หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรใช้ยาต้านไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่

แพ็กซ์โลวิด คือยาต้านไวรัสที่ได้รับการอธิบายว่าเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการต่อสู้กับโควิด-19 ซึ่งมีรายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเข้ารักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง

Mother with protective mask breastfeeding her baby son at home

WHO recommends Paxlovid in pregnant and breastfeeding mothers, but Australians will have to wait. (Representative image.) Credit: South_agency/Getty Images

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • องค์การอนามัยโลกแนะนำให้มารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตรปรึกษาแพทย์
  • ออสเตรเลียไม่แนะนำให้ผู้ตั้งครรภ์ ผู้ให้นมบุตร และผู้หญิงที่คาดว่าจะมีบุตร ในการใช้ยาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิด
  • ขณะที่การศึกษาโดยสถาบันวิจัยจอนส์ ฮอปกินส์ แสดงให้เห็นว่ายาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิดนั้นปลอดภัยกับครรภ์มารดา
คำแนะนำล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้ขอให้ผู้ตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร ที่ติดเชื้อโควิด-19 ชนิดอาการไม่รุนแรง ให้พิจารณาใช้ยาต้านไวรัสของแพ็กซ์โลวิด

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาว่าควรใช้ยาต้านไวรัสดังกล่าวหรือไม่ จากประเด็นในเรื่องของประโยชน์ที่อาจได้รับ รวมถึงการขาดรายงานข้อมูลด้านผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์

สำหรับผู้หญิงในออสเตรเลียยังคงต้องรอหากต้องการใช้ยาดังกล่าว หลังหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของออสเตรเลีย (ทีจีเอ) ไม่อนุญาตให้ใช้ยาแพ็กซ์โลวิดในหญิงกรณีตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และผู้หญิงที่มีโอกาสจะมีบุตร โดยปัจจุบันมีการอนุมัติให้ใช้ยาดังกล่าวในกลุ่มเฉพาะที่มีภาวะทางสุขภาพแทรกซ้อน

ออสเตรเลียยังคงรักษาจุดยืนดังกล่าว แม้องค์การอนามัยโลกจะปรับปรุงคำแนะนำแล้วก็ตาม

หน่วยงานสาธารณสุขของออสเตรเลียระบุว่า ไฟเซอร์ไม่ได้ให้ข้อมูลของตัวยาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิด ในส่วนของการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ เมื่อทีจีเอให้การอนุมัติการยื่นขอในตอนแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2022
ดังนั้น การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรจึงไม่ได้รับการแนะนำ
หน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลีย
“สิ่งนี้สอดคล้องกับคำแนะนำโดยองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของสหราชอาณาจักร (MHRA)”

ขณะที่คำสั่งด้านสุขภาพของรัฐบาลรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้มีแผนที่จะมีบุตรไม่ให้รับประทานยาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิด

“ติดต่อแพทย์ของคุณทันทีหากคุณตั้งครรภ์ระวังรับประทานยาชนิดนี้ แพ็กซ์โลวิดอาจส่งกระทบต่อการทำงานของยาเม็ด แผ่นชนิดแปะผิวหนัง และวงแหวนสอดใส่ช่องคลอดสำหรับคุมกำเนิด” คำสั่งด้านสุขภาพของรัฐบาลเวสเทิร์นออสเตรเลีย ระบุ

“คุณควรใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นหรือวิธีการป้องกันเพิ่มเติม อย่างเช่น ถุงยางอนามัย ระหว่างรับประทานยาแพ็กซ์โลวิด พูดคุยกับแพทย์ของคุณเกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ”
อย่างไรก็ตาม นิชา คอท (Dr Nisha Khot) สูตินรีแพทย์เชี่ยวชาญจากนครเมลเบิร์น เชื่อว่ารัฐบาลออสเตรเลียจะปรับปรุงแนวทางให้สอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก และการศึกษาล่าสุด

“ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในออสเตรเลียไม่สามารถสั่งจ่ายยาแพ็กซ์โลวิด หรือตัวยาอื่นใดที่ไม่ได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลสหพันธรัฐได้”
เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว แพ็กซ์โลวิดจะใช้เป็นทางเลือกในการรักษาเพิ่มเติมสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร มันจะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล
นิชา คอท (Dr Nisha Khot) สูตินรีแพทย์เชี่ยวชาญจากนครเมลเบิร์น
คุณคอท กล่าวว่า มารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรส่วนมากในรัฐวิกตอเรียเริ่มรายงานการติดเชื้อโควิด-19 ในระดับที่ไม่รุนแรง

“สิ่งที่อาจเป็นเพราะอัตราการฉีดวัคซีน และวัคซีนเข็มกระตุ้นในระดับสูง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราย้ำถึงความสำคัญในการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างมาก” คุณคอท กล่าว

ขณะเดียวกัน มีการศึกษาล่าสุดโดยสถาบันวิจัยทางการแพทย์ จอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins Medicine Research) ใน JAMA Network Open ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 (SARS-CoV-2) สามารถรับประทานยาแพ็กซ์โลวิดได้อย่างปลอดภัย เพื่อลดโอกาสที่จะมีอาการอย่างรุนแรง
ผู้ป่วยทนต่อการรักษาได้ดี โดยไม่พบหลักฐานว่ามีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นที่ส่งผลต่อพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด หรือลูกหลานของพวกเขา
สถาบันวิจัยทางการแพทย์ จอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins Medicine Research)
“ประมาณครึ่งหนึ่งของการทำคลอดหลังจากการรักษาด้วยยาเนอร์มาเทรลเวียร์ (nirmatrelvir) และริโทนาเวียร์ (ritonavir) เป็นการทำคลอดผ่านการผ่าตัดคลอด” การศึกษาชี้

รัฐบาลออสเตรเลียระบุว่าทีจีเอ ทราบถึงการศึกษาขนาดเล็กเกี่ยวกับการใช้ยาแพ็กซ์โลวิดในหญิงตั้งครรภ์ และอาจพิจารณา การยื่นขออนุมัติใหม่หรือการยื่นขออนุมัติปรับปรุงจากไฟเซอร์

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่สามารถบังคับให้ไฟเซอร์ยื่นขออนุมัติใหม่ได้
ด้านไฟเซอร์ระบุกับเอสบีเอสว่า ไม่มีข้อมูลความปลอดภัยของการใช้ยาแพ็กซ์โลวิดระหว่างตั้งครรภ์ และในเด็กที่กินนมแม่ในช่วงให้นมบุตร

“ผู้หญิงซึ่งมีโอกาสมีบุตรควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ระหว่างการรักษาและภายในช่วง 7 วันหลังหยุดรับประทานยาแพ็กซ์โลวิด” ไฟเซอร์ ระบุ

“ผู้ให้นมบุตรควรหยุดให้นมระหว่างการรักษาด้วยยาแพ็กซ์โลวิด และในช่วง 7 วันหลังรับประทานยาโดสสุดท้าย ไม่มีข้อมูลในมนุษย์เกี่ยวกับผลกระทบจากยาแพ็กซ์โลวิดต่อการเจริญพันธุ์”
เอสบีเอส มุ่งมั่นในการให้บริการข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมของออสเตรเลีย ทำตนให้ปลอดภัย และ


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

อ่านและฟังเรื่องสุขภาพได้อีก

Share
Published 26 January 2023 5:00pm
Updated 27 January 2023 9:30am
By Sahil Makkar
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends