สยบข่าวลือไวรัสโคโรนา

เมื่อองค์การอนามัยโลก ยกระดับความเสี่ยงของเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกขึ้นให้อยู่ในขั้น “สูงมาก” ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกระบุว่าความท้าทายเรื่องใหญ่ที่สุดที่องค์กรต้องเอาชนะให้ได้คือ ความหวาดกลัวและข้อมูลที่ผิดๆ

Misinformation surrounding the coronavirus, also known as Covid-19, has spread rapidly online.

Misinformation surrounding the coronavirus, also known as Covid-19, has spread rapidly online. Source: Getty Images

เพียง 2 เดือนกว่าๆ หลังจากองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศเตือนครั้งแรกเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าเชื้อโควิด-19 จนถึงขณะนี้ มีการพบผู้ติดเชื้อใน 79 ประเทศ โดยมีรายงานผู้ติดเชื้อว่า 95,000 ราย และผู้เสียชีวิตจากเชื้อนี้ 3,280 ราย

แต่สิ่งที่น่าวิตกพอๆ กันสำหรับเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกคือการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดๆ ซึ่งก่อให้เกิดความหวาดกลัวและส่งผลให้เกิดเหตุการณ์การคว้านซื้ออย่างตื่นตระหนกในออสเตรเลีย

เมื่อองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศยกระดับความเสี่ยงของเชื้อไวรัสชนิดนี้ให้อยู่ในขั้นสูงสุด นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก เตือนให้ระวังความตื่นตระหนกจนเกินความจำเป็น และข้อมูลที่ผิดๆ

“ศัตรูที่ใหญ่ที่สุดของเราขณะนี้ไม่ใช่เชื้อไวรัสเอง แต่เป็นความหวาดกลัว ข่าวลือ และตราบาป และสินทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราคือข้อเท็จจริง เหตุผล และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา

แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ อย่างเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ กล่าวว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทจะช่วยเหลือในส่วนที่บริษัททำได้ ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของ “ข้อกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริงและทฤษฎีการสมคบคิด”

แต่ข้อกล่าวอ้างบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้มีอะไรบ้าง?

มายาคติ: ไวรัสโคโรนาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

ทฤษฎีสุดขั้วที่โผล่ขึ้นมาคือ ไวรัสโคโรนาถือกำเนิดขึ้นมาจากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ในประเทศจีน และเชื่อมโยงกับการวิจัยอาวุธทางชีววิทยา ข้อกล่าวอ้างที่ไม่ใช่เรื่องจริงนี้ปรากฎอยู่ในสิ่งพิมพ์อย่างน้อย 2 ฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ เดลิ เมล์ (Daily Mail) และ วอชิงตัน ไทมส์ (Washington Times) และยังได้รับการเผยแพร่ต่อโดยวุฒิสมาชิกสหรัฐ คือนายทอม คอตตอน เมื่อเขาเสนอทฤษฎีว่าเชื้อไวรัสโคโรนามีต้นกำเนิดจากห้องทดลองทางชีววิทยาที่มีการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาดของเชื้อนี้

“เราไม่รู้ว่ามันมีต้นกำเนิดจากไหน และเราต้องค้นหาความจริงให้ได้” เขาบอกกับ ฟ๊อกซ์ นิวส์ “เรายังรู้ด้วยว่าเพียงไม่กี่ไมล์จากตลาดอาหารที่ว่า คือห้องแล็บทางชีววิทยาที่มีการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงระดับ 4 เพียงแห่งเดียวของจีน ที่ทำการวิจัยโรคระบาดของมนุษย์”
Republican senator Tom Cotton
Republican senator Tom Cotton Source: Getty Images North America
แต่ต่อมานายคอตตอน อธิบายถึงจุดยืนในเรื่องนี้ของตน แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างพากันโต้แย้งว่าทฤษฎีเกี่ยวกับอาวุธชีวภาพนี้ไม่ใช่เรื่องจริง

ขณะที่ยังมีหลายอย่างที่ไม่มีใครรู้แน่ชัดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสโคโรนานี้ แต่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า เชื้อโควิด-19 ตัวปัจจุบันเชื่อมโยงกับตลาดค้าสัตว์เป็นๆ ในมณฑลหูเป่ย ซึ่งชี้ว่าในระยะแรกเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน กรณีที่เกิดขึ้นภายหลังจากนั้นเป็นการติดเชื้อจากคนสู่คน

มายาคติ: หลายอย่างรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้

ขณะที่ มีการแชร์ทฤษฎีตามโซเชียลมีเดีย ที่ว่ายาสามัญประจำบ้านหลายอย่างอาจรักษาผู้ป่วยให้หายการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ แต่ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่ามียาตัวใดที่สามารถป้องกัน หรือรักษาเชื้อโควิด-19 ได้ องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า กำลังมีการตรวจสอบข้อมูลของการรักษาด้วยตัวยาบางอย่างอยู่ และจะมีการทดสอบต่อไปผ่านการทดลองกับคนไข้ แต่องค์กรแนะนำว่า แม้กระเทียมจะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ไม่สามารถช่วยป้องกันประชาชนจากเชื้อไวรัสโคโรนาได้
Information graphic from the WHO
Information graphic by the WHO Source: World Health Organisation
เช่นเดียวกันกับวัคซีนที่มีอยู่ขณะนี้ จะไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ เนื่องจากเชื้อนี้เป็นไวรัสที่ใหม่มากและแตกต่างจากไวรัสตัวอื่น จึงจำเป็นต้องมีวัคซีนตัวใหม่

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชาชนยึดมั่นในมาตรการป้องกันที่สมเหตุสมผล เช่นการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น และการปฏิบัติตามหลักที่ถูกสุขอนามัยเกี่ยวกับการไอและจาม

คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกเรื่องการใช้หน้ากากอนามัย

เจ้าหน้าที่องค์การด้านสุขภาพหลากหลายแห่งได้ออกคำแนะนำที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้ากากอนามัย โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centre for Disease Control and Protection) ในสหรัฐแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสวมหน้ากากอนามัย ขณะที่รัฐบาลของประเทศในเอเชีย เช่น มาเลเซีย ประเทศไทย และเวียดนาม ขอให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยให้เป็นนิสัย

ในออสเตรเลียนั้น เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพแนะนำว่า “คุณไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยหากคุณไม่ได้ป่วย” โดยเป็นคำแนะนำที่ให้ข้อมูลตาม
จากปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยที่กำลังเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพโลก ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่งในการใช้หน้ากากอนามัยทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันโดยไม่จำเป็น

“ให้สวมหน้ากากอนามัย ก็ต่อเมื่อคุณป่วยมีอาการของเชื้อไวรัสโควิด-19 (โดยเฉพาะมีอาการไอ) หรือต้องดูแลบุคคลอื่นที่มีเชื้อไวรัสโควิด-19... หากคุณไม่ได้ป่วย หรือไม่ได้ดูแลบุคคลที่ป่วย คุณก็กำลังใช้หน้ากากอนามัยไปอย่างไร้ประโยชน์ ขณะนี้ มีปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยไปทั่วโลก ดังนั้น องค์การอนามัยโลกจึงขอร้องให้ประชาชนใช้หน้ากากอนามัยอย่างชาญฉลาด”


ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 10 March 2020 10:51am
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends