ผุดไอเดียงดประทัดตรุษจีนช่วงวิกฤติไฟป่า

NEWS: ชุมชนชาวออสเตรเลียเชื้อสายจีน เรียกร้องให้งดการจุดประทัด และใช้เสียงประทัดจากโทรศัพท์มือถือแทน เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่า

Spectators (at back) block their ears to

Spectators block their ears due to firecrackers as members of the Yau Kung Mun martial arts group perform a lion dance in Sydney's Chinatown. Source: AFP

เสียงของประทัดสีแดงที่ดังไปทั่วทั้งถนนเป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนมายาวนาน แต่ปีนี้ ผู้นำด้านธุรกิจของชุมชนออสเตรเลียเชื้อสายจีน กำลังเรียกร้องให้งดการจุดประทัด เพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจแก่ชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติไฟป่าที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของออสเตรเลีย

สำหรับสิ่งที่จะใช้แทนการจุดประทัดนั้น สภาหอการค้าย่านชุมชนจีนแห่งชาติ (National Chinese Precinct Chamber of Commerce) จะผลิตวิดีโอเสียงประทัดให้ประชาชนได้ดาวน์โหลด หรือเล่นผ่านโทรศัพท์มือถือของตน ในระหว่างการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนในวันที่ 25 มกราคมนี้

การเรียกร้องดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากอภิปรายกันอย่างเผ็ดร้อน ว่าการจุดพลุต้อนรับปีใหม่ของนครซิดนีย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่โด่งดังไปทั่วโลกนั้น สมควรเกิดขึ้นหรือไม่ขณะที่ประเทศกลังเผชิญวิกฤติไฟป่า โดยหลายคนเชื่อว่าการตัดสินใจจัดงานจุดพลุปีใหม่ในซิดนีย์ต่อไปนั้น ไม่การกระทำที่ไม่เห็นอกเห็นใจประชาชนที่กำลังเดือดร้อนจากไฟป่า
An image urging people to donated to the Rural Fire Service instead of using firecrackers produced by the Chinese Precinct Chamber of Commerce.
An image urging people to donated to the Rural Fire Service instead of using firecrackers produced by the Chinese Precinct Chamber of Commerce. Source: Chinese Precinct Chamber of Commerce
คุณ เวย์น เส็ง ประธานสภาหอการค้าย่านชุมชนจีนแห่งชาติ เรียกร้องให้องค์กรต่างๆ ที่จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองตรุษจีน ให้นำเงินที่พวกเขาจัดไว้เพื่อการซื้อประทัดมาจุด ไปบริจาคให้แก่บริการดับไฟป่าต่างๆ และองค์กรการกุศลที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนแก่ชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่า

“มันค่อนข้างน่าเศร้าที่ไฟป่าในออสเตรเลียส่งผลให้เกิดความทุกข์ยากและความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินในชุมชนต่างๆ และผมก็มีความคิดเช่นเดียวกับการจุดพลุไฟฉลองปีใหม่ ที่มีผู้คนเรียกร้องให้งดจัด” คุณเส็ง กล่าว

“การจุดประทัดนั้นอันตรายกว่าการจุดพลุเสียอีก เราไม่ต้องการก่อให้เกิดความเสี่ยงจากไฟไหม้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าที่จะมีอากาศร้อนจัดเกิดขึ้นอีก”

ทั่วประเทศออสเตรเลีย มีประชาชนเชื้อสายจีน ซึ่งคาดว่าจะเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน ราว 1.2 ล้านคน โดยประชาชนเหล่านั้นจำนวนมากคาดว่าจะเข้าร่วมงานฉลองตรุษจีนที่จัดขึ้นในชุมชน คุณเส็ง กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว จะมีการจัดงบไว้ราว 300-800 ดอลลาร์สำหรับจัดซื้อประทัดสำหรับงานฉลองตรุษจีนแต่ละงาน

เขาเรียกร้องให้ชุมชนนำเงินสำหรับซื้อประทัดเหล่านั้น ไปบริจาคให้แก่บริการดับไฟป่าและองค์กรการกุศลแทนในปีนี้

คุณล็อกแมน เหลียง ผู้นำทีมเชิดสิงโตของเยาวชนจีน กล่าวว่า ประทัดเป็นส่วนสำคัญของประเพณีของฉลองตรุษจีน แต่เขาก็เข้าใจดีว่าเหตุใดจึงควรงดในปีนี้

“ประทัดสร้างความตื่นเต้นและให้ความมีพลังแก่การแสดง” คุณเหลียง กล่าว
Lokman Leung with a dragon dancing costume.
Lokman Leung with a dragon dancing costume. Source: Supplied
“แม้มันจะสนุก แต่หากมีการจำกัดหรือห้ามจุดในปีนี้ ผมก็พร้อมสนับสนุน สำหรับผมแล้ว ความปลอดภัยด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญกว่า”

ตามประเพณีจีนนั้น มีความเชื่อกันว่าการจุดประทัดจะช่วยขับไล่วิญญาณชั่วร้าย

แม้ว่าสนับสนุนการงดจุดประทัดในหลักการ แต่คุณเหลียงไม่เชื่อว่าเสียงจุดประทัดจากวิดีโอ ที่เล่นทางโทรศัพท์มือถือจะสร้างบรรยากาศได้เหมือนกันจุดประทัดจริงๆ

“ความแตกต่างระหว่างการได้ยินเสียงและได้เห็นการจุดประทัดจริงๆ เทียบกับการเปิดไฟล์เสียงการจุดประทัด มีความแตกต่างอย่างมาก มันเหมือนการฟังดนตรีที่บรรเลงสด เทียบกับการฟังดนตรีผ่านลำโพง” คุณเหลียง กล่าว

อย่างไรก็ ตามคุณเหลียง มั่นใจว่าวิดีโอการจุดประทัดจะได้รับความนิยมมากขึ้น

“ช่วยกันนำโทรศัพท์มือถือออกมาและเล่นวิดีโอการจุดประทัด คุณจะได้ไม่เสียบรรยากาศ และในขณะเดียวกัน ยังได้แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในระดับหนึ่ง กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่า” คุณเหลียง กล่าว

นอกจากนี้ ภาพที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมฉลองตรุษจีนของ สภาหอการค้าย่านชุมชนจีนแห่งชาติ (National Chinese Precinct Chamber of Commerce) ซึ่งจะมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์เกี่ยวกับกิจกรรมฉลองตรุษจีนทั่วประเทศออสเตรเลียนั้น ภาพของประทัดจะถูกแทนที่ด้วยภาพพืชผักผลไม้อันอุดมสมบูรณ์ เช่น ภาพพริก ข้าวโพด แอปเปิล เชอร์รี เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นตัวและความอุดมสมบูรณ์

“ภาพเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์ของการเก็บเกี่ยวพืชผลและการฟื้นตัว และที่จริงแล้วนั่นเป็นสิ่งที่เราต้องการประชาสัมพันธ์”

วันที่ฉลองตรุษจีนนั้นแต่ต่างกันไปในแต่ละปี โดยอาจเป็นวันใดวันหนึ่งปลายเดือนมกราคมไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยดูจากวันขึ้นลงของพระจันทร์เป็นหลัก วันปีใหม่จีนจะเป็นวันที่ 1 เดือนหนึ่งของทุกปี ซึ่งนับตามปฏิทินจันทรคติ สำหรับในปีนี้ วันตรุษจีน ตรงกับวันที่ 25 มกราคม

เทศกาลตรุษจีน หรือปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ เป็นประเพณีที่มีการเฉลิมฉลองในหมู่ ผู้ที่มาจากประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 20 January 2020 1:27pm
Updated 20 January 2020 1:38pm
By Maani Truu
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends