ควรมีมาตรการใดเพื่อลดจำนวนผู้ย้ายถิ่นที่จมน้ำเสียชีวิตในออสเตรเลีย

ความสวยงามของท้องทะเลออสเตรเลียอาจไม่สะท้อนอันตรายที่แฝงอยู่

ความสวยงามของท้องทะเลออสเตรเลียอาจไม่สะท้อนอันตรายที่แฝงอยู่ Source: Pixabay

มีเสียงเรียกร้องให้มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยในการว่ายน้ำแก่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานทั่วประเทศออสเตรเลียอย่างตรงจุดยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ที่เกิดในต่างประเทศยังคงเป็นกลุ่มคนที่จมน้ำเสียชีวิตเป็นสัดส่วนที่สูงในออสเตรเลีย


มีเสียงเรียกร้องให้มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยในการว่ายน้ำแก่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานทั่วประเทศออสเตรเลียอย่างตรงจุดยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ที่เกิดในต่างประเทศยังคงเป็นกลุ่มคนที่จมน้ำเสียชีวิตเป็นสัดส่วนที่สูงในออสเตรเลีย

ขณะเดียวกัน มีงานวิจัยใหม่โครงการหนึ่งของมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ได้ตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงเบื้องหลังการเสียชีวิตจากการจมน้ำในหมู่ผู้อพยพจากเอเชียใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เสียชีวิตในชายทะเลของออสเตรเลียเป็นจำนวนมากอย่างผิดสัดส่วน

กดฟังรายงาน
LISTEN TO
Calls for better water safety campaign targeting migrant communities image

ควรมีมาตรการใดเพื่อลดจำนวนผู้ย้ายถิ่นที่จมน้ำเสียชีวิตในออสเตรเลีย

SBS Thai

28/01/202209:46
ในต่างประเทศนั้น ภาพหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์อย่างขาดไม่ได้ของประเทศออสเตรเลียคือ ภาพชายหาดสีทองที่รายล้อมไปด้วยน้ำทะเลใสดุจคริสตัล  ซึ่งทำให้ชายทะเลที่นี่เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่เดินทางมายังออสเตรเลีย

แต่อย่างที่ อะมาร์ ซิงห์ ประธานกลุ่ม ‘เทอร์เบินส์ ฟอร์ ออสเตรเลีย’ (Turbans 4 Australia) อธิบาย ภาพลักษณ์ภายนอกอาจเป็นไม่สะท้อนความเป็นจริงสำหรับสมาชิกในชุมชนของเขา

"มันน่าหวั่นเกรงเนื่องจากมันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเข้าใจ ชุมชนผู้อพยพไม่รู้ว่าคลื่นทะเลดูดหรือ rip currents อยู่ตรงไหน ตรงไหนที่อาจมีแมงกะพรุนขวดเขียว (bluebottle jellyfish) มันเป็นเรื่องลึกลับสำหรับพวกเขา แต่เว็บไซต์โฆษณากลับบอกว่ามาที่ออสเตรเลียเพื่อจะได้เห็นชายหาดที่สวยงาม หาดทรายสีขาวและน้ำทะเลสีฟ้า ทุกคนต่างก็อยากที่จะได้สูดอากาศของมหาสมุทร" คุณซิงห์ กล่าว

และสิ่งเย้ายวนใจนี้อาจส่งผลตามมาที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต

ร้อยละ 47 ของผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำในออสเตรเลียในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เป็นกลุ่มผู้ที่เกิดในต่างประเทศ

และผู้ย้ายถิ่นฐานจากประเทศอินเดียคิดเป็นสัดส่วนสูงสุดของสถิติดังกล่าว

การสำรวจโครงการใหม่ของกลุ่มบีช เซฟตี (Beach Safety) ของมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กำลังพยายามทำความเข้าใจว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

มันซับซ้อนมากกว่า มุมมองทั่วไปที่คนมักเชื่อกันว่า เป็นเพราะความเขลา หรือเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ศาสตราจารย์ ร็อบ แบรนเดอร์ เป็นหนึ่งในผู้เขียนรายงานจากการสำรวจโครงการนี้ กล่าวว่า

"เราพบว่าคนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียน้อยกว่า 10 ปี เป็นผู้ที่ไปเที่ยวชายหาดบ่อยกว่าคนกลุ่มอื่น แต่มีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะได้เรียนว่ายน้ำ หรือได้ยินเรื่องเกี่ยวกับธงที่ชายหาด หรือเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เช่น คลื่นทะเลดูด หรือเคยเข้าร่วมโครงการความปลอดภัยที่ชายหาด ดังนั้นสารที่สำคัญคือ เราจำเป็นต้องปรับปรุงการให้การศึกษาเรื่องความปลอดภัยที่ชายหาดสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่เพิ่งมาอยู่ใหม่ และและผู้ย้ายถิ่นที่มาอยู่ที่นี่ได้ไม่นานนัก" ศาสตราจารย์ แบรนเดอร์ กล่าว
คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียน้อยกว่า 10 ปี เป็นผู้ที่ไปเที่ยวชายหาดบ่อยกว่าคนกลุ่มอื่น แต่มีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะได้เรียนว่ายน้ำ หรือได้ยินเรื่องเกี่ยวกับธงที่ชายหาด หรือเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เช่น คลื่นทะเลดูด
เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ย้ายถิ่นฐาน 249 คนจากประเทศในเอเชียใต้ที่ตอบแบบสำรวจยอมรับว่า พวกเขาว่ายน้ำไม่เป็น แต่ก็ยังจงใจที่จะลงไปในน้ำอยู่ดี

หลายคนมักใส่เสื้อผ้าตามปกติเหมือนตอนไม่ได้ลงน้ำ ซึ่งทำให้ว่ายน้ำยากขึ้น

ในขณะที่มากกว่าครึ่งหนึ่งออกไปเล่นน้ำที่ชายหาดที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยลาดตระเวนอยู่ และกว่า  1 ใน 4 ยังมีความเข้าใจอย่างจำกัดเกี่ยวกับระบบธงแดงและเหลืองซึ่งตั้งอยู่ที่ชายหาด และมากกว่าครึ่งยอมรับว่าตามปกติแล้วพวกเขาไม่ได้ว่ายน้ำระหว่างธงแดงและธงเหลืองที่ชายหาด
ศาสตราจารย์ แบรนเดอร์ เกรงว่า ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยที่ชายหาด ได้ตกหล่นหลายไปในระหว่างที่ประชาชนต้องแปลข้อมูลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ของพวกเขา

"หนึ่งในคำตอบหลักๆ ที่เราได้รับคือ บ่อยครั้งที่พวกเขาอ่านป้ายแต่พวกเขาไม่เข้าใจคำศัพท์เฉพาะต่างๆ พวกเขาบอกว่ามันจะช่วยได้มากถ้าป้ายและข้อความด้านความปลอดภัยที่ชายหาดทั่วไปถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ แต่สิ่งหนึ่งที่อาจไม่ได้สื่อสารไปในข้อมูลที่แปลมาด้วยก็คือ เหตุใดคุณจึงต้องว่ายน้ำระหว่างธงแดงและธงเหลือง และความจริงแล้ว มีหลักฐานบางอย่างในการสำรวจของเราที่พบว่า บางคนเห็นสีแดงของธงและสันนิษฐานว่านั่นหมายถึงอันตราย หรือคิดว่าเป็นพื้นที่ว่ายน้ำส่วนตัว ผมก็เลยคิดว่าเราต้องอธิบายให้ผู้คนรู้ว่าธงเหล่านั้นหมายถึงอะไร" ศ. แบรนเดอร์ เผย
บ่อยครั้งที่พวกเขาอ่านป้ายแต่พวกเขาไม่เข้าใจคำศัพท์เฉพาะต่างๆ บางคนเห็นสีแดงของธงที่ชายหาดและเข้าใจผิดคิดว่านั่นหมายถึงอันตราย หรือคิดว่าเป็นพื้นที่ว่ายน้ำส่วนตัว
คุณซิงห์เชื่อว่ายังมีอุปสรรคทางวัฒนธรรมที่ข้อความเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำในปัจจุบันไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปถึงผู้คนได้

"ผู้คนที่มาจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมและภูมิหลังทางภาษาที่แตกต่างกัน พวกเขามีอุปสรรคเหล่านั้นทั้งหมดที่จะต้องก้าวข้ามไปให้ได้ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ บางคนก็บอกว่า ทำไมถึงต้องไปว่ายน้ำอยู่ระหว่างธงนั้น ในเมื่อบริเวณอื่นๆ ของชายหาดทั้งหมดนั้นว่างเปล่า? ผู้คนไม่เข้าใจว่า พื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยทางน้ำกำหนดว่าปลอดภัย แต่ก็อีกนั่นแหละ พวกเขาก็มีคำถามว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยทางน้ำหรือ Life Guard คือใคร พวกเขาคิดว่าเป็นแค่คนธรรมดาทั่วไปที่สวมเครื่องแบบ" คุณซิงห์ กล่าว
มีโครงการอบรมด้านความปลอดภัยที่ชายหาดมากมาย ซึ่งพุ่งเป้าไปยังผู้ย้ายถิ่นฐานที่ไปทำกิจกรรมทางน้ำที่ชายทะเลทั่วประเทศ ซึ่งหลายโครงการประสบความสำเร็จในการสอนผู้ย้ายถิ่นฐานที่เพิ่งมาอยู่ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ให้รู้จักวิธีการสนุกสนานที่ชายหาดอย่างปลอดภัย

แต่ศาสตราจารย์แบรนเดอร์กล่าวว่า แนวทางนี้ควรขยายให้มุ่งเน้นไปที่ชุมชนมากขึ้น เพื่อช่วยให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ย้ายมาอยู่ในออสเตรเลียจากประเทศอื่นๆ ที่ดูเหมือนจะพลาดสารที่สำคัญไป

"มีโครงการดีๆ มากมายที่พยายามแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยในชุมชนเหล่านี้ ซึ่งผมมั่นใจว่า หลายๆ โครงการนั้นดี แต่ความท้าทายจริงๆ แล้วคือการเข้าถึงผู้คนเหล่านี้และกระตุ้นให้พวกเขาสนใจเรียนว่ายน้ำและเข้าร่วมโครงการเพื่อความปลอดภัยที่ชายหาด เราจำเป็นต้องพยายามมากขึ้นเพื่อจะเข้าถึงชุมชนเหล่านั้นและต้องมีแรงผลักดันใหม่ๆ ในการให้ความรู้แก่ผู้คนจากภายในชุมชนของพวกเขาเอง" ศาสตราจารย์แบรนเดอร์ แนะนำ
กลุ่ม ‘เทอร์เบินส์ ฟอร์ ออสเตรเลีย’ (Turbans 4 Australia) ได้ดำเนินโครงการในชุมชนของพวกเขาเอง โดยใช้ทุนสนับสนุนที่มีจำนวนจำกัดเพื่อผลิตวิดีโอให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการว่ายน้ำที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของพวกเขา

คุณซิงห์กล่าวว่า เขาต้องการเห็นการสนับสนุนมากขึ้นมีให้แก่องค์กรต่างๆ ในชุมชนอย่างองค์กรของเขา เพื่อถ่ายทอดสารสำคัญนี้สู่ชุมชน เช่นเดียวกับความสำเร็จจากการนำข้อมูลสู่ชุมชนจากแรงขับคลื่นของคนในชุมชนเองในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19

"เราจำเป็นต้องทำอะไรมากกว่านี้ในระดับชุมชนต่างๆ เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าใจข้อมูลในภาษาของพวกเขาเอง ในแบบที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้ และได้ข้อมูลจากใบหน้าที่พวกเขาคุ้นเคย ประมาณนี้ ผมคิดว่าเราพลาดตลาดเป้าหมายหลักไปจริงๆ ซึ่ง ก็คือชุมชนผู้อพยพ เพราะถ้าเรามองจากสถิติต่างๆ แล้ว ผู้คนที่จมน้ำคือผู้คนที่ถูกพุ่งเป้าไปถึงน้อยที่สุดในการรณรงค์เรื่องความปลอดภัยในการทำกิจกรรมทางน้ำต่างๆ " คุณซิงห์ กล่าว
เราจำเป็นต้องทำอะไรมากกว่านี้ในระดับชุมชนต่างๆ เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าใจข้อมูลในภาษาของพวกเขาเอง ในแบบที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้ และได้ข้อมูลจากใบหน้าที่พวกเขาคุ้นเคย
ในแถลงการณ์ โฆษกของ เซิร์ฟ ไลฟ์ เซฟวิง ออสเตรเลีย (Surf Life Saving Australia หรือ S-L-S) กล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่า "ในหลายรัฐ ข้อมูลด้านความปลอดภัย รวมทั้ง โครงการเชิงปฏิบัติต่างๆ มีขึ้นโดยมุ่งเป้าไปยังชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมในออสเตรเลีย องค์กรมีโครงการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้วทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงผู้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ใหม่ในออสเตรเลียเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการทำกิจกรรมทางน้ำ หลาย ๆ โครงการได้รับการสนับสนุนจากผู้นำภายในชุมชนและจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางน้ำต่างๆ ด้วย"


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share