เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเดินเคาะประตูบ้านเพื่อให้คำแนะนำที่จะช่วยชีวิตผู้คนในฤดูหนาว

หลังเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านที่มีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นซ้ำๆ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงของออสเตรเลียขอร้องให้ชุมชนท้องถิ่นพยายามทำให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มีการเสียชีวิตจากไฟไหม้บ้านเกิดขึ้นอีกในฤดูหนาวปีนี้

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงในย่านเรดเฟิร์นไปเคาะประตูบ้านเพื่อให้ความรู้และตรวจสอบความปลอดภัยจากอัคคีภัยให้ประชาชนในฤดูหนาว

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงในย่านเรดเฟิร์นไปเคาะประตูบ้านเพื่อให้ความรู้และตรวจสอบความปลอดภัยจากอัคคีภัยให้ประชาชนในฤดูหนาว Source: Supplied / NSW Fire and Rescue

ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังเดินเคาะประตูบ้านไปตามถนนลาเคมบา (Lakemba Street) โดยเสนอให้เครื่องตรวจจับควันไฟที่ส่งสัญญาณเตือนก่อนเหตุไฟไหม้ (smoke alarms) และตรวจสอบความปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้ให้ฟรีแก่ทุกคนที่ต้องการ

พวกเขามีเหตุผลที่ต้องทำเช่นนี้

เนื่องจากจนถึงขณะนี้ในฤดูหนาวปีนี้ มีผู้เสียชีวิต 13 รายจากเหตุไฟไหม้บ้านในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากฤดูหนาวปีที่แล้ว
the team at Lakemba Fire Station are in-home safety checks.
เจ้าหน้าดับเพลิงในพื้นที่ซิดนีย์ตะวันตกไปให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย Source: Supplied / Fire and Rescue NSW
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้รับแจ้งให้ไปช่วยดับเพลิงในอีกหลายร้อยเหตุการณ์ตลอดทั้งฤดูหนาวนี้ รวมถึงเหตุการณ์หนึ่งที่ได้เดินขึ้นบนถนนลาเคมบาสายเดียวกันนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

“เด็กวัยหัดเดินผู้หนึ่งนำ มันเป็นเด็กวัยหัดเดินที่วางบีนแบ็ก (beanbag หรือ เก้าอี้เม็ดโฟม) บนฮีตเตอร์ (heater เครื่องทำความอบอุ่นในบ้าน) เราแนะนำให้ทุกคนวางทุกอย่างให้ห่างจากฮีตเตอร์หนึ่งเมตร” คุณ เบรนแดน ฟอร์ด เจ้าหน้าที่ดับเพลิงประจำสถานีดับเพลิงลาเคมบา กล่าว

“โชคร้ายที่ในเหตุการณ์นี้ บีนแบ็กลุกไหม้ แต่โชคดีที่พ่อแม่อยู่ที่นั่น และพวกเขามีเครื่องตรวจจับควันที่ไฟใช้งานได้ในบ้าน”

บ้านในรัฐนิวเซาท์เวลส์เกือบทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟไหม้ในฤดูหนาวนี้ไม่มีเครื่องตรวจจับควันที่ไฟใช้งานได้

ขณะที่ทีมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัยจากลาเคมบา เดินไปยังบ้านแต่ละหลังในพื้นที่ พวกเขาไม่แปลกใจเลยที่พบบ้านหลายหลังที่ไม่มีเครื่องตรวจจับควันไฟที่ส่งสัญญาณเตือนก่อนเหตุไฟไหม้ (smoke alarms) หรือไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้นอย่างเหมาะสม

“ฉันสังเกตเห็นว่ามีเครื่องตรวจจับควันไฟเพียงเครื่องเดียวในห้องครัว และไม่มีในโถงทางเดินหน้าห้องนอน” คุณเดมิ-ลี วอร์ราร์ด เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกล่าว หลังจากตรวจสอบบ้านหลังหนึ่ง

“โดยทั่วไป เราจะไม่มีเครื่องตรวจจับควันไฟ (smoke alarm) ในครัว เพราะถ้าทำอะไรไหม้มันจะส่งเสียงเตือนขึ้นมาเสมอ แต่เราต้องมีไว้ใกล้ห้องนอน เพราะเราไม่สามารถได้กลิ่นขณะที่นอนหลับ และสิ่งเดียวที่จะปลุกเราให้ตื่นก็คือเสียงสัญญาณเตือนที่ดังขึ้นมา”
เราต้องมี smoke alarm ไว้ใกล้ห้องนอน เพราะเราไม่สามารถได้กลิ่นขณะที่นอนหลับ และสิ่งเดียวที่จะปลุกเราให้ตื่นก็คือเสียงสัญญาณเตือนที่ดังขึ้นมา

Image

การให้ความรู้เพื่อช่วยรักษาชีวิตผู้คน

ทีมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเหล่านี้ไม่เพียงแต่มองหาเครื่องตรวจจับควันไฟที่ใช้งานได้

ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดในประเทศ โดยมีผู้คนมาจากกว่า 129 ประเทศซึ่งพูดต่างๆ ราว 200 ภาษา ซึ่งอาศัยอยู่ในลาเคมบาและย่านอื่นๆ รอบๆ ลาเคมบา

ขณะที่พวกเขาเดินไปแวะที่บ้านแต่ละหลัง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็พยายามให้ความรู้ผู้คนเกี่ยวกับอันตรายอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ซึ่งอาจคร่าชีวิตผู้คน ที่พวกเขาอาจไม่ตระหนักว่ามีอยู่ในบ้านของตน

“มีสิ่งที่อยู่ใกล้ฮีตเตอร์มากเกินไป การไม่ทำความสะอาดขุยผ้าหรือเศษผ้าจากเครื่องอบผ้า, นอนหลับไปขณะใช้ผ้าห่มไฟฟ้า, ใช้งานปลั๊กพ่วงเกินกำลังไฟฟ้าที่ปลั๊กจะรับได้, ผู้คนใช้อแดปเตอร์สองตัวบนปลั๊กพ่วง และหลายคนไม่รู้ว่าฮีตเตอร์นั้นควรเสียบปลั๊กบนเต้ารับที่อยู่บนผนังเสมอ เพราะมันใช้ไฟฟ้ามาก” คุณ เคท เฟธ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงอาวุโสกล่าว

“ควันไฟไม่ได้ทำให้คุณตื่นขึ้น แต่ทำให้คุณหลับไปเท่านั้น ไฟไหม้อาจใช้เวลาราว 3 นาทีจึงจะลุกไหม้ทั้งห้อง และนั่นอาจทำให้ผู้คนไม่สามารถรอดชีวิตได้ และการหายใจเอาควันพิษเข้าไปเพียงสองลมหายใจจะทำให้คุณหมดสติ”

“ดังนั้น การมีเครื่องตรวจจับควันไฟที่ใช้งานได้ และให้หมั่นตรวจสอบว่าใช้งานได้ทุกเดือนจึงสร้างแตกต่างอย่างมากกับผลลัพธ์ที่ออกมา หากคุณไม่มีการเตือนล่วงหน้า”

หลายเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตในฤดูหนาวนี้เกิดขึ้นตอนกลางคืน
Lakemba fire station crew safety visit in Sydney
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังตรวจสอบเครื่องตรวจจับควันไฟที่ส่งสัญญาณเตือนก่อนเหตุไฟไหม้ (smoke alarm) Source: Supplied / NSW Fire and Rescue
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ก่อน มีผู้คน 3 ราย รวมทั้งเด็กชายวัย 10 ขวบ เสียชีวิตจากเหตุไฟไหม้บ้านในย่านฮินชินบรูก (Hinchinbrook)

สัปดาห์ก่อน ชายวัย 60 ปีจากแบงค์สทาวน์ (Bankstown) เสียชีวิตในห้องนอนของเขา

“เราทราบดีว่าคนที่อายุมาก คนที่อายุน้อย คนที่มาจากพื้นที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่ต่ำกว่า และบางครั้งคนที่ไม่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ อาจเป็นอุปสรรคในการรับข้อมูลของเราเรื่องความปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้” คุณ เทรนต์ เคอร์ทิน รองกรรมาธิการด้านความปลอดภัยชุมชนของหน่วยดับเพลิงและให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินของรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าว

“มันไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมใดโดยเฉพาะ แต่โชคร้ายที่จากแรงกดดันต่อค่าใช้จ่ายของครอบครัว เราได้เห็นผู้คนนำเครื่องทำความอบอุ่นสำหรับนอกบ้านเข้ามาใช้ในบ้าน หรือผู้คนนำเตาบาร์บีคิวและอุปกรณ์ทำอาหารกลางแจ้งเข้ามาในบ้าน และโชคร้ายที่นั่นก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกับชุมชนของเรา”

นั่นนำไปสู่การเพิ่มขึ้นเช่นกันของเหตุการณ์คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้คน 6 คนจากบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่แมร์ริแลนส์ (Merrylands) ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลกลางดึกเพื่อรับการรักษา หลังจากนำเตาถ่านมาในบ้านเพื่อทำความอบอุ่น

“เมื่อผู้คนนึกถึงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงพวกเขาจะนึกถึงไฟป่า แต่เรารู้ว่ามีผู้คนเสียชีวิตจากไฟไหม้ในบ้านมากกว่าไฟไหม้ป่าหรือเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ” รองกรรมาธิการ เคอร์ทิน กล่าว
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงพูดคุยกับครอบครัวเรื่องการเตรียมแผนเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงพูดคุยกับครอบครัวเรื่องการเตรียมแผนเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ Source: Supplied / NSW Fire and Rescue

ปัญหาทั่วประเทศ

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต่างเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนไม่เพียงแต่ในพื้นที่ทางตะวันตกของซิดนีย์เท่านั้น แต่ยังกระจายไปทั่วนครซิดนีย์ และนิวเซาท์เวลส์ไม่ได้เป็นรัฐเดียวที่ประสบกับฤดูไฟไหม้ที่น่าสลดใจอย่างยิ่งในฤดูหนาวปีนี้

รัฐวิกตอเรียมีผู้เสียชีวิต 10 รายและรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย 5 รายในขณะที่แทสเมเนียและเซาท์ออสเตรเลียมีผู้เสียชีวิต 1 รายจากเหตุไฟไหม้บ้าน

หน่วยให้ความช่วยเหลือเหตุเพลิงไหม้แห่งรัฐวิกตอเรีย (Fire Rescue Victoria) ได้ริเริ่มโครงการเพื่อส่งสารไปยังชุมชนหลากวัฒนธรรม โดยดำเนินการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยสำหรับเด็กๆ ที่เพิ่งมาอยู่ใหม่ในออสเตรเลีย ซึ่งเรียกว่าโครงการ ‘Flames for Teens’

“ผู้อพยพย้ายถิ่นจำนวนมากไม่พูดภาษาอังกฤษ แต่เราพบว่าเด็กหรือคนรุ่นใหม่พูดได้สองภาษา ดังนั้น ไม่เพียงแต่พวกเขาสามารถซึมซับข้อมูลได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งต่อไปข้อมูลและนำไปใช้กับพ่อแม่และปู่ย่าตายายของพวกเขาได้อีกด้วย” คุณมิแชล ยัง รองกรรมาธิการด้านความปลอดภัยชุมชนของหน่วยดับเพลิงและให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินของรัฐวิกตอเรีย กล่าว
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไปเคาะประตูบ้านของประชาชนเพื่อให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยในฤดูหนาว
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไปเคาะประตูบ้านของประชาชนเพื่อให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยในฤดูหนาว Source: Supplied / NSW Fire and Rescue
รองกรรมาธิการ ยัง กล่าวต่อไปว่าควาสำเร็จของโครงการนี้นั้นเห็นได้จากสถานการณ์ที่ฉุกเฉินเกี่ยวกับความเป็นความตายหลายเหตุการณ์ เช่น เหตุการณ์เหตุไฟไหม้เมื่อเร็วๆ นี้ในเมลเบิร์น ที่เด็กๆ ได้ช่วยให้พ่อแม่หนีออกจากบ้านและโทรหา 000

“เรายังชอบที่จะสร้างสัมพันธ์กับผู้คน เพราะพวกเราอาจดูน่าเกรงขามในชุดเครื่องแบบสีดำ ที่เข้ามาในบ้านของผู้คนเมื่อมีเหตุไฟไหม้” รองกรรมาธิการ ยัง กล่าว

“ผู้ที่มาจากบางประเทศ เมื่อเห็นคนในเครื่องแบบและพวกเขาเกิดความกลัวอย่างฝังใจ ดังนั้น เราจึงต้องพยายามทำให้แน่ใจได้ว่าพวกเขาเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเป็นคนดีและเราพร้อมช่วยเหลือพวกเขาและช่วยชีวิตพวกเขา”

คุณสามารถไปที่เว็บไซต์ เพื่อนัดเวลาให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไปตรวจสอบความปลอดภัยจากไฟไหม้ให้ฟรีที่บ้านของคุณ (สำหรับประชาชนในนิวเซาท์เวลส์)

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 1 August 2022 12:15pm
Updated 1 August 2022 3:56pm
By Claudia Farhart
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News

Share this with family and friends