Analysis

เพิ่งติดโควิด แล้วระบบภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานแค่ไหน?

การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้นานกว่าการป้องกันตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว

A man on a tram in Melbourne

ขณะที่บางคนบอกว่าพวกเขาโชคดีไม่เคยติดโควิดสักครั้ง บางคนอาจจะติดเป็นครั้งที่สอง สาม สี่ แล้ว Source: Getty / Alexi Rosenfeld

เป็นเวลาราว ปีแล้วที่การระบาดของโควิด 19 ประเทศออสเตรเลียก็คงคล้ายๆ กับอีกหลายประเทศที่ยังพบจำนวนผู้ติดเชื้อสูง

ในปี 2023 ที่ผ่านมามีรายงานการติดเชื้อโควิด 19 ในออสเตรเลียถึง 860,221 ราย ขณะที่เข้าปี 2024 ไม่ถึงหนึ่งเดือน มีรายงานผู้ติดเชื้อไปแล้ว 30,283 ราย

สิ่งนี้ดูเหมือนว่าจะมีการประเมินที่ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก เนื่องจากพบว่ามีผู้คนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับช่วงการระบาดใหญ่ที่มีการตรวจเช็กและรายงานผล แต่มีสัญญาณยางอย่างที่กำลังบอกว่าบางส่วนของออสเตรเลียกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิดอีกครั้ง
บางคนอาจจะโชคดีที่ไม่เคยติดเชื้อโควิดเลยสักครั้งครั้งหนึ่ง ขณะที่บางคนอาจเป็นมาแล้วสอง หรือสามครั้ง บางคนอาจมากถคงสี่ครั้ง แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม

คุณอาจจะสงสัยว่า ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะอยู่ได้นานแค่ไหน หากติดเชื้อหรือหลังจากรับวัคซีน

มาดูผลการวิจัยเรื่องนี้กัน

เซลล์ บี และ เซลล์ ที

การจะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องเข้าใจก่อนว่า ภูมิคุ้มกันของเชื้อโควิด (หรือ SARS-CoV-2) ทำงานอย่างไร

ภายหลังจากการติดเชื้อหรือได้รับวัคซีน ระบถูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะสร้างตัวคุ้มกัน แอนติบอดี จำเพาะที่สามารถจำกัดเชื้อไวรัส SARS -CoV-2 ซึ่งเซลล์บีจะจำไวรัสได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง

นอกจากนี้ ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างเซลล์หย่วยความจำ ที ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ และจะยังคงอยู่ในระบบเลือดไปอีกหลายเดือนหลังจากการกำจัดเชื้อหรือการได้รับวัคซีน
งานวิจัยในปี 2021 พบว่าผู้คน 98 เปอร์เซนต์ มีแอนติบอดีที่สามารถขัดขวางโปรตีนของเชื้อ SARS -CoV-2 (โปรตีนคือพื้นผิวที่เชื้อไวรัสใช้เพื่อเกาะติดกับเซลล์) หนึ่งเดือนหลังจากเริ่มมีอาการ หลังจากนั้นราว หก ถึงแปดเดือน ผู้คนจากการศึกษาครั้งนี้ราว 90 เปอร์เซนต์ยังคงมีแอนติบอดีในเลือดของพวกเขา

 นี่จึงหมายถึงว่าระบบภุมิคุ้มกันของเราสามารถจดจำและกำจัดเชื้อ SARS -CoV-2 ได้ หากมีการติดเชื้อในช่วง หก ถึง แปดเดือน (หากการติดเชื้อเกิดขึ้น จะแสดงอาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการเลย)

แต่กับเชื้อที่กลายพันธุ์จะเป็นอย่างไร ?

อย่างที่เราทราบกันว่าเชื้อโควิด 19 ได้มีการกลายพันธุ์ในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่สายพันธุ์ อัลฟ่า เบต้า เดลต้า และโอมิครอน แต่ละสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ของเชื้อจะเป็นสิ่งใหม่สำหรับระบบภุมิคุ้มกัน แม้ว่าบุคคลนั้นจะเคยติดเชื้อจากสายพันธุ์ก่อนหน้านี้มาแล้วก็ตาม

ดังนั้น แม้ว่าตัวเซลล์หน่วยความจำ ทีหรือบีจะมีจดจำเชื้อจากการติดครั้งก่อนได้ แต่ระบบภูมิคุ้มกันก็จะไม่สามารถระบุได้ว่าเชื้อกลายพันธุ์ที่เข้ามาเป็นเชื้ออะไร นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมบางคนถึงติดเชื้อโควิดซ้ำ

การทบทวนการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2022 ซึ่งพิจารณาการสร้างระบบป้องกันการได้รับจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 จากการติดเชื้อครั้งก่อน
ผู้เขียนพบว่า การติดเชื้อครั้งก่อนร้อยละ 85.2 จะสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องการติดเชื้อครั้งใหม่ด้วยเชื้อดั้งเดิม อัลฟา เบต้า และเดลต้า ในเวลาสี่สัปดาห์

การป้องกันต่อการติดเชื้อครั้งใหม่จากสายพันธุ์เหล่านี้ยังสูง (78.6 เปอร์เซ็นต์) ในช่วง 40 สัปดาห์ หรือมากกว่า 9 เดือน หลังจากการติดเชื้อ ระบบป้องกันนี้จะลดลงเหลือ 55.5 เปอร์เซนต์ ใน 80 สัปดาห์ ( 18 เดือน) แต่ผู้เขียนได้ระบุไว้ว่า ถึงขณะนี้ยังมีชุดข้อมูลที่จำกัดอยู่

โดยอย่างยิ่ง การติดเชื้อในช่วงแรกๆ จะสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ อย่าง โอมิครอน BA.1 ได้เพียงร้อยละ 36.1 ในช่วง 40 สัปดาห์ ซึ่งสายพันธุ์โอมิครอนขึ้นชื้อว่าเป็นสายพันธุ์ที่หลบหลีกระบบภูมิคุ้มกัน

การติดเชื้อครั้งก่อนแสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกันโรคร้ายแรงได้ในระดับสูง (มากกว่า 88 เปอร์เซ็นต์) นานถึง 40 สัปดาห์ โดยไม่เกี่ยวว่าสายพันธุ์ที่ติดซ้ำนั้นคือสายพันธุ์อะไร

ระบบภูมิคุ้มกันเป็นอย่างไรหลังจากการฉีดวัคซีน

จนถึงขณะนี้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดไปแล้วราว 70 ล้านโดส ให้กับคนที่อาศัยในออสเตรเลียมากกว่า 22 ล้านคน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าวัคซีนโควิดจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้ราว 14.4 ล้านคนใน 185 ประเทศ ในช่วงปีแรกนับตั้งแต่ที่มีการค้นพบวัคซีน

แต่กระนั้น เราต่างทราบดีว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงตามกาลเวลา

ผลการทบทวนในปี 2023 พบว่าวัคซีนดั้งเดิมมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเดลต้าได้ 79.6 เปอร์เซนต์ และ 49.7 เปอร์เซ็นต์ หลังการฉีดวัคซีนในเวลาหนึ่งและเก้าเดือนตามลำดับ พวกมันยังมีประสิทธิภาพที่ 60.4 เปอร์เซนต์ และ 13.3 เปอร์เซ็นต์ ต่อสายพันธุ์โอมิครอน ในเวลาเดียวกัน

นี่คือเหตุผลที่ว่าจำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนตัวกระตุ้น ซึ่งค่อนข้างสำคัญในการช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่มีความพร้อมในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่มีความเปราะบางในการติดเชื้อโควิด

นอกจากนี้ การฉัดวัคซีนกระตุ้นอยู่เป็นประจำจะช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในสามารถรับมือกับการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ วัคซีนโควิดนั้นได้รับการพัฒนู่ตลอดเพื่อให้มั่นใจว่าจะยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ โดยวัคซีนตัวล่าสุดที่มีอยู่ในขณะนี้ สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน XBB 1.5 ได้ สิ่งนี้จึงคล้ายกับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นั่นเอง

งานศึกษาชิ้นล่าสุดเผยให้เห็นว่า วัคซีนนั้นช่วยสร้างระบบป้องกันได้นาวนานกว่าการสร้างระบบภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ โดยระยะเวลาเฉลี่ยจากการติดเชื้อสู่การติดเชื้อครั้งใหม่สำหรับคนที่ไม่ฉีดวัคซีนคือ 6 เดือนเท่านั้น ขณะที่หากเทียบกับคนที่ฉีดวัคซีน1 ถึง 3 โดสที่จะมีระยะการติดเชื้อครั้งใหม่หลังจากการติดเชื้อครั้งแรกที่ 14 เดือน สิ่งนี้แรกว่าระบบภูมิคุ้มกันแบบไฮบริด และงานวิจัยชิ้นอื่นๆ ยังพบผลลัพธ์ที่คล้ายกันที่ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันนั้นดีกว่าการรอให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติ

ทั้งนี้ยังดูเหมือนว่าระยะเวลาก็มีส่วนสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับวัคซีนหลังจากการติดเชื้อ (น้อยกว่า หกเดือน) พบว่ามีประสิทธิภาพน้อยกว่าการได้รับวัคซีนภายหลังจากนั้น

ทำอะไรได้บ้างในปัจจุบัน?

แต่ละคนต่างมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่างกันออกไป และเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ยังคงมีการกลายพันธุ์ ดังนั้นการจะสรุปว่าระบบภูมิคุ้มของเราจะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน

จากข้อมูลที่มีอยู่ช่วยให้เราเข้าใจว่าระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อนั้นจะอยู่ได้นานถึง 6 เดือน สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี และจะนานยิ่งขึ้นสำหรับคนที่มีการรับวัคซีน แต่กระนั้นก็มีข้อแม้ว่า เชื้อไวรัสจะไม่มีการกลายพันธุ์ใหม่ที่สามารถหลบระบบภูมิคุ้มกันนี้ได้

แม้ว่าหลายคนจะรู้สึกว่าการระบาดนั้นได้จบลงไปแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่เราไม่ควรลืมคือบทเรียนที่ผ่านมา หลักการปฏิบัติ อาทิ การสวมหน้ากากอนามัย การอยู่บ้านหากไม่สบาย สามารถลดการแพร่เชื้อลงได้ ไม่เฉพาะแค่เชื้อโควิด

ถึงแม้การฉีดวัคซีนจะไม่จำเป็น แต่สำหรับผู้สูงวัยควรได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นตามคำแนะนำปัจจุบัน ก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย


Share
Published 31 January 2024 12:29pm
By Lara Herrero
Presented by Warich Noochouy
Source: The Conversation


Share this with family and friends