‘กระต่ายอีสเตอร์’ ของออสเตรเลียที่ใกล้สูญพันธุ์เพิ่มจำนวน 2 เท่า

บิลบี (Bilby) หรือกระต่ายอีสเตอร์ของออสเตรเลีย เป็นสัตว์ท้องถิ่นที่ใกล้สูญพันธุ์ แต่นักอนุรักษ์กลุ่มหนึ่งได้นำบิลบีกลับสู่ระบบนิเวศ ซึ่งช่วยให้พวกมันเพิ่มจำนวนมากเป็น 2 เท่าภายในหนึ่งปี

A bilby sitting on some sand.

รัฐบาลสหพันธรัฐกำลังร่วมมือกับรัฐบาลรัฐและมณฑลต่างๆ เพื่ออนุรักษ์บิลบีสำหรับคนรุ่นหลัง Credit: NATIONAL PARKS AND WILDLIFE/PR IMAGE

ประเด็นสำคัญ:
  • ประชากรบิลบี สัตว์ท้องถิ่นของออสเตรเลีย อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ แต่กำลังค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้น
  • การที่บิลบีเพิ่มจำนวนขึ้นมาจากหลายปัจจัย รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่มีมากในพื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย
  • แผนการร่วมกันระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐจะใช้ความรู้ของชาวพื้นเมือง เพื่อปกป้องบิลบีต่อไป
บิลบี (Bilby) สัตว์ท้องถิ่นของออสเตรเลีย มักถูกเรียกว่าเป็น กระต่ายอีสเตอร์ในแบบของออสเตรเลีย แต่จำนวนประชากรบิลบีมีน้อยกว่าและอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์มากกว่ากระต่าย ซึ่งเป็นสัตว์ที่ถูกนำเข้ามายังออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม นักอนุรักษ์กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาสามารถเพิ่มจำนวนประชากรบิลบีที่ใกล้สูญพันธุ์ให้มากขึ้นสองเท่าได้ในเวลาเพียง 12 เดือน

บิลบีใหญ่ (Greater Bilby) มีประชากรราวอย่างน้อย 3,315 ตัวในพื้นที่คุ้มครอง 6 แห่ง ตามรายงานการสำมะโนประชากรบิลบีล่าสุดของ Australian Wildlife Conservancy (AWC)

ซึ่งเพิ่มขึ้นสองเท่าจากเดิม 1,480 ตัวโดยประมาณในปี 2022
ในอดีตบิลบีเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ 2 ใน 3 ของผืนแผ่นดินออสเตรเลีย ปัจจุบันประชากรบิลบีลดลงเหลือเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่อยู่ในออสเตรเลียตอนกลาง

การเพิ่มจำนวนขึ้นของบิลบีมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่มีมากในพื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย ซึ่งช่วยเติมเต็มแหล่งน้ำธรรมชาติและทำให้มีสภาพเหมาะสมสำหรับการขยายพันธุ์

เช่นเดียวกับการล้อมรั้วกั้นและเฝ้าดูแลบิลบี ดังที่เกิดขึ้นจากการนำบิลบีกลับไปอาศัยในพื้นที่ภายใต้การดูแลของ AWC ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านิวเฮเวน (Newhaven Wildlife Sanctuary)
A woman holding a bilby.
อลีชา ดอดสัน นักนิเวศวิทยาภาคสนามของ AWC กำลังปล่อยบิลบีตัวหนึ่งกลับสู่ธรรมชาติให้ไปอาศัยอยู่ในเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่านิวเฮเวน Source: Supplied
ดร. จอห์น คาโนว์สกี หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ของ AWC กล่าวว่า องค์กรสามารถนำบิลบีกลับคืนสู่ระบบนิเวศ 6 แห่งที่พวกมันเคยอาศัยอยู่และก่อนหน้านี้ได้สูญพันธุ์ไป

“การนำบิลบีกลับไปอาศัยและขยายพันธุ์ในพื้นที่ที่พวกมันเคยอาศัยอยู่เดิมนั้น สำคัญต่อการรักษาศักยภาพในการปรับตัวของพวกมันในระยะยาว” ดร. คาโนว์สกี กล่าว

“จำนวนบิลบีที่ลดลงแสดงถึงการสูญเสียมรดกทางธรรมชาติของเรา การสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง และการหยุดชะงักของกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่สำคัญ เช่น ในฐานะ ‘วิศวกรระบบนิเวศ’ บิลบีจะพลิกหน้าดินหลายตันต่อปี ที่ทำให้เกิดพื้นที่เล็กๆ ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะแก่การงอกของเมล็ดพืช”
ในฐานะ 'วิศวกรระบบนิเวศ' บิลบีจะพลิกหน้าดินหลายตันต่อปี ที่ทำให้เกิดพื้นที่เล็กๆ ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะแก่การงอกของเมล็ดพืช
ดร. จอห์น คาโนว์สกี
นักนิเวศวิทยากลุ่มนี้กล่าวว่า พวกเขารู้สึกตื่นเต้นที่ได้พบเห็นลูกบิลบีทั้งที่อายุน้อยๆ และที่อยู่ในวัยรุ่นในระหว่างการสำรวจช่วงเดือนธันวาคมที่อุทยานแห่งชาติ พิลลิกา (Pilliga National Park) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ โดยพบบิลบีเพศเมีย 17 ตัวจากทั้งหมด 25 ตัว มีบิลบีวัยทารกอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านิวฮาเวนได้บันทึกหลักฐานว่ามีลูกบิลบีถือกำเนิดเป็นตัวแรกในพื้นที่ด้วย
เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 มีนาคม นายกรัฐมนตรี แอนโทนี อัลบานีซี ได้เปิดเผยแผนการที่จะช่วยปกป้องบิลบีใหญ่ (Greater Bilby) ต่อไป โดยจะอาศัยความรู้จากชนกลุ่มแรกของชาติ และนำการบริหารจัดการพื้นที่ของเจ้าของดินแดนดั้งเดิมมาช่วยกำจัดแมวป่าและสุนัขจิ้งจอก และฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยของบิลบี

รัฐบาลสหพันธรัฐจะให้เงินทุนกว่า 5 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการปกป้องบิลบี โดยมีรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีและของทุกรัฐและมณฑล ยกเว้นวิกตอเรีย ร่วมลงนามในแผนดังกล่าว

งานการอนุรักษ์บิลบีส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ตอนกลางของออสเตรเลีย ซึ่งรวมไปถึงการล้อมรั้วพื้นที่ที่ประชากรบิลบีจะสามารถเติบโตได้ โดยปราศจากรุกรานของแมวป่าและสุนัขจิ้งจอก
สัตว์ที่สวยงามประเภทนี้คือคำตอบของออสเตรเลียสำหรับกระต่ายอีสเตอร์
นายกรัฐมนตรี แอนโทนี อัลบานีซี
“สัตว์ที่สวยงามประเภทนี้คือคำตอบของออสเตรเลียสำหรับกระต่ายอีสเตอร์” นายอัลบานีซี กล่าว

"น่าเสียดายที่จำนวนประชากรบิลบีได้ลดลงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา"

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก AAP

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 8 April 2023 6:30am
Updated 10 April 2023 11:12am
By Madeleine Wedesweiler
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends