มีผู้เสียชีวิตเบื้องต้น 207 รายจากเหตุระเบิดวันอีสเตอร์ที่ศรีลังกา

NEWS: ศรีลังกาโศกสลดหลังเหตุระเบิดต่ออย่างเนื่องทำลายโบสถ์และโรงเรมทั่วประเทศคร่าชีวิตกว่า 200 ราย บาดเจ็บอย่างน้อย 450 ราย

UPDATE: รัฐมนตรีอาวุโสนายไซมอน เบอร์มิงแฮม กล่าวว่า อย่างไรก็ตามไม่มีชาวออสเตรเลียเสียชีวิต จากจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 200 ราย

You can read the full version of this news update in English on SBS News .

"เราไม่ทราบว่ามีชาวออสเตรเลียเสียชีวิต ผมเข้าใจว่าอาจมีชาวออสเตรเลียบาดเจ็บหนึ่งราย แต่ผมก็ยังรอคอยรายละเอียดของเรื่องดังกล่าวอยู่" เขากล่าวกับสถานีวิทยุเอบีซีเรดิโอแนชันนอล (ABC Radio National) ในวันนี้ (22 เม.ย.)

กระทรวงการต่างประเทศและพาณิชย์ (Department of Foreign Affairs and Trade) กล่าวผ่านแถลงการณ์ว่าได้มอบความช่วยเหลือทางกงสุลต่อชาวออสเตรเลียคนหนึ่งซึ่งบาดเจ็บจากการจู่โจม แต่ไม่ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

DFAT แนะนำว่าหากใครก็ตามมีความวิตกกังวลต่อสวัสดิภาพของครอบครัวและเพื่อนฝูง ให้ติดต่อศูนย์ฉุกเฉินด้านกงสุล (Consular Emergency Centre) ที่หมายเลข 1300 555 135 หรือ +61 2 6261 3305

You can read the full version of this story in English on SBS News .

เหตุระเบิดอย่างต่อเนื่องแปดครั้งทำลายโรงแรมหรูและโบสถ์ซึ่งกำลังทำพิธีวันอีสเตอร์ที่ประเทศศรีลังกาเมื่อวันอาทิตย์ (21 เม.ย.) ได้สังหารผู้คนแล้วอย่างน้อย 207 ราย รวมถึงชาวต่างประเทศหลายสิบคน

การจู่โจมซึ่งปรากฏชัดว่ามีการประสานงานกันที่ประเทศดังกล่าวนั้น มียอดผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในทศวรรษนับตั้งแต่เมื่อสิ้นสุดการนองเลือดในสงครามกลางเมืองซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 100,000 ราย และเป็นการฟื้นความทรงจำอันเจ็บปวดของชาวศรีลังกาจำนวนมาก

เกิดอะไรขึ้น?

ไม่มีการอ้างความรับผิดชอบในทันที แต่รัฐบาลกล่าวว่ามีผู้ถูกจำกุมตัวแล้วจำนวนแปดราย และเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนก็จะพิจารณาว่าผู้ก่อการจู่โจมมี “ความเชื่อมโยงกับต่างชาติ” หรือไม่

รัฐบาลได้ประกาศห้ามออกจากอาคารโดยไม่จำเป็น (เคอร์ฟิว)ทั่วประเทศ และระงับการเข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อป้องกัน “ข้อมูลผิดๆ” ไม่ให้แพร่กระจายไปในหมู่ประชาชนจำนวน 21 ล้านคน

ระเบิดพลังทำลายล้างสูงปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่องหกลูกติดต่อกัน และอีกสองลูกตามมาภายหลัง และทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายร้อยราย

ระเบิดอย่างน้อยสองลูกคาดว่าเป็นการพลีชีพ รวมถึงกรณีหนึ่งซึ่ง(ผู้จู่โจม)ยืนต่อแถวเพื่อรับประทานอาหารเช้าบุฟเฟต์ที่โรงแรมแห่งหนึ่งก่อนที่จะก่อวินาศกรรม

จนถึงเมื่อคืนวันอาทิตย์ ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 207 รายและบาดเจ็บ 450 ราย

ตำรวจกล่าวว่ามีชาวต่างชาติจำนวน 35 รายในจำนวนผู้เสียชีวิตรวมถึงพลเมืองชาวอเมริกัน อังกฤษ จีน เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส

ทางกรุงนิวเดลีกล่าวว่ามีชาวอินเดียถูกสังหารจำนวนสามราย ในขณะที่กรุงวอชิงตันและกรุงลอนดอนยืนยันโดยไม่ระบุจำนวน ว่ามีพลเมืองของประเทศตนอยู่ในหมู่ผู้เสียชิวิตเช่นกัน
Relatives of a blast victim grieve outside a morgue in Colombo, Sri Lanka, Sunday, April 21, 2019.
Relatives of a blast victim grieve outside a morgue in Colombo, Sri Lanka, Sunday, April 21, 2019. Source: AAP


โบสต์คาทอลิกในกรุมโคลัมโบ เซนต์แอนโทนีไชรน์ เป็นหนึ่งในโบสถ์ซึ่งตกเป็นเป้า โดยระเบิดได้ทำให้หลังคาถูกทำลายจนเกือบหมด

มีร่างของผู้เสียชีวิตเรียงรายอยู่บริเวณพื้นของโบสถ์ โดยมีผ้าพันคอลายและผ้าขาวปกคลุม ซึ่งบางผืนนั้นมีรอยเปื้อนเลือด

เศษกระเบื้องหลังคาและเศษแก้วก็แตกกระจัดกระจายอยู่บนพื้น โดยมีชิ้นส่วนของปูนปลาสเตอร์จากผนังที่ถูกระเบิดออกตกอยู่ด้านข้างด้วย
Police cordon off the area after a explosion hit at St Anthony's Church in Kochchikade in Colombo, Sri Lanka, 21 April 2019.
Police cordon off the area after a explosion hit at St Anthony's Church in Kochchikade in Colombo, Sri Lanka, 21 April 2019. Source: AAP
มีเอกสารซึ่งทางตำรวจสหพันธรัฐของออสเตรเลีย (AFP) ได้เห็น ซึ่งแสดงว่าหัวหน้าตำรวจนายปูยุทธ์ ชัยสุนทรา ได้ออกคำเตือนด้านข่าวกรองให้กับเหล่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดเมื่อ 10 วันที่แล้ว โดยเตือนว่าผู้ก่อเหตุระเบิดพลีชีพได้วางแผนที่จะจู่โจม “โบสถ์แห่งสำคัญต่างๆ”

คำเตือนกล่าวว่า “หน่วยงานข่าวกรองในต่างประเทศแห่งหนึ่งรายงานว่า เอ็นทีเจ (National Thowheeth Jama'ath) กำลังวางแผนที่จะจู่โจมพลีชีพโดยมีเป้าหมายเป็นโบสถ์แห่งสำคัญๆ เช่นเดียวกันกับที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ของอินเดียในกรุงโคลัมโบ”

เอ็นทีเจนั้นเป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในศรีลังกาซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็ถูกเชื่อมโยงกับการทำลายรูปปั้นต่างๆ ของศาสนาพุทธ

นายกรัฐมนตรีรานิล วิกรมสิงเห ยอมรับว่ามี “ข้อมูลอยู่แล้ว” เกี่ยวกับการจู่โจมที่อาจเกิดขึ้นได้ และการสืบสวนสอบสวนก็จะพิจารณาถึงว่า “เพราะเหตุใดจึงไม่มีการระแวดระวังอย่างเพียงพอ”
หากอ้างอิงจากสำนักข่าวซินหัว สถานทูตในศรีลังกาได้กล่าวว่ามีชาวจีนจำนวนสองรายได้รับบาดเจ็บ

ใครเป็นผู้ลงมือ?

ยังไม่มีการอ้างความรับผิดชอบในทันที และนายกรัฐมนตรีรานิล วิกรมสิงเห ปฏิเสธที่จะระบุว่าใครเป็นผู้ต้องสงสัย

ตำรวจกล่าวว่ามีผู้ถูกจับกุมตัวแล้วอย่างน้อยแปดรายซึ่งเชื่อมโยงกับการจู่โจมดังกล่าว และเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนก็จะพิจารณาว่าผู้จู่โจมนั่นมี “ความเชื่อมโยงกับต่างชาติ” หรือไม่
This image made from video provided by Hiru TV shows damage inside a church after a blast in Colombo, Sunday, April 21, 2019.
This image made from video provided by Hiru TV shows damage inside a church after a blast in Colombo, Sunday, April 21, 2019. Source: AAP
ประเทศซึ่งเป็นเกาะแห่งดังกล่าวประสบกับการจู่โจมโดยนักรบมาเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักรบเชื้อชาติทมิฬ ในระหว่างสงความกลางเมืองซึ่งกินเวลาหลายสิบปีและสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2009 เมื่อกองกำลังของศรีลังกาสามารถเอาชนะการก่อการกบฎได้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการปะทะกันระหว่างชุมชนชาวสิงหลซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ กับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม และในเดือนมีนาคมปีที่แล้วรัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 12 วันเพื่อปราบรามการประท้วงต่อต้านชาวมุสลิม
ที่ผ่านมากลุ่มของคริสตศาสนิกชนก็ได้เคยร้องเรียนเกี่ยวกับการระรานจากกลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรงอีกด้วย

และหากอ้างอิงจากเอกสารซึ่งทางเอเอฟพีได้เห็น หัวหน้าตำรวจของประเทศก็ได้แจ้งเตือนต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดเมื่อ 10 วันที่แล้ว ว่าอาจเกิดการจู่โจมด้วยระเบิดพลีชีพที่โบสต์ต่างๆ และที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ของประเทศอินเดีย โดยเอ็นทีเจ (National Thowheeth Jama'ath) ซึ่งเป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในศรีลังกา โดยเขาได้อ้างอิงจากรายงานของ “หน่วยงานข่าวกรองของต่างประเทศ” ตามในเอกสาร

ศรีลังกามีปฏิกริยาอย่างไร?

นายวิกรมสิงเห ได้เน้นให้ผู้คน “ยึดความเป็นหนึ่งเดียวกัน ในฐานะชาวศรีลังกา” และสัญญาที่จะ “กำหราบภยันตรายนี้ให้หมดสิ้นลงให้ได้ในครั้งนี้”
พระอัครมุขนายก (Archbishop) มัลคอล์ม รานจิต แห่งกรุงโคลัมโบอธิบายถึงผู้จู่โจมว่าเป็น “สัตว์เดรัจฉาน” และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ “ลงโทษพวกเขาโดยปราศจากความปราณี”

รัฐบาลได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัย และประกาศเคอร์ฟิวโดยไม่มีกำหนดทั่วประเทศ โดยยังได้ทำการระงับใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ของสื่อสังคมออนไลน์ “เป็นการชั่วคราว” “เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดๆ และไม่ถูกต้อง”
Blood stains are seen on the wall and on a Jesus Christ statue at the St Sebastian's Church after blast in Negombo, north of Colombo, Sri Lanka.
Blood stains are seen on the wall and on a Jesus Christ statue at the St Sebastian's Church after blast in Negombo, north of Colombo, Sri Lanka. Source: AP
ได้มีการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยที่สนามบินโคลัมโบ หากอ้างอิงจากสายการบินต่างๆ ของศรีลังกา ซึ่งแนะนำให้ผู้โดยสารนั้นเดินทางมาถึงเป็นเวลาสี่ชั่วโมงก่อนเที่ยวบิน

สถานทูตต่างๆ ในศรีลังกาก็เตือนให้พลเมืองจากประเทศของตนทำให้การหลบภัยอยู่ภายในสถานที่

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 22 April 2019 9:37am
Updated 22 April 2019 12:18pm
By AFP-SBS
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends