งานวิจัยพบเด็กผู้อพยพย้ายถิ่นเป็นโรคอ้วนในอัตราสูงกว่า

NEWS: เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก งานอดิเรกคลาสสิกของชาวออสเตรเลียนั้นทำให้เกิดความแตกต่างได้ทั้งหมด: การเล่นกีฬาเป็นทีม

You can read the full version of this story in English on SBS News .

งานวิจัยล่าสุดพบเด็กชาวออสเตรเลียซึ่งเกิดในต่างประเทศจากประเทศที่ยากจนกว่าจะมีโอกาส

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยออสเตรเลียนแนชันนอล (Australian National University) ได้ประเมินข้อมูลของเด็กๆ ประมาณ 5,000 คนซี่งมีอายุระหว่าง สี่ถึง 11 ปี เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และพบว่าลูกๆ ของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานนั้น มีอัตราการเป็นโรคอ้วนที่สูงกว่า ในทุกกลุ่มอายุ

การศึกษายังพบว่า ความแตกต่างระหว่างเด็กชายซึ่งเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน และเด็กชายที่เกิดในประเทศออสเตรเลียนั้น ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุของพวกเขา
Australian children of parents born abroad in poorer countries are more likely to be overweight or obese, compared to wealthier counterparts.
Australian children of parents born abroad in poorer countries are more likely to be overweight or obese, compared to wealthier counterparts. Source: AAP
“ข้อมูลสถิติของออสเตรเลียกล่าวว่า แต่เมื่อเรามองไปยังเด็กๆ ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลีย ตัวเลขนั้นจะอยู่ที่หนึ่งในสี่” ผู้ประพันธ์งานวิจัย นางเตห์ซีบ ซัลฟิการ์ กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

เมื่อพวกเขาเดินทางมาถึงประเทศออสเตรเลีย ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรุ่นแรกจากประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางนั้น มักจะมีอัตราของโรคอ้วนที่ต่ำและมีสุขภาพที่ดีกว่าผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศที่ร่ำรวย แต่งานวิจับพบว่าความเป็นต่อดังกล่าวนี้จะกลับตาลปัตรได้เพียงภายในหนึ่งรุ่น

ทั้งยังมีการแสดงให้เห็นว่า ลูกๆ ของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานนั้นรับประทานผักและผลไม้มากกว่าเด็กๆ ชาวออสเตรเลีย

ส่วนการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากและอาหารที่มีไขมันสูงพบได้อย่างมีนัยสำคัญในทั่วทุกกลุ่ม – ทว่าสูงที่สุดในหมู่ลูกๆ ของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน
File photo dated 09/07/14 of a pile of cheeseburgers and french fries.
Chips and burgers among the list of ultra-processed foods. Source: Dominic Lipinski/PA Wire
แต่นางซัลฟิการ์ก็กล่าวว่า มันไม่ใช่อาหารที่ทำให้เด็กๆ นั้นมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน

“ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างสองกลุ่มนี้ก็คือ เด็กผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศซึ่งมีรายได้ต่ำหรือปานกลางนั้นจะไม่มีกิจกรรมทางร่างกายที่มากเท่า” เธอกล่าว

“พวกเขาร่วมเล่นกีฬาเป็นทีมในระดับที่ต่ำ และพวกเขาก็ชอบกิจกรรมที่อยู่เฉยๆ มากกว่า ดังนั้นก็มีโอกาสมากกว่าที่พวกเขานั้นจะนั่งดูโทรทัศน์หรือเล่นวิดิโอเกมส์”
Getting kids involved in sport or physical activity is key, regardless of where they come from.
Getting kids involved in sport or physical activity is key, regardless of where they come from. Source: AP
เธอยังแนะว่า อัตราการมีส่วนร่วมเล่นกีฬาเป็นทีมที่ต่ำนั้น น่าจะมาจากหลายๆ ปัจจัยรวมทั้งค่าใช้จ่าย ความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นต่อความปลอดภัยของเด็ก และความหวาดกลัวต่อการเหยียดเชื้อชาติและการข่มเหงรังแก

ความวิตกกังวลอีกประการหนึ่งซึ่งนางซัลฟิการ์ชี้ให้เห็นก็คือ การขาดแคลนข้อมูลด้านสาธารณสุขที่เข้าถึงได้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละวัฒนธรรม สำหรับครอบครัวจากประเทศที่การมีน้ำหนักเกินนั้นถูกมองว่าเป็นบวก

“พวกเขามาจากที่ต่างๆ ซึ่งเด็กๆ นั้นขาดอาหาร และก็มีวิถีปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่พวกเขาจะให้อาหารกับเด็กๆ มากขึ้นเพราะพวกเขาคิดว่าเด็กๆ จะสูงขึ้นหรือไม่ก็อาจจะมีสุขภาพที่ดีขึ้น” นางซัลฟิการ์กล่าว

“ดูเหมือนจะมีช่องว่างที่กว้างขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างสิ่งที่ทราบกันดีพอสมควรในชุมชนชาวออสเตรเลีย และสิ่งที่ประชาชนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานนั้นทราบ”

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 20 December 2018 10:07am
Updated 21 December 2018 9:23am
By Maani Truu
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP, AP


Share this with family and friends