ช่องโหว่คืนภาษีนักท่องเที่ยวทำงบประมาณออสฯ รั่ว

NEWS: ตรวจเงินแผ่นดินออสเตรเลียชี้งบประมาณประเทศรั่วกว่า 500 ล้านดอลลาร์ ช่องโหว่นโยบายคืนภาษีนักท่องเที่ยว เปิดทาง ปชช.หิ้วของออกประเทศหวังขอคืนภาษีจีเอสทีก่อนเอากลับเข้ามาใหม่

A Qantas plane is seen as passengers walk to their flights at Sydney International Airport in Sydney.

Passengers walk to their flights at Sydney International Airport. Source: AAP Images/Lukas Coch

ออสเตรเลียได้สูญเสียงบประมาณของประเทศไปกว่า $500 ล้านดอลลาร์ ในนโยบายขอคืนภาษีสินค้าและบริการ ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงการขอคืนเงินภาษีที่ถูกเก็บจากการซื้อสินค้าและบริการในออสเตรเลีย 

รายงานตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินล่าสุด โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินออสเตรเลีย (National Audit Office) ได้ตั้งคำถามในส่วนของการกำกับดูแลนโยบายดังกล่าว โดยระบุว่า กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย และสำนักงานสรรพากรออสเตรเลีย (เอทีโอ) ได้มีการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องนี้ในระดับต่ำ 

นโนบายคืนเงินภาษีสำหรับนักท่องเที่ยว (Tourist Refund Scheme) เป็นนโยบายที่นักท่องเที่ยว ซึ่งจะเดินทางออกจากประเทศออสเตรเลีย สามารถขอคืนเงินภาษีสินค้าและบริการ (จีเอสที) และภาษีเหล้าไวน์ (Wine Equalisation Tax) ที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินค้าระหว่างที่อยู่ในออสเตรเลียได้ภายในระยะเวลา 60 วัน
The Tourist Refund Scheme allows people leaving Australia to claim GST back on goods purchased in the country in the past 60 days.
The Tourist Refund Scheme allows people leaving Australia to claim GST back on goods purchased in the country in the past 60 days. Source: AAP
ข้อมูลจากรายงาน ได้มีการประเมินว่า มีการคืนเงินภาษีผ่านนโยบายนนี้ให้กับประชาชนของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณของประเทศไปกว่า $555.6 ล้านดอลลาร์ ในระยะเวลา 20 ปี

“การตรวจสอบหานัยยะของการฉ้อโกงนั้นเป็นเรื่องเฉพาะกิจมากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ กระทรวงมหาดไทยออสเตรเลีย และสำนักงานสรรพากรออสเตรเลียได้ประเมินว่า การกำกับดูแลโครงการคืนภาษีให้นักท่องเที่ยวนั้นอยู่ในความสำคัญระดับต่ำ” รายงานตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินระบุ 

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกราวร้อยละ 60 มีโครงการดังกล่าวเช่นเดียวกับออสเตรเลีย สำนักงานสรรพากรออสเตรเลียเชื่อว่า ออสเตรเลียเป็นประเทศเดียวในโลกที่อนุญาตให้ประชาชนของตนเองขอคืนภาษีได้ 

มีหลักฐานที่อธิบายว่า พบคำร้องที่ไม่ชอบธรรมในการขอคืนภาษีจากประชาชนออสเตรเลีย และมี “งบประมาณที่รั่วไหลอย่างมีนัยยะ” อยู่ระหว่าง $244 - $557 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2000 โดยมีการคาดการณ์ว่า ตัวเลขงบประมาณที่สูญเสียไป ส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ขอคืนภาษีโดยมิชอบ นำสินค้าที่ซื้อในออสเตรเลียออกจากประเทศ และนำกลับมาหลังจากเดินทางไปยังจ่ายประเทศแล้ว 

รายงานตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินนี้ได้อ้างถึงต้นตอของปัญหา ที่มาจากระบบการตรวสอบที่จำกัด และระบบสำหรับการจัดการโครงการ รวมถึงตรวจสอบการขอคืนภาษีที่น่าสงสัย

“กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสรรพากร ไม่ได้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในโครงการคืนภาษีให้นักท่องเที่ยว ในการนำมาตรวจสอบการยื่นคำร้องอย่างเป็นระบบ เพื่อเอื้ออำนวยในการตรวจจับแบบคำขอที่น่าสงสัย และเพื่อเป็นตัวชี้วัดประมาณแผ่นดินที่สูญเสียไป องค์กรดังกล่าวไม่ได้ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ TRS ในลักษณะที่มีประโยชน์” รายงานดังกล่าวระบุ
People are seen lining up at Sydney Airport, Sydney.
People are seen lining up at Sydney Airport, Sydney. Source: AAP
ตั้งแต่นโยบายดังกล่าวได้ประกาศใช้ในเดือนกรกฎาคม ปี 2000 มีการคืนภาษีผ่านโครงการนี้ทั้งหมดมากกว่า $1,600 ล้านดอลลาร์ โดยมีชาวออสเตรเลียยื่นขอคืนเงินภาษีคิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้ขอคืนเงินภาษีทั้งหมด

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินออสเตรเลียได้แนะนำว่า กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสรรพากรออสเตรเลีย ควรทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบที่แข็งแรงเพื่อกำกับดูแลการจัดการโครงการดังกล่าว

“กระทรวงมหาดไทยสามารถส่งคำเตือนให้กับประชาชนและผู้อยู่อาศัยออสเตรเลียที่อาจคิดว่าของเหล่านั้นอาจนำกลับเข้ามาได้โดยไม่ต้องสำแดง ซึ่งเดินทางเข้ามาในออสเตรเลีย” รายงานดังกล่าวระบุ

“อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าชาวออสเตรเลียที่ขอคืนภาษีจะคิดเป็นร้อยละ 41.9 แต่ก็พบว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ได้ขอคืนภาษีบ่อยครั้งนัก”

ในปีงบประมาณ 2017-18 มีการขอคืนภาษีจีเอสทีจากสินค้าของแอปเปิล $17.2 ล้านดอลลาร์ สินค้าของหลุยส์ วิตตอง $13.8 ล้านดอลลาร์ สินค้าของกุชชี $10.1 ล้านดอลลาร์ สินค้าจากชาเนล $9.1 ล้านดอลลาร์ สินค้าของแอร์เมส $6.2 ล้านดอลลาร์ และสินค้าจากทิฟฟานี แอนด์ โค $4.3 ล้านดอลลาร์
People are seen lining up at Sydney Airport, Sydney.
People are seen lining up at Sydney Airport, Sydney. Source: AAP
นายโทนี เชลดอน (Tony Sheldon) สมาชิกวุฒิสภาจากพรรคแรงงานกล่าวว่า ระบบดังกล่าวได้กลายเป็น “กระบวนการฉ้อโกง” ภายใต้การนำของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเป็นช่องทางให้ชาวออสเตรเลียใช้ในการหลบเลี่ยงภาษี แทนที่เงินเหล่านั้นจะได้นำไปใช้ในการพัฒนาระบบสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

“ท่านนายกฯ อยู่ข้างใครในตอนนี้ ท่านจะอยู่ข้างเรา หรือจะไปอยู่ข้างเดียวกับคนที่อยากได้กำไลแพลตินัมทิฟฟานี แอนด์ โค และกระเป๋ากุชชี ที่ต้องการจะฉ้อโกง” นายเชลดอนกล่าวในรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 ก.ค.) 

การขอคืนภาษีที่มีการจ่ายคืนมากที่สุด เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2011 โดยเป็นคำร้องของนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ ที่ได้รับเงินภาษีคืนสูงถึง $250,000 ดอลลาร์ จากยอดซื้อสินค้ามูลค่า $2.6 ล้านดอลลาร์ 

ผู้ยื่นคำขอคืนภาษีจีเอสทีสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่สุดในปีงบประมาณ 2017-18 มาจากผู้ที่ถือพาสปอร์ตประเทศจีน ซึ่งออสเตรเลียได้จ่ายเงินภาษีคืนเป็นมูลค่า $100 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณเดียวกัน รองลงมาคือชาวออสเตรเลีย ที่ได้ยื่นคำขอคืนภาษีจีเอสทีในปีงบประมาณเดียวกัน เป็นมูลค่าราว $50 ล้านดอลลาร์

ด้านสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ให้คำแนะนำ 3 ข้อ ซึ่งรวมถึง 3 ข้อสำหรับกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานสรรพากรออสเตรเลีย และ 1 ข้อสำหรับกระทรวงการคลัง

โดยในเบื้องต้น กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสรรพากรได้ยอมรับคำแนะนำดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการควบรวบระบบที่มีอยู่แล้วเพื่อสอดส่องดูแลการยื่นขอคืนภาษีที่ไม่ชอบธรรม ขณะที่กระทรวงการคลังได้ยอมรับข้อเสนอที่จะทำงานร่วมกับทั้งสองหน่วยงาน ในการตรวจสอบคำร้องขอคืนภาษี

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่

You can check out the full version of this story in English on SBS News .

Share
Published 11 September 2019 11:41am
Updated 11 September 2019 3:19pm
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends