนี้ (11 พ.ย.) ว่า กรอบเวลาโครงการวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาของรัฐบาลสหพันธรัฐนั้นยังมีความคงที่

ไฟเซอร์ (Pfizer) บริษัทเวชภัณฑ์ขนาดใหญ่ รายงานว่า วัคซีนต้านไวรัสโคโรนาที่กำลังอยู่ในการทดลองทางคลินิกขั้นสุดท้ายนั้น มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสที่ร้อยละ 90 แต่ยังคงต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่า วัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัย
A research coordinator administers an injection to Katelyn Evans as part of clinical trial of Pfizer's COVID-19 vaccine at Cincinnati Childrens Hospital.
متطوعة تتلقى جرعة من لقاح فايزر في ولاية اوهايو الأمريكية. Source: Cincinnati Childrens Hospital Medical Center
วัคซีนดังกล่าว ใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมของไวรัสในการบอกกับร่างกายให้สร้างภูมิต้านทานเพื่อตอบสนองกับไวรัสโคโรนา ซึ่งนั่นหมายความว่า วัคซีนต้านไวรัสจะต้องถูกเก็บรักษาภายใต้ความเย็น -70 องศาเซลเซียส

ศาสตราจารย์พิเศษจอห์น สเกอร์ริตต์ (John Skerritt) หัวหน้าหน่วยงานควบคุมดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Therapeutic Goods Administration) กล่าวว่า จะมีการใช้ระบบขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิในการขนส่งวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาของไฟเซอร์

“มันเป็นระบบทำความเย็นที่มีความซับซ้อน ซึ่งจะต้องใช้น้ำแข็งแห้ง มันจะอยู่ได้นาน 14 วัน และสามารถเติมน้ำแข็งได้ 2 ครั้ง” ศาสตราจารย์พิเศษสเกอร์ริตต์​กล่าว 

ศาสตราจารย์พิเศษสเกอร์ริตต์ กล่าวอีกว่า การเติมน้ำแข็งแห้ง 2 ครั้งนั้น จะทำให้คลังสินค้าดังกล่าว สามารถเก็บวัคซีนไว้โดยไม่ใช้เครื่องทำความเย็นเป็นเวลา 1 เดือนครึ่ง

“แม้จะเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่แบบออสเตรเลีย คุณสามารถขนส่งมันไปไหนมาไหนได้ด้วยเวลาที่น้อยกว่านั้น” ศาสตราจารย์พิเศษสเกอร์ริตต์ กล่าว

หน่วยงานควบคุมดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ (TGA) ได้ทำการอนุมัติล่วงหน้าให้ บริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer BioNTech) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งร่วมกับบริษัท แอสตราเซเนก้า หลังผ่านมาตรการตรวจสอบขั้นสุดท้ายที่มีความเข็มงวด

นายฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุข กล่าวว่า การตกลงอนุมัติล่วงหน้านั้น จะทำให้วัคซีนมาถึงออสเตรเลียก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยความปลอดภัย 

ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้ทำข้อตกลงในการจองสิทธิ์เข้าถึงวัคซีนจำนวน 10 ล้านโดสจากบริษัทไฟเซอร์ และได้ตกลงที่จะผลิตวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งร่วมกับบริษัทแอสตราเซเนก้า เป็นจำนวน 30 ล้านโดส และนำเข้าเพิ่มเติมอีก 3.8 ล้านโดส

นอกจากนี้ รัฐบาลออสเตรเลียยังได้ทำข้อตกลง กับผู้พัฒนาวัคซีนเพิ่มเติมอีก 2 ราย 

นายฮันท์ กล่าวว่า สถานการณ์ไวรัสโคโรนาในออสเตรเลียได้กลับมาทรงตัวอีกครั้ง หลังไม่พบการติดเชื้อในท้องถิ่นมาเป็นเวลากว่า 4 วันติดต่อกัน

“อย่างไรก็ตาม เรายังคงต้องพึงระลึกเสมอว่ามันยังไม่จบสิ้น จนกว่าประชาชนจะได้รับวัคซีนทั้งประเทศ” นายฮันท์ กล่าว 

ออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้เป็นอย่างดี

ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกล่าสุด ได้แพร่กระจายไปยังสหรัฐ ฯ​ และทวีปยุโรป โดยคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 1.2 ล้านราย และมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ล้านราย 

ส่วนสถานการณ์ในออสเตรเลีย วันนี้รัฐวิกตอเรียไม่พบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาติดต่อกันมาเป็นวันที่ 12 ขณะที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ได้เข้าสู่วันที่ 4 ที่เจ้าหน้าที่ไม่พบการแพร่ระบาดภายในชุมชน


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

น้องชายเล่าถึงหนุ่มไทยที่ดับขณะตกปลาริมทะเลซิดนีย์


Share
Published 11 November 2020 1:18pm
Updated 11 November 2020 6:02pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends