ออสเตรเลีย ‘ละเมิดพันธกรณีนานาชาติ’ โดยไม่ให้วีซ่าเด็กสมองพิการ

นายเบ็น กันท์เลตต์ กรรมาธิการต่อต้านการเลือกปฏิบัติเพราะความทุพพลภาพ กล่าวว่า การปฏิเสธที่จะให้วีซ่าแก่เด็กชายวัย 6 ปี ที่มีภาวะสมองพิการ ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องยุติการเลือกปฏิบัติ

Seneta wa chama cha Australian Greens Jordon Steele-John.

Seneta wa chama cha Australian Greens Jordon Steele-John, akizungumza ndani ya seneti. Source: AAP

นายเบ็น กันท์เลตต์ (Ben Gauntlett) กรรมาธิการต่อต้านการเลือกปฏิบัติเพราะความทุพพลภาพ กล่าวว่า การที่รัฐบาลออสเตรเลียปฏิเสธที่จะให้วีซ่าแก่เด็กชายวัย 6 ปี ที่มีภาวะสมองพิการ เป็นการละเมิดพันธกรณีนานาชาติของออสเตรเลีย

เอบีซีได้รายงานว่า เมื่อเดือนที่แล้วเด็กชายคนดังกล่าว คือ คายาน แคทยาล (Kayaan Katyal) ได้ถูกปฏิเสธวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร เนื่องจากความพิการทุพพลภาพของเขาจะก่อให้เกิด “ค่าใช้จ่ายที่เกินควร” สำหรับชุมชนออสเตรเลีย

นายกันท์เลตต์ ได้ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ในการประชุมประมาณการงบประมาณของวุฒิสภาในเย็นวันอังคาร ซึ่งเขาถูกถามเกี่ยวกับการจัดการของรัฐบาลในกรณีที่ว่านี้
Disability Discrimination Commissioner Ben Gauntlett.
Disability Discrimination Commissioner Ben Gauntlett. Source: Supplied
เขากล่าวว่า การปฏิเสธวีซ่าที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปพระราชบัญญัติด้านการย้ายถิ่นฐาน (Migration Act) เพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนที่มีความพิการทุพพลภาพ

“ผมคิดว่าค่อนข้างชัดเจนทีเดียวว่า กรณีของ ดช.แคทยาล ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปพระราชบัญญัติด้านการย้ายถิ่นฐานในเรื่องนี้ และเป็นที่น่าสังเกตว่า นี่เป็นสิ่งที่ประเทศแคนาดาได้ทำ” นายกันท์เลตต์ กล่าว

เกี่ยวกับกฎหมายที่ทำให้พระราชบัญญัติการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียได้รับการยกเว้นจากบทบัญญัติส่วนใหญ่ด้านการเลือกปฏิบัติที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกปฏิบัติเพราะความพิการทุพพลภาพ (Disability Discrimination Act)

กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียแย้งว่า นโยบายด้านการย้ายถิ่นฐานประเมินแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน และพิจารณาดูว่ามันจะส่งผลให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการเข้าถึงบริการที่โดยทั่วไปก็ขาดแคลนอยู่แล้วหรือไม่

อย่างไรก็ตาม นายกันท์เลตต์ กล่าวว่า การใช้นโยบายนี้ต่อผู้ทุพพลภาพขัดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของบุคคลที่มีความพิการทุพพลภาพ

“มีข้อโต้แย้งที่สำคัญอย่างยิ่งว่า ความจริงแล้ว นี่เป็นสิ่งที่ขัดต่อมาตรา 18 ในเรื่องสิทธิ์ของบุคคลที่มีความพิการทุพพลภาพ”
ดช.คายาน แคทยาล เกิดในออสเตรเลีย หลังจากพ่อของเขาได้ย้ายถิ่นฐานจากอินเดียมาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อ 12 ปีก่อน เพื่อเรียนการทำอาหารยุโรปและทำงานเป็นเชฟ นางปริยาคา แม่ของคายาน เดินทางมาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อ 8 ปีก่อน

เมื่อเดือนที่แล้ว คายาน ได้รับจดหมายแจ้งการปฏิเสธวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร โดยระบุว่า การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของเขา “ดูเหมือนว่าจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินควรอย่างมีนัยสำคัญต่อชุมชนออสเตรเลียในด้านบริการสุขภาพและ/หรือบริการชุมชน”

วุฒิสมาชิก จอร์แดน สตีล-จอห์น ของพรรคกรีนส์ ซึ่งตัวเขาเองนั้นมีภาวะสมองพิการด้วยเช่นกัน กล่าวว่า เขาเชื่อว่า การตัดสินใจในกรณีนี้ของรัฐบาลก่อให้เกิดความน่าวิตกตามมา

“มันทำให้ผมรู้สึกวิตกอย่างมากว่า เด็กที่มีภาวะสมองพิการต้องเผชิญการถูกเนรเทศ เพียงเพราะความพิการทุพพลภาพของพวกเขา”

“ระบบเอ็นดีไอเอส (NDIS) ของเราทุกวันนี้ ตระหนักว่าความพิการทุพพลภาพไม่ได้ดึงทรัพยากรออกไปอย่างล้นหลามจากระบบสุขภาพ”
นายกันท์เลตต์ ขอให้นายอเล็กซ์ ฮอว์ค รัฐมนตรีด้านการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลีย ให้ใช้ “ดุลยพินิจ” ของตน “อย่างมีมนุษยธรรม” เกี่ยวกับกรณีของ ดช.คายาน

ประเทศแคนาดาได้ปฏิรูปพระราชบัญญัติด้านการย้ายถิ่นฐานของตนในปี 2018 หลังเผชิญการตำหนิในทำนองเดียวกัน

โฆษกของกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย ระบุว่า กระทรวงไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อผู้สมัครขอวีซ่าที่มีความพิการทุพพลภาพ และการตัดสินใจของกระทรวงนั้น “ทำได้ในทางปฏิบัติและสมดุลระหว่างความเห็นอกเห็นใจและการควบคุมด้านค่าใช้จ่าย”

“ความพิการทุพพลภาพโดยลำพังนั้นไม่ได้ส่งผลให้บุคคลนั้นล้มเหลวที่จะผ่านข้อกำหนดด้านสุขภาพ” โฆษกกระทรวงระบุ

“นโยบายปัจจุบันไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อผู้สมัครที่มีความพิการทุพพลภาพหรือมีความเจ็บป่วย หรือมีทั้งสองอย่าง โดยผู้สมัครทุกคนได้รับการปฏิบัติด้วยอย่างเท่าเทียมกันและอย่างยุติธรรม”

โฆษกยังกล่าวว่า กระทรวงจะไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีใดกรณีหนึ่งโดยเฉพาะ

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 26 March 2021 12:29pm
By Tom Stayner
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends