ข้อดีของการเป็นชาวเอเชียในประเทศออสเตรเลีย

จากที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียจนกระทั่งกลายมาเป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดกลุ่มหนึ่งที่สหราชอาณาจักร ฉันไม่เคยตระหนักถึงสถานภาพการเป็นคนกลุ่มน้อยของฉันเลย จนกระทั่งในตอนนี้

Image of an Asian family

10 เปอร์เซ็นต์ของชาวซิดนีย์จำนวน 4.8 ล้านคนนั้นระบุตัวตนว่ามีเชื้อสายเป็นชาวเอเชีย โดยเป็นกลุ่มประชากรขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สาม Source: Image obtained by SBS Life

You can read the full version of this story in English on SBS Life .

“ชาวเอเชียอยู่ที่ไหนกันหมด?” เป็นคำถามที่พ่อแม่ของฉันถาม เมื่อพวกเขามาเยี่ยมฉันที่กรุงลอนดอนเมื่อเร็วๆ นี้ จากการที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของ ในออสเตรเลีย จนกระทั่งกลายมาเป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดกลุ่มหนึ่งที่นี่ ที่สหราชอาณาจักร ฉันไม่เคยตระหนักถึงสถานภาพการเป็นคนกลุ่มน้อยของฉันเลย จนกระทั่งในตอนนี้

สำหรับผู้มีเชื้อสายเป็นชาวเอเชียจำนวน ซึ่งนับเป็นหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดของสหราชอาณาจักร เรื่องนี้เป็นชีวิตจริงที่ต้องเผชิญกันรายวัน มันทำให้ฉันเกิดความสงสัยว่าฉันจะเป็นคนซึ่งแตกต่างออกไปจากที่เป็นอยู่ในตอนนี้หรือไม่ หากว่าฉันเติบโตที่ประเทศอังกฤษ

ฉันโตขึ้นมาในนครซิดนีย์ โดยเป็นชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนซึ่งเกิดในประเทศออสเตรเลีย การถูกรายล้อมโดยผู้คนซึ่งหน้าตาเหมือนกับฉันทำให้ฉันไม่เคยรู้สึกแปลกแยก หากอ้างอิงจาก 10 เปอร์เซ็นต์ของชาวซิดนีย์จำนวน 4.8 ล้านคนนั้นระบุตัวตนว่ามีเชื้อสายเป็นชาวเอเชีย โดยเป็นกลุ่มประชากรขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามรองจาก ‘ชาวออสเตรเลีย’ และ ‘ชาวอังกฤษ’ ตามกาลเวลาที่ผ่านไป พวกเราได้สร้างให้เกิดความตื่นตัวทางวัฒนธรรม และความรู้สึก ‘ปลอดภัยเพราะเป็นคนหมู่มาก’ และที่อาจจะสำคัญที่สุดก็คือ การตอกย้ำถึงความเป็นจริงที่ว่า เรานั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศออสเตรเลียเฉกเช่นเดียวกับคนอื่นๆ  ถึงขนาดที่คำถามว่า นั้นจะไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าเป็นการสืบเสาะที่จำเป็นต้องมานั่งให้บทเรียนในเรื่องการอพยพย้ายถิ่นของชาวเอเชียกันอีกต่อไป ซี่งเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ
“ในกรุงลอนดอน ซึ่งมีเพียง 1.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ระบุตัวตนว่าเป็นชาวจีน ความเป็นพี่น้องกันทางวัฒธรรมนั้นยังเป็นสิ่งมีค่าที่หาได้ยาก”
สำหรับชาวจีนที่เกิดในประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่าบีบีซี (BBCs, British-born Chinese) จะอย่างไรก็ตามคำตอบก็อาจไม่ได้ตรงไปตรงมา “ฉันรับมือกับการถูกถามเช่นนี้ตลอดชีวิตของฉัน แต่ก็ยังประสบกับความยากลำบากในการที่จะรู้ได้ว่าควรตอบอย่างไร” คุณเจน ชาน วัย 32 ปี อาชีพผู้จัดการโครงการ กล่าว โดยพ่อแม่ของเธอนั้นย้ายถิ่นฐานจากฮ่องกงมายังสหราชอาณาจักรในทศวรรษที่ 1960 พวกเขาตั้งรกรากที่เวย์บริดจ์ เมืองชนบทเล็กๆ ในย่านเซอร์รีย์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงลอนดอนซึ่งมีคนขาวชาวอังกฤษเป็นชนกลุ่มใหญ่ และในระหว่างที่เติบโตขึ้นก็มีชาวเอเชียที่โรงเรียนของเธออีกเพียงหนึ่งคนเท่านั้นนอกจากตัวเธอเอง “มันน่ารำคาญสำหรับฉันมากกว่าในปัจจุบันมาก เมื่อผู้คนมาบ่งชี้ว่าฉันนั้นแตกต่าง แล้วก็จงใจที่จะบ่งชี้เช่นนั้นเพื่อให้เป็นที่รู้กัน”

คุณจอห์นนี ออง ชาวจีนที่เกิดในประเทศอังกฤษอีกคน ซึ่งเกิดและเติบโตทางตะวันตกของกรุงลอนดอนโดยมีพ่อแม่เป็นชาวมาเลเซีย ก็ประสบกับความคับข้องใจที่คล้ายคลึงกันในระหว่างที่เติบโตขึ้นมา “ตอนที่ผมอายุน้อยกว่านี้ แล้วบอกกับคนอื่นว่าผมมาจากมาเลเซีย พวกเขาก็จะสับสนมากๆ ผมก็เลยหยุดทำเช่นนั้น แล้วก็เริ่มที่จะระบุตัวตนว่าผมเป็นคนจีนเพราะว่ามันง่ายกว่า แล้วคุณก็จะไม่มีคำถามอื่นตามมา”

สำหรับตัวของฉันเอง การเติบโตขึ้นท่ามกลางผู้คนซึ่งมีค่านิยมและประสบการณ์ต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับฉันนั้นได้ช่วยหล่อหลอมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของฉันตั้งแต่เมื่ออายุยังน้อย ความผูกพันที่แน่นแฟ้นของฉันกับครอบครัว และการไปเยี่ยมเยือนประเทศอินโดนีเซียอย่างสม่ำเสมอ ได้เปิดโอกาสทางสังคมโดยทำให้ฉันนั้นมีประเพณีและค่านิยมแบบจีนรวมเข้าเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน
“เมื่อคุณเป็นคนเอเชียเพียงคนเดียวในห้อง การเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ ซี่งมีพื้นเพทางชาติพันธุ์ก็มักจะรู้สึกน่าตื่นเต้นและทำให้รู้สึกว่าได้รับการยอมรับ”
ที่โรงเรียน ฉันผูกพันกับเพื่อนๆ ชาวออสเตรเลียเชื้อสายเอเชียคนอื่นๆ จากเรื่องของความกดดันที่ต้องสร้างสมดุลระหว่างความคาดหวังจากหลากวัฒนธรรม เป้าหมายทางการศึกษาซึ่งพ่อแม่ตั้งไว้ให้ และการที่ไม่สามารถจะสุงสิงกับผู้ชายได้จนกว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยไปแล้วระยะหนึ่ง ซึ่งก็เป็นเหตุผลให้พื้นที่ต่างๆ เช่นกลุ่มทางเฟซบุ๊กที่ชื่อ ซึ่งก่อตั้งโดยชาวเอเชียอายุน้อยนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะว่าพื้นที่เหล่านี้เป็นที่ซึ่งเราสามารถจะเปิดใจรับต่อสิ่งที่ครั้งหนึ่งเราเคยคิดว่ามันหลุดโลกมาก ขณะที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวของผู้ย้ายถิ่นฐานชาวเอเชีย

อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวอังกฤษเชื้อสายเอเชีย ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (sense of belonging) ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยง่ายดายนักในกรุงลอนดอน ซึ่งมีเพียง 1.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ระบุตัวตนว่าเป็นชาวจีน ความเป็นพี่น้องกันทางวัฒธรรมนั้นยังเป็นสิ่งมีค่าที่หาได้ยาก “คุณมีเพื่อนฝูงคนขาว คนอินเดีย และคนดำ ดังนั้นเมื่อคุณพบเจอกับคนเอเชียคนอื่นๆ ที่เหมือนกับผม แต่ว่าคุณไม่ได้เติบโตขึ้นมากับพวกเขา คุณก็เกิดความอยากรู้อยากเห็นว่าพวกเขานั้นผ่านประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันกับคุณมาหรือเปล่า” คุณอองเผย

เมื่อคุณเป็นคนเอเชียเพียงคนเดียวในห้อง การเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ ซี่งมีพื้นเพทางชาติพันธุ์ก็มักจะรู้สึกน่าตื่นเต้นและทำให้รู้สึกว่าได้รับการยอมรับ “เพื่อนสนิทที่สุดคนแรกของฉันที่โรงเรียนมาจากซาอุดิอาระเบีย ครอบครัวของเธอนั้นย้ายมาที่อังกฤษแล้วเราก็ผูกพันกันอย่างรวดเร็วจากการที่ถูกเลี้ยงดูขึ้นมา[โดยไม่ใช่คนขาว]ในสังคมตะวันตก” คุณชานเล่า

เมื่อฉันเดินผ่านถนนเส้นหลักอันพลุกพล่านของกรุงลอนดอนซึ่งมีฝูงชนหลั่งไหลมามากมายจากทั่วโลก ฉันรู้สึกราวกับว่าเป็นคนนอก แต่ไม่นานนักฉันก็รู้ว่าฉันนั้นไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ฉันเป็นคนนอกที่ถูกรายล้อมด้วยคนนอกคนอื่นๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งพวกเขาก็ตามหาการยอมรับในที่แห่งเดียวกันนี้ โดยไม่ว่าจะเพียงชั่วครูชั่วยามหรือยาวนานแค่ไหน พวกเราต่างก็เรียกที่แห่งนี้ว่าเป็นบ้านของเรา

คุณอลิสัน ทานุดิอาสโตร เป็นนักเขียนอิสระซึ่งอยู่ในกรุงลอนดอน ท่านสามารถติดตามคุณอลิสันได้ทางทวิตเตอร์

บทความนี้ได้รับการปรับตรวจโดยบรรณาธิการ คุณแคนดิซ ชุง และเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ทางเอสบีเอสไลฟ์ ที่สนับสนุนงานเขียนของนักเขียนชาวออสเตรเลียเชื้อสายเอเชียที่มีอายุน้อย ท่านต้องการมีส่วนร่วมด้วยหรือไม่? ติดต่อกับคุณแคนดิซได้ทางทวิตเตอร์

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 20 February 2019 3:20pm
Updated 20 February 2019 4:55pm
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Life


Share this with family and friends