แฟชั่นแบบ ‘มาไว ไปไว’ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แต่ทำไมชาวออสเตรเลียจึงไม่หยุดซื้อ

นักวิจัยและกระบอกเสียงด้านสิ่งแวดล้อมต่างกล่าวว่า รัฐบาลและอุตสาหกรรมแฟชั่นมีข้อผูกพันที่จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับฟาสต์ แฟชั่น (fast fashion) หรือ แฟชั่นแบบ‘มาไว ไปไว’ และผลกระทบของแฟชั่นประเภทนี้ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

A person shopping on a laptop with several shopping packages around them and an Australian flag in the background.

New research has found general shoppers lack awareness and understanding around fast fashion. Source: SBS

การศึกษาวิจัยใหม่โครงการหนึ่งพบว่า ผู้บริโภคขาดความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับฟาสต์ แฟชั่น (fast fashion) หรือ แฟชั่นแบบ‘มาไว ไปไว’ และยัง "ไม่ชอบหรือไม่สามารถเปลี่ยนนิสัยการซื้อของพวกเขาได้"

การศึกษาวิจัยโครงการนี้ ที่นำโดยคุณเอริน สกินเนอร์ นักศึกษาปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ได้สำรวจทัศนคติและความเข้าใจของชาวออสเตรเลียเกี่ยวกับทั้งฟาสต์ แฟชั่น (fast fashion หรือ แฟชั่นที่ ‘มาไว ไปไว’) และแฟชั่นที่ยั่งยืน นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่าชาวออสเตรเลียสนับสนุนให้มีทางเลือกแฟชั่นที่ยั่งยืนมากขึ้น

ฟาสต์ แฟชั่น (fast fashion) หมายถึง เสื้อผ้าที่ผลิตขึ้นอย่างรวดเร็วในปริมาณมากและขายให้กับผู้บริโภคในราคาที่ต่ำ แม้ว่าแบรนด์เหล่านี้จะได้รับความนิยมในหมู่นักชอปเนื่องจากราคาที่ย่อมเยาและมีตัวเลือกที่หลากหลาย แต่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าประเภทนี้กำลังเผชิญกับการถูกตรวจสอบและการถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

“ผู้เข้าร่วมการสำรวจในการวิจัยครั้งแรกของฉันจำนวนมากไม่เคยได้ยินคำว่า 'ฟาสต์ แฟชั่น' และไม่สามารถอธิบายความหมายได้” คุณ สกินเนอร์ กล่าว

อุตสาหกรรมแฟชั่นมีส่วนในการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันมหาศาล ผลกระทบนั้นยิ่งใหญ่กว่าที่ผู้คนคิดมาก
คุณเอริน สกินเนอร์ ผู้ทำการวิจัย

"ที่สุดแล้ว เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของผู้บริโภค ... ด้วยการชี้แจงสิ่งที่ชาวออสเตรเลียทั่วไปรู้หรือคิดเกี่ยวกับแฟชั่นที่ยั่งยืน เราจึงจะสามารถออกแบบแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมและเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อสนับสนุน ‘สโลว์ แฟชั่น’ (slow fashion หรือแฟชั่นที่ใช้ได้นาน) ได้ดียิ่งขึ้น"

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค การวิจัยพบว่าเหตุผลหลักที่นักชอปเลือกฟาสต์ แฟชั่น หรือแฟชั่นที่มาไว ไปไว คือราคา โดยแบรนด์ที่ยั่งยืนจำนวนมากมีราคาแพงกว่าแบรนด์ที่ผลิตสินค้าอย่างรวดเร็วครั้งละมากๆ

"อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุด (ที่เรา) พบคือปัญหาด้านต้นทุน ... ฉันคิดว่าเมื่อผู้บริโภคได้ยินคำว่า 'แฟชั่นที่ยั่งยืน' ความคิดของพวกเขาก็จะพุ่งไปที่แบรนด์สินค้าหรูหราที่ราคาแพงในทันที" คุณ สกินเนอร์กล่าว พร้อมเสริมว่า ขณะที่ค่าครองชีพในออสเตรเลียสูงขึ้น ผู้คนไม่มีเงินเหลือมากนักที่จะใช้ซื้อแฟชั่นทางเลือกอื่น
A man walks past a shop window containing several mannequins dressed in cheap fashionable clothes.
Advocates say legislation is needed to improve environmental practices in the fashion industry. Source: AAP
คุณแคเทอรีน เจีย ผู้สนับสนุน ‘สโลว์ แฟชั่น’ (slow fashion หรือแฟชั่นที่ใช้ได้นาน) และเป็นนักสร้างคอนเทนต์ (Content Creator) กล่าวว่า นักชอปที่ตามกระแสฟาสต์ แฟชั่น จำนวนมากรู้สึกกดดันให้ต้องตามให้ทันกับที่แบรนด์ต่างๆ โฆษณาในโซเชียลมีเดีย

“คนจำนวนมากไม่ใช่ผู้บริโภคที่มีจิตสำนึก” คุณแคเทอรีน เจีย กล่าว
ฟาสต์ แฟชั่น มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่หรูหราและได้รับความพึงพอใจในทันที มีความกดดันมากมายจากสื่อ จากอินฟลูเอนเซอร์ (ผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดีย) จากแบรนด์ที่ปั่นเทรนด์อย่างต่อเนื่องและทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องแต่งกายในสไตล์เช่นนั้น
คุณแคเทอรีน เจีย
เมื่อพูดถึงความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คุณเจียกล่าวว่าในขณะที่บางคนไม่ตระหนักถึงปัญหาเรื่องนี้ แต่คนอื่นๆ ก็เลือกที่จะเพิกเฉยต่อปัญหาดังกล่าว

"ฉันคิดว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราในฐานะผู้บริโภคเท่านั้น ... ฉันคิดว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายที่เข้มงวดกว่านี้เพื่อให้แบรนด์ต้องแสดงความรับผิดชอบ" คุณเจีย กล่าว
จริงๆ แล้ว ฉันไม่อยากโทษผู้บริโภคเท่านั้นในเรื่องนี้ ฉันยังต้องการตำหนิแบรนด์และรัฐบาลด้วย
คุณแคเทอรีน เจีย
"ฉันคิดว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงร่วมกันที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม"

คุณนีนา กบอร์ นักให้การศึกษาด้านแฟชั่นที่ยั่งยืนและนักออกแบบเชิงนิเวศน์ ก็เห็นด้วยกับการออกกฎหมายสำหรับแนวปฏิบัติด้านแฟชั่น และบอกกับเอสบีเอส นิวส์ ว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติด้านการซื้อของผู้คนในออสเตรเลีย

“ความจริงก็คือว่ามันยากกว่ามาก (สำหรับแบรนด์แฟชั่นแนวยั่งยืน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาไม่มีเงินทุนเท่ากับบริษัทแบรนด์ใหญ่ๆ เหล่านี้” คุณนีนา กบอร์ กล่าว
เราผู้บริโภคจำเป็นต้องสนับสนุนแบรนด์เหล่านี้ (แบรนด์แฟชั่นแนวยั่งยืน) และผลักดันให้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับความยั่งยืน ... นั่นคือส่วนที่ขาดหายไปของปริศนา
คุณนีนา กบอร์
"เราจำเป็นต้องผลักดันกฎหมายและนโยบายที่ทำให้แบรนด์ต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยมลพิษหรือสารเคมีที่เป็นพิษ หรือสิ่งอื่นใดที่พวกเขาทำซึ่งสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และต้องมีข้อบังคับอย่างแท้จริงให้มีความโปร่งใส"

อุตสาหกรรมฟาสต์ แฟชั่น มีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากการใช้น้ำและมลพิษที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้า รวมถึงการที่สิ่งทอสังเคราะห์จำนวนมากไปลงเอยที่หลุมฝังกลบขยะ

เปิดเผยว่า ออสเตรเลียมีอัตราการบริโภคสิ่งทอต่อคนสูงสุดเป็นอันดับสองของโลก โดยเฉลี่ยแล้วชาวออสเตรเลียซื้อเสื้อผ้าใหม่โดยเฉลี่ย 27 กก. ต่อปี และทิ้งเสื้อผ้า 23 กก. ลงในหลุมฝังกลบขยะในแต่ละปีโดยเฉลี่ย
———————————————————————————————————————————————
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 16 August 2022 12:31pm
Updated 16 August 2022 12:37pm
By Jessica Bahr
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends