เตือน Great Barrier Reef เกิดปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เหตุสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

coral bleeching

แนวปะการัง Great Barrier Reef ของออสเตรเลียนั้น การฟอกขาวครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 5 ในรอบ 8 ปี Source: AAP

แนวปะการังทั่วโลกกำลังเผชิญกับการฟอกขาวเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งคาดการณ์ว่าครั้งนี้จะมีแนวปะการังที่ถูกฟอกขาวมากที่สุดในประวัติศาสตร์


 

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

 แหล่งมรดกโลกขององค์การสหประชาชาติของออสเตรเลีย Great Barrier Reef กำลังเผชิญกับเหตุการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่อีกครั้ง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 และเกิดขึ้นมาทั้งหมด 7 ครั้ง ในจำนวนนี้ 5 ครั้งเกิดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา

แม้ว่าเราจะไม่ทราบความรุนแรงของการฟอกขาวครั้งใหญ่นี้แน่ชัด จนกว่าจะถึงปลายปีนี้ แต่จากข้อมูลล่าสุดชี้ว่าแนวปะการังมากกว่าร้อยละ 80 จะเผชิญกับอุณภูมิใต้น้ำที่สูงขึ้น
การฟอกขาวของปะการังจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้นเกินเกณฑ์ที่สามารถอยู่รอดได้

Korallenbleiche im GBR
การฟอกขาวของปะการังจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้นเกินเกณฑ์ที่สามารถอยู่รอดได้ Source: Getty / Getty Images/Brett Monroe Garner

นักนิเวศวิทยาทางทะเลที่ CSIRO (Commonwealth Scientific and Industrial Reserch) จอร์จ รอฟ ผู้ที่ได้จดได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงของปะการังใน Great Barrier Reef อธิบายถึงปรากฎการณ์ทางทะเลนี้ว่า

"ในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นฤดูวางไข่ และในช่วงเวลานั้นแนวปะการังเหล่านี้อยู่ในสภาพที่น่าทึ่ง แนวปะการังบางแห่งมีสุขภาพดีที่สุดเท่าที่เราเคยเห็นมาในรอบ 10-15 ปี แต่เมื่อเรากลับมาในเดือนมีนาคม เราก็ต้องประหลาดใจกับสิ่งที่เราเห็น"



เขากล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสามเดือนที่ผ่านมานั้นรุนแรงมาก

"มันเป็นเรื่องน่าตกใจมาก ที่เห็นระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น มันน่าเศร้าใจมาก ผมทำงานเกี่ยวกับแนวปะการังมานานกว่าสองทศวรรษ และไม่คิดว่าจะได้เห็นสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดอีก 30 ปีข้างหน้า แต่มันเกิดขึ้นในตอนนี้"

ส่วนนักนิเวศวิทยาทางทะเลอีกคนหนึ่งซึ่งได้สำรวจใต้ท้องทะแลในแถบ Great Barrier Reef มาเป็นเวลา 20 ปี อย่างคุณ ลิซซา ซินเลอร์

บอกว่าการเดินทางสำรวจใต้ทะเลครั้งล่าสุดของเธอ เป็นเรื่องที่สะเทือนอารมณ์ คุณ ซินเลอร์ เล่าว่า

นี่เป็นการไปดำน้ำครั้งแรก ที่ฉันไม่อยากดำอีก มันเป็นเรื่องที่สะเทือนใจแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน
ลิซซา ซินเลอร์ นักนิเวศน์วิทยาทางทะเล

ผลกระทบจากภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ายังมีความหวังว่าปะการังสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ แต่ระดับความร้อนที่เกิดขึ้นทั่วแนวปะการัง น่าจะเป็นสัญญาณเตือนให้เราต้องทำบางอย่าง

ดร.ไซมอน แบรดชอว์ จาก Climate Council's กล่าวว่า ปรากฎการณ์นี้ เป็นการตอกย้ำถึงความเร่งด่วนในการ "ลดมลภาวะทางสภาพอากาศ"

"เราเปรียบเทียบเหตุการณ์ฟอกขาวครั้งล่าสุดนี้ได้กับเหตุการณ์ไฟป่ารุนแรง ในปี 2019 และ 2020 เพื่อให้คนเข้าใจถึงขนาดของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ นี่เป็นผลมาจากคลื่นความร้อนในทะเลที่รุนแรง ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดจากการเผาถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ"

 
ด้าน รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม ทันยา พลิเบอร์แเซก Tanya กล่าวว่าออสเตรเลีย กำลังพยายามแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐมนตรี พลิเบอร์แเซก เปิดเผยว่า

"แน่นอนว่าเรารู้สึกกังวลอย่างมากเกี่ยวกับเหตุการณ์การฟอกขาวบนแนวปะการัง Great Barrier Reef และมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังทั่วโลก ด้วยเหตุนี้เราจึงตั้งเป้าหมายที่จะลดปริมาณก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงออกกฎหมายด้านการป้องกัน และเราจึงบรรลุเป้าหมายเกี่ยวกับการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ร้อยละ 82 "


แนวทางฟื้นฟูสภาพนิเวศน์ทางทะเล


 ในปีที่แล้ว อุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

จากรายงานของสำนักงานมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ภาวะที่น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้เกิดเหตุการณ์ฟอกขาวทั่วโลกครั้งที่ 4

และผู้ประสานงานโครงการเฝ้าระวังแนวปะการังขององค์กร Coral Reef Watch เดเรก แมนแซลโล ออกมาเตือนว่า
เหตุการณ์นี้จะเป็นเหตุการณ์การฟอกขาวของปะการังทั่วโลกที่ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
เดเรก แมนแซลโล ผู้ประสานงานโครงการเฝ้าระวังแนวปะการังขององค์กร Coral Reef

ปรากฎการณ์ธรรมชาติ อย่าง เอลนิโญ มีส่วนทำให้อุณหภูมิของมหาสมุทรสูงเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ต้นปี 2023มีรายงานการฟอกขาวของปะการังอย่างมีนัยสำคัญในอย่างน้อย 54 ประเทศ

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการควบคุมมลพิษในท้องถิ่นและการพัฒนาชายฝั่งสามารถช่วยให้ปะการังฟื้นตัวได้ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพนิเวศน์วิทยาทางทะเล

 
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 






บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



 

 

 

 

 

 


Share