ทนายไทยไขข้อข้องใจหลากกรณีหย่าร้างในออสเตรเลีย

House and Scales of Justice

การหย่าร้างอาจต้องมีการเจรจาแบ่งทรัพย์สินและข้อตกลงร่วมกันในการเลี้ยงดูบุตร Source: Getty / Getty images

คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความคนไทยในรัฐนิวเซาท์เวลส์ตอบคำถามหลากกรณีการหย่าร้างว่ากรณีใดทำได้หรือไม่ได้ และคุณสามารถติดต่อหาความช่วยเหลือทางกฏหมายและการสนับสนุนเรื่องภาษาได้จากที่ใด


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความในนครซิดนีย์ แนะนำข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับการหย่าในออสเตรเลีย (ตอนที่ 2) พร้อมไขข้อข้องใจในกรณีการหย่าร้างที่มักพบบ่อยในออสเตรเลีย

ไม่ได้ทำงานและไม่มีเงินเก็บทำอย่างไร ระหว่างและหลังหย่าร้าง

คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความในนครซิดนีย์ มีข้อแนะนำในการหย่าร้างในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ทำงานและไม่มีเงินเก็บ ว่าเราควรจะทำอย่างไรกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับบุตรในระหว่างหรือหลังกระบวนการหย่าร้าง

คุณปริตาแนะนำว่า ควรติดต่อหน่วยงาน เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็ก ( ได้ทันที

“ขอให้ติดต่อทำเรื่องของ Child support เพื่อขอพวก tax benefit หรือจาก Centrelink ได้เลย ไม่ต้องรอให้การแบ่งทรัพย์สิน ( Property Settlement) ให้เสร็จสิ้น

 
Lawyer nsw photo 1.jpg
คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความในรัฐนิวเซาท์เวลส์ Credit: supplied by Parita Pethpipat

ในกรณีโดยเฉพาะผู้หญิงที่อาจต้องออกจากงานหรือไม่ได้ทำงานนานเพราะต้องเลี้ยงดูบุตร จะสามารถดำเนินการขอรับการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายส่วนตัวในระหว่างหรือหลังกระบวนการหย่าร้างได้อย่างไร คุณปริตาให้คำแนะนำว่าเราอาจไปลงเรียนเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองในการกลับไปทำงานหรือสามารถทำเรื่องให้อีกฝ่ายหนึ่งช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายให้เราจนกระทั่งเราสามารถกลับไปทำงานได้

เราสามารถเจรจาทำเรื่อง maintenance order เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง (กรณีที่มีหน้าที่การงานดี มั่นคงที่จะช่วยเหลือได้) จ่ายเงินเลี้ยงดูเราสักระยะหนึ่งซึ่งจะแยกจาก Child support เพื่อที่จะให้เรากลับไปเรียนหรือสามารถกลับมายืนได้ด้วยตนเอง
คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความในนครซิดนีย์


ไม่มีเงิน แล้วต้องขึ้นศาล จะหาความช่วยเหลือจากที่ไหน


คุณปริตา ชี้ว่าให้ติดต่อองค์กรเช่น Legal aid หรือ community service ในท้องถิ่นของตน แต่ถ้าในกรณีที่ติดต่อ Legal aid แล้วแต่องค์กรเหล่านี้ไม่เข้าข่ายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือได้ ให้ลองติดต่อสมาคมทนายความในรัฐของคุณเพื่อหาโครงการที่อาจมีการช่วยเหลือให้คำปรึกษาทนายฟรี


“อย่างในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จะมีพวก ของ Law society NSW ที่มีทนายที่รับทำเคสฟรีในแต่ละปี ที่อาจจะ refer เราไปได้”



คุณ ปริตา กล่าวว่าในกรณีที่มีการแบ่งทรัพย์สินแล้วเราอาจจะสามารถได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สิน ทนายครอบครัวอาจจะว่าความให้ก่อนแล้วเราจ่ายค่าทนายทีหลัง


“ทนายครอบครัวอาจคุยกับเราแล้วถ้าเค้ามองว่าเราอาจมีสิทธิที่จะได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สินนั้น เค้าอาจให้เราทำสัญญาว่าจะทำเคสให้เราก่อน แล้วเราจ่ายคืนเค้าทีหลังจากได้รับเงินที่มาจากการแบ่งทรัพย์สินนั้น”


ไม่มั่นใจเรื่องภาษาจะทำอย่างไร


คุณปริตาแนะนำว่าเราสามารถแจ้งความประสงค์ในการขอล่ามโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับองค์กรต่างๆ ของรัฐบาลได้ หรือโดยจรรยาบรรณทนายอาจจะเป็นคนจัดหาล่ามมาให้ลูกความก็ได้หากเกิดปัญหาในการสื่อสาร

เวลาที่เราคุยกับองค์กรรัฐบาล เช่น Legal aid เวลาเราโทรไปจองนัดเราสามารถบอกได้ว่าเราต้องการล่ามภาษา เมื่อถึงเวลาทนายจะติดต่อล่ามก่อนแล้วจึงต่อสายมาคุยกับเรา เพราะฉะนั้นจะคุยผ่านล่ามตลอด ไม่ต้องกลัวว่าภาษาไม่ได้
คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความรัฐนิวเซาท์เวลส์

“โดยปกติจะเป็นหน้าที่ของทนาย ถ้าคุยกับลูกความแล้วรู้สึกว่าลูกความไม่เข้าใจเรา ทนายต้องเป็นคนจัดหาล่ามมาคุย ไม่เช่นนั้นจะเป็นการผิดกฎทนายเช่นกัน”

บริการล่ามโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


LISTEN TO
divorce interview full  image

ทนายคนไทยให้ข้อมูลการหย่าร้างในออสเตรเลีย

SBS Thai

05/02/202427:56


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 






บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 





Share