ความเสี่ยงซ่อนเร้นของการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง

Buy now pay later

In 2018-19, buy now, pay later providers earned $43 million in revenue from late payment charges. Source: Getty Images

การซื้อสินค้าแบบซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง (buy now, pay later) นั้นอาจเป็นวิธีการซื้อของได้โดยง่ายของผู้บริโภค แต่ด้วยความนิยมที่สูงขึ้นและความแพร่หลายของบริการนี้ หลายฝ่ายกังวลว่าผู้ใช้บริการอาจตกอยู่ในวังวนหนี้สินได้


ฟังรายงาน
LISTEN TO
'A debt spiral': The risks of buy now, pay later services image

ความเสี่ยงซ่อนเร้นของการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง

SBS Thai

22/07/202110:02
การจ่ายชำระหนี้แบบไม่มีดอกเบื้ยรายสัปดาห์หรือรายเดือนกับสินค้า เช่น กางเกงยีนส์ หรือสมาร์ตวอทช์ (smartwatch) โดยไม่ต้องเซ็นสัญญาเอกสารใดๆ กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น

จากข้อมูลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุนแห่งออสเตรเลีย (Australian Securities and Investment Commission) กลุ่มผู้ซื้อในออสเตรเลียใช้จ่ายผ่านบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” กว่า $5.6 พันล้านดอลล่าร์ในปี 2018-2019 โดยมีจำนวนของบัญชีผู้ใช้เพิ่มสูงถึงกว่า 6 ล้านคน จากประชากร 25 ล้านคนในประเทศ

คุณฟิโอนา กูทรี (Fiona Guthrie) ผู้บริหารของบริษัทให้คำปรึกษาด้านการเงิน ไฟแนนเชียล เค้าน์เซลลิ่ง ออสเตรเลีย (Financial Counselling Australia) สนับสนุนให้มีการจัดระเบียบบริการซื้อประเภทนี้

“การผ่อนชำระเงินของคุณ  จะถูกแบ่งออกเป็นจำนวนสัปดาห์ที่เทียบเท่ากัน ซึ่งอาจมีตั้งแต่หกสัปดาห์ถึงหลายเดือน หรือหลายปี คุณสามารถใช้บริการซื้อก่อน-จ่ายทีหลังกับสินค้าตั้งแต่ไม่กี่ร้อยดอลล่าร์ถึง $30,000 ดอลล่าร์ เพราะมันอยู่นอกเหนือข้อระบุของกฎหมายสินเชื่อ จริงๆ แล้วไม่มีข้อจำกัดหรือจำนวนที่จำกัดว่าสินค้าสามารถทำการตลาดและขายแก่ผู้บริโภคอย่างไร”
credit card, buy now pay later
การใช้บริการแบบซื้อก่อน-จ่ายทีหลังผ่านบัตรเคตดิต Source: Pexels
ในขณะที่การแบ่งชำระแบบไม่มีดอกเบี้ยนั้นอาจเป็นสิ่งที่เย้ายวนสำหรับนักช้อปปิ้ง แต่พวกเขาอาจลงเอยกับค่าธรรมเนียมการจ่ายชำระเงินล่าช้า หากไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนด

รายงานของเอสิก (ASIC – Australian Securities and Investment Commission) ในเดือนพฤศจิกายน 2020 ระบุว่ามี 21 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคที่ใช้บริการซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง ที่พลาดกำหนดชำระและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใน 12 เดือนที่ผ่านมา

คุณเด็บ ชรูท (Deb Shroot) ที่ปรึกษาด้านการเงินในกรุงแคนเบอร์รา ที่ให้คำปรึกษาสายด่วนปลดหนี้แห่งชาติ (national debt helpline) กล่าวว่าผู้ให้บริการซื้อก่อน-จ่ายทีหลังแต่ละเจ้านั้นมีเงื่อนไขที่ต่างกัน
การปกป้องผู้บริโภคที่ใช้บริการนี้นั้นมีน้อย สินค้าที่ให้บริการสินเชื่ออื่นๆ นั้นอยู่ภายใต้ระเบียบของการให้สินเชื่อและกฎหมายด้านความรับผิดชอบในการให้กู้ยืม บริการซื้อก่อน-จ่ายทีหลังยังไม่มีมาตรการควบคุม เพราะฉะนั้นหากเกิดสิ่งผิดพลาด อาจเป็นเรื่องยากมากที่จะแก้ไข
คุณฟิโอนา กูทรี ที่ปรึกษาด้านการเงินชี้ให้เห็นถึงกับดักที่เห็นได้ชัดว่า คุณอาจลงเอยด้วยการจ่ายเงินมากกว่าที่คุณสามารถจ่ายได้ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านการเงินโดยรวมของคุณ

“มันเหมือนกับหนี้สินทั่วไป หากคุณไม่จ่าย มันจะกระทบกับคะแนนเครดิต (credit score) ของคุณนั่นเป็นเพราะหากคุณไม่จ่ายชำระหนี้ แล้วบริษัทนั้นตัดสินใจส่งเรื่องต่อสำนักรายงานเครดิต (credit reporting bureau) ว่ามีการผิดนัดชำระหนี้ (default)สิ่งนี้จะมีผลกระทบกับคะแนนเครดิตของคุณ แต่นั่นขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ บางบริษัทส่งรายงานต่อให้สำนักรายงานเครดิต และบางบริษัทไม่ทำ”
คุณเด็บ ชรูท กล่าวว่าผู้ที่มีพันธะผ่อนชำระหนี้หลายอย่างกับบริการจ่ายก่อน-ซื้อทีหลังนั้นอาจไม่สามารถยื่นขอเงินกู้ซื้อบ้านหรือรถยนต์กับธนาคารได้

“หากคุณมีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระหลายอย่างที่ต้องจ่าย คุณอาจจะมีคะแนนเคตดิตดี แต่คุณอาจไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระเงินกู้คืน ดังนั้นคุณอาจจะถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลนี้ มันเป็นสิ่งที่มักถูกมองข้าม แต่เป็นสิ่งที่สำคัญพอๆ กับคะแนนเครดิตของคุณ เมื่อคุณพิจารณาถึงคุณสมบัติในการกู้ยืมของคุณ”

คุณเคิร์สตี้ ร็อบสัน ที่ปรึกษาด้านการเงินกับสายด่วนปลดหนี้แห่งชาติกล่าวว่า ผู้บริโภคไม่ได้รับการปกป้องตามที่สมควร เมื่อใช้บริการซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง

“เมื่อมีบางอย่างผิดพลาด และความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น การเจ็บป่วย การตกงาน และคุณไม่มีสิทธิ์ที่จะขอเจรจาเนื่องจากมีความลำบาก ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณทำได้ หากคุณใช้บริการสินเชื่อเจ้าอื่น”

Financial debt,
อย่าปล่อยให้หนี้สินพอกพูน ติดต่อขอความช่วยเหลือ Source: Getty


รายงานของเอสิกพบว่าบางคนที่พลาดชำระหนี้ตามกำหนด ต้องลดค่าใช้จ่ายหรือต้องอยู่อย่างขัดสน เช่น ค่าอาหาร การจ่ายบิลหรือค่าเช่าบ้าน และบางคนต้องขอกู้เพิ่ม คุณร็อบสันกล่าวว่าเธอมักพบกรณีแบบนี้
หลายคนที่คุยกับเราไม่สามารถจ่ายค่าเช่าบ้านได้ เพราะพวกเขาต้องจ่ายชำระหนี้หลายอย่างกับบริการซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง ที่ตัดบัญชีโดยตรง และพวกเขาไม่สามารถจ่ายค่าอาหารได้ ทำให้พวกเขาต้องจ่ายค่ากินอยู่ด้วยบริการซื้อก่อน-จ่ายทีหลังอีก และต้องติดอยู่ในวังวนหนี้ที่พวกเขาต้องใช้บริการจ่ายเงินแบบนี้ในการซื้อสิ่งของที่จำเป็น และจ่ายผ่อนชำระทีหลัง และต้องวนกลับมาใช้บริการนี้อีกเรื่อยๆ เพื่อซื้อของใช้จำเป็น
คุณร๊อบสันกล่าวว่ามันกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะได้ยินผู้ใช้บริการติดอยู่ในสถานการณ์วนเวียนแบบนี้ ในการใช้จ่ายกับสิ่งของที่จำเป็นประจำวัน และบิลค่าสาธารณูปโภคด้วยวิธีซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง

“ดิฉันคิดว่าการซื้อสินค้าด้วยบริการซื้อก่อน-จ่ายทีหลังกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกว่าสิ่งของจำเป็นด้วยเหตุผลหลายประการ หลายคนให้ความสำคัญกับการชำระหนี้ตรงนี้เพราะว่าเป็นจำนวนเล็กๆ และหลายคนพยายามที่จะจ่ายผ่อนชำระเงินจำนวนเล็กน้อยนี้ให้หมด โดยคิดว่าจะดีกว่าที่จะจ่ายชำระให้หมดไป เพื่อที่พวกเขาจะได้ไปสนใจในสิ่งอื่นต่อไป”

 คุณร๊อบสันแนะนำให้ขอความช่วยเหลือ หากคุณอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกันนี้ หรือหากคุณไม่สามารถจัดการกับหนี้สินของคุณได้

“ที่ปรึกษาด้านการเงินที่สายด่วนปลดหนี้แห่งชาติ และที่อื่นในออสเตรเลีย ได้เห็นผลลัพธ์ที่ดี หลังสามารถให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ประสบปัญหากับการจ่ายชำระหนี้จากบริการซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง หากคุณกำลังประสบปัญหาด้านการเงินกับการจ่ายชำระสินค้าหรือบริการแบบซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง โทรติดต่อสายด่วนปลดหนี้ที่ 1800 007 007”

คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 




Share