“อาหารเช้าสำคัญที่สุดของวัน”—จริงหรือลวงโลก?

ความอร่อยเหาะที่ได้รับประทานทุกๆ วันนั้น จะหมายความว่าเราไม่ควรตั้งข้อสงสัยถึงประโยชน์ของอาหารมื้อนี้กันเลยหรือ

Image of breakfast cereal

มื้อที่สำคัญที่สุดของวัน จริงหรือ? Source: Pixabay

 

You can read the full version of this story in English on SBS Guide .

อาหารเช้านั้นเป็นกิจวัตรที่ไม่ใคร่มีใครขบคิดถึง เพราะผลพลอยได้ด้านสุขภาพนั้นได้ถูกสั่งสอนกันมาอย่างเคร่งครัดตั้งแต่สมัยเด็กๆ จนถึงกับว่าอาจเป็นบัญญัติประการที่ 11: “จงรับประทานอาหารเช้าทุกวันและห้ามลืมเด็ดขาด”

สัญลักษณ์ของอาหารเช้าที่สำคัญก็คือธัญพืชหรือซีเรียล (cereal) ซึ่งพวกเราทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่ทว่ามันก็อาจจะเป็นศัตรูต่อการเริ่มต้นวันที่ดีได้ เนื่องจากซีเรียลบางประเภทนั้นถูกเติมน้ำตาลในปริมาณที่มากจนน่าตกใจ (เชฟและนักเขียน คุณฮิว เฟิร์นลีย์-วิตทิงสตอลล์ ได้กะเทาะเปลือกเรื่องดังกล่าวในสารคดี ฮิวสู้อ้วน (Hugh’s Fat Fight))

เชิญชม: Hugh’s Fat Fight ได้ในคืนวันจันทร์ทางสถานีโทรทัศน์เอสบีเอสเวลา 20:30 น. และทุกเมื่อที่คุณต้องการทาง

ธัญพืชนั้นเป็นอาหารหลักที่พวกเราอาจไม่เคยฉุกคิดถึงคุณค่า ซึ่งธัญพืชนั้นเป็นผลพลอยได้จากการโฆษณาชวนเชื่อที่แต่งตั้งให้อาหารเช้านั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในด้านโภชนาการของแต่ละวัน แต่ว่าหากสรุปเช่นนั้นจะแปลว่าเป็นการหลอกลวงกันมาขนานใหญ่เลยหรือไม่?

อาหารเช้ากลายเป็นราชาของอาหารทุกมื้อได้อย่างไร

เหตุผลที่ “อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน” ฟังดูแล้วเหมือนคำขวัญนั้นก็เพราะว่ามันเป็นคำขวัญๆ จริงๆ นั่นเอง

ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการรณรงค์ทางการตลาดที่ก็อาจเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ โดยผู้ผลิตซีเรียล เยเนอรัล ฟู้ดส์ (ซึ่งขณะนี้เรารู้จักในชื่อ คราฟต์ ฟู้ดส์) กล่าวว่า “รับประทานอาหารเช้าที่ดี - ทำงานได้ดีขึ้น” และโฆษณาทางวิทยุด้วยคำโปรยที่ว่า: “ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการกล่าวว่าอาหารเช้านั้นเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน” และจึงเชื่อกันเช่นนั้นเป็นต้นมา
Breakfast
PR spin had doctors endorsing bacon and eggs as a healthy breakfast Source: Pixabay
ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเบคอนจึงเป็นตัวยืนอีกอย่างหนึ่งของอาหารเช้า? เรื่องนี้เราต้องขอบคุณ “ บิดาแห่งการประชาสัมพันธ์” เอดเวิร์ด เบอร์เนส์ (Edward Bernays) สำหรับเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีภาพวิดิโอเก่าเก็บที่บันทึกไว้ว่าเขาเคยอธิบายถึงกลวิธีซึ่งเขาทำในนามของบริษัทผู้ผลิตเบคอนที่ชื่อว่าบีช-นัทแพ็คกิง (Beech-Nut Packing Company) โดยได้มีแพทย์ท่านหนึ่งซึ่งสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ว่าอาหารเช้ามื้อหนักที่อุดมด้วยโปรตีนจากเบคอนและไข่นั้น เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าอาหารเช้าเบาๆ ดัวยเหตุผลว่า? “เพราะร่างกายของเรานั้นสูญเสียพลังงานในตอนกลางคืน และจำเป็นต้องใช้พลังงานในระหว่างวัน”

นายเบอร์เนส์จึงได้ขอให้แพทย์ท่านดังกล่าวเขียนจดหมายถึงแพทย์อีกเป็นจำนวน 5,000 ท่านเพื่อจะดูว่าพวกเขาเห็นด้วยหรือไม่ – ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยอย่างง่ายดาย โดยผลของการล่าชื่อดังกล่าวนั้นได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทั่วอเมริกาด้วย “พาดหัวที่ว่า ‘แพทย์ 4,500 ท่านเน้นให้อาหารเช้าเป็นมื้อหนัก เพื่อพัฒนาสุขภาพของชาวอเมริกัน” โดยคุณเบอร์เนส์ได้เล่าถึงเหตุการณ์ว่า “แพทย์หลายๆ คนระบุว่าเบคอนและไข่นั้นควรจะอยู่ในอาหารเช้า และผลที่ตามมาก็คือ ยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น”

ความคิดที่ว่า อาหารเช้านั้น “ดี” ต่อคุณ (เสียจริงๆ) นั้น มีสาเหตุที่สำคัญมาจากการคิดค้นคอร์นเฟลกส์ หรือแผ่นข้าวโพดกรอบขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยผู้ก่อตั้งบริษัทเคลลอกส์ ดอกเตอร์จอห์น ฮาร์วีย์ เคลลอกก์ และน้องชายของเขา วิลล์ คีธ เคลลอกก์ ซึ่งดอกเตอร์ฮาร์วีย์นั้นเป็นสมาชิกของโบสถ์เซเวนเดย์แอดเวนติสต์ที่เคร่งครัดและก็ยังเป็นมังสวิรัติ โดยเขาเชื่อว่าการบริโภคเนื้อซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวอเมริกัน ตลอดจนอาหารหนักอื่นๆ นั้น “รบกวนเส้นประสาทต่างๆ และ ... ก่อปฏิกิริยาต่ออวัยวะของระบบสืบพันธุ์” โดยกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางโลกและการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง ซึ่งก็น่าพิศวงที่เขาเชื่อว่าอาหารเบาๆ ที่ไม่มีรสชาติอย่างคอร์นเฟลกส์นั้นจะช่วยเยียวยาได้ ลองคิดดูสิว่าท่านจะออกโฆษณามาเช่นนั้นได้อย่างไร!

ความย้อนแย้งที่ใหญ่ยิ่งก็คือนายเคลลอกก์ผู้น้องซึ่งมีความช่ำชองด้านการค้านั้น ได้พยายามให้พี่ชายของเขาเชื่อว่าน้ำตาลซึ่งเป็นของไม่ดีแต่ก็จำเป็นที่จะต้องเติมลงไปให้กับซีเรียลเพื่อที่จะได้ไม่มีรสชาติเหมือน “อาหารม้า”

หากอ้างอิงจากประชาคมผู้ผลิตซีเรียลอาหารเช้าแห่งออสเตรเลีย (Australian Breakfast Cereal Manufacturers Forum) ชาวออสเตรเลียนั้นเป็นผู้บริโภคซีเรียลอันดับที่สามของโลก โดยแต่ละคนนั้นบริโภคเป็นจำนวนแปดกิโลกรัมต่อปี ทว่าเมื่อปีที่แล้ว เว็บไซต์ news.com.au ได้รายงานว่ายอดขายของซีเรียลนั้นลดต่ำลง โดยประเมินมูลค่าของอุตสาหกรรมดังกล่าวของประเทศออสเตรเลียไว้ที่ $1.2 พันล้านดอลลาร์

ถ้าเช่นนั้นเราเชื่ออะไรได้เกี่ยวกับอาหารเช้า?

ในทศวรรษที่ 1960 “สตรีหมายเลขหนึ่งด้านโภชนาการ” อเดลล์ เดวิส ได้กล่าวถ้อยคำที่กลายเป็นตำนานว่า: “ทานอาหารเช้าอย่างราชา อาหารเที่ยงอย่างเจ้าชาย และอาหารเย็นอย่างยาจก” โดยแม้ว่าความคิดดังกล่าวจะตรงกับนิสัยในการรับประทานอาหารของผู้คนจำนวนหนึ่ง ในปัจจุบัน แต่หากฟังดูดีๆ แล้วก็ราวกับว่าจะเป็นการเสียสมดุลที่ไร้เหตุผล

สมาพันธ์นักโภชนาการแห่งออสเตรเลีย หรือ The Dieticians Association of Australia (DAA) กล่าวว่า ประโยชน์ต่อสุขภาพของการรับประทานอาหารเช้าก็คือท่านจะเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักขึ้นหรือโรคอ้วนน้อยลง เพราะว่าจะรู้สึกอิ่ม ซึ่งก็หมายความว่าท่านจะมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารอันไม่ดีต่อสุขภาพน้อยลงในระหว่างวัน และยังได้รับสารอาหารที่จำเป็น และเพิ่มความตื่นตัว สมาธิ กำลังสมอง อารมณ์ และความจำ โดยทางหน่วยงานโภชนาการแห่งออสเตรเลียหรือ Nutrition Australia ยังเสริมว่า การรับประทานอาหารเช้านั้นกระตุ้นการเผาผลาญและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดนั้นคงที่
Should you give this a miss?
Breakfast Source: SBS Guide
อย่างไรก็ตามรายงานซึ่งทาง DAA ใช้อ้างอิงตลอดจนรายการของประโยชน์ต่างๆ ที่ได้ระบุมานั้น เป็นลักษณะที่บ่งชี้ชัดว่าการทำวิจัยนั้นเป็นเรื่องยุ่งเหยิงเต็มที่ไปด้วยปัญหา เพราะงานวิจัยบางชิ้นนั้นได้รับเงินสนับสนุนจากบริษัทซีเรียล - ซึ่งในกรณีนี้ก็คือเคลลอกส์นั่นเอง

แม้ว่านักโภชนาการ โรสแมรี สแตนตัน จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว เธอก็กล่าวว่ายังมีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือมาหนุนหลังด้านประโยชน์ทางโภชนาการหลายประการของอาหารเช้าประเภทที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งดีกว่าการไม่รับประทานอาหารเช้าเลย โดยคุณสแตนตันได้อ้างอิงถึงงานวิจัยในประเทศออสเตรเลียที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1985 เพื่อวิเคราะห์นิสัยในการรับประทานอาหารเช้าของผู้ที่มีอายุเก้าถึง 15 ปี และก็ได้มีการทบทวนอีกครั้งในปี 2004-2006 และพบว่า ผู้ที่ไม่รับประทานอาหารเช้า (คำจำกัดความก็คือไม่รับประทานอาหารในระหว่างเวลา 6-9 นาฬิกา) ในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่นั้น จะเกิดปัจจัยเสี่ยง “อันเป็นผลเสีย” ต่อสุขภาพด้านการเผาผลาญและหัวใจ โดยมีรอบเอวที่ใหญ่กว่า มีระดับฮอร์โมนอินสุลินในขณะอดอาหารที่สูงกว่า และมีระดับของแอลดีแอล หรือ ลิโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein, LDL) ตลอดจนโคเลสเตอรอลที่สูงกว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารเช้า

แต่ทว่าก็มีงานวิจัยที่ขัดแย้งกันอยู่เป็นจำนวนมากมาย เกี่ยวกับผลต่อสุขภาพของอาหารเช้า จนเป็นการยากที่จะทราบว่าควรจะเชื่อใครกันแน่ (ไม่ต่างกันกับผลงานวิจัยเกี่ยวกับไข่ซึ่งเป็นอาหารเช้าหลักอย่างหนึ่ง ซึ่งก็กลับไปกลับมา)

หากดูแล้ว ก็จะเห็นได้ว่ามีงานวิจัยจำนวนมากที่พบว่าการไม่รับประทานหรือรับประทานอาหารเช้าล่าช้านั้นก็อาจช่วยลดน้ำหนักหรือช่วยในด้านการเผาผลาญ (ซึ่งตรงข้างโดยสิ้นเชิงกับสิ่งที่งานวิจัยซึ่งสนับสนุนการรับประทานอาหารเช้าได้กล่าวอ้าง) ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของเทร็นด์ความนิยมการอดอาหารแบบเป็นช่วงๆ (intermittent fasting)

งานวิจัยที่กินระยะเวลา 10 สัปดาห์โดยมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ (Univerysity of Surrey) ซึ่งออกรายการโทรทัศน์ เชื่อผมเถอะผมเป็นหมอ หรือ Trust Me I’m A Doctor นั้นมีผู้ร่วมทดลองสิบหกคนที่ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม: กลุ่มแรกรับประทานอาหารเช้าล่าช้ากว่าปกติ เป็นเวลา 90 นาที และรับประทานอาหารเย็นเร็วกว่าปกติ 90 นาที และกลุ่มควบคุมซึ่งรับประทานตามเวลาปกติ ผลจากการอดอาหารนั้นทำให้กลุ่มแรกมีไขมันตามร่างกายที่โดยเฉลี่ยแล้วลดลง และมีระดับน้ำตาลในเลือดและโคเลสเตอรอลที่ลดลงต่ำกว่ากลุ่มควบคุม


ดอกเตอร์ไมเคิล โมสลีย์ พิธีกรของรายการ Trust Me I’m A Doctor และผู้คิดค้นการรับประทานอาหารแบบ 5:2 กล่าวกับหนังสือพิมพ์ The Sydney Morning Herald ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเช้า หรือว่าเหมาะกับการรับประทานอาหารเช้า โดยเขาอ้างอิงจากงานวิจัยต่างๆ ซึ่งผู้คนนั้นน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเมื่อถูกบังคับให้รับประทานอาหารเช้า

แม้วลีที่ว่า “ไม่ทานข้าวเช้า” นั้นจะมีความหมายในเชิงตำหนิติเตียน โดยมีแง่มุมในทางลบว่าผู้คนนั้นไม่ดูแลตัวเองหากว่าพวกเขาไม่รับประทานอาหารมื้อดังกล่าว คุณสแตนตันก็เชื่อว่าคุณสามารถชดเชยการไม่รับประทานอาหารเช้าหลังจากนั้นได้ในระหว่างวันด้วยอาหารกลาวันและอาหารเย็นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่แม้กระนั้น นักโภชนาการท่านดังกล่าวก็แนะนำให้รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ โดยกล่าวว่า มันขึ้นอยู่กับว่าท่านรับประทานอะไรเป็นสิ่งแรกของวัน มากกว่าการที่จะต้องกำหนดเวลาอย่างตายตัว

“มันมีแนวโน้มที่ว่าการรับประทานอาหารเช้า – หรือไม่รับประทานนั้น – อาจเป็นเพียงแค่ภาพสะท้อนของความพึงพอใจส่วนตัวเกี่ยวกับเวลาที่ชอบรับประทานอาหาร” โดยเธอเขียนลงในวารสารวิชาการเดอะคอนเวอร์เซชัน (The Conversation) ว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบการตื่นขึ้นมาแล้วก็รับประทานอาหารเลยเป็นสิ่งแรก แต่ตัวเลือกของอาหารของคุณนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมๆ เรื่อของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ”

เชิญชม: Hugh’s Fat Fight ได้ในคืนวันจันทร์ทางสถานีโทรทัศน์เอสบีเอสเวลา 20:30 น. และทุกเมื่อที่คุณต้องการทาง


Share
Published 26 September 2018 10:04am
Updated 26 September 2018 10:10am
By Jim Mitchell
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Guide, Pixabay


Share this with family and friends