แรงงานต่างชาติเผยถูกเอาเปรียบมากขึ้นช่วงโควิด

Underpaid worker Iris Yao

Underpaid worker Iris Yao Source: SBS

แรงงานต่างชาติหลายคนในออสเตรเลียได้รับค่าจ้างน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของค่าจ้างขั้นต่ำ และสถานการณ์โควิดยิ่งทำให้ปัญหาเรื่องการจ่ายค่าจ้างผิดกฎหมายยิ่งเลวร้ายมากขึ้น สหภาพแรงงานฯ พบประกาศโฆษณารับสมัครงานนับพันที่จ่ายค่าจ้างผิดกฎหมายในอินเทอร์เน็ตในภาษาต่างๆ


LISTEN TO
Migrant wage theft image

แรงงานต่างชาติเผยถูกเอาเปรียบมากขึ้นช่วงโควิด

SBS Thai

17/12/202006:33
คุณ ไอริส โหยว นักศึกษาจากประเทศจีนเปิดเผยว่าเธอเคยมีประสบการณ์ถูกนายจ้างเอาเปรียบ

“ฉันเคยทำงานที่ร้านอาหารจีนแห่งหนึ่ง และฉันได้รับค่าจ้างแค่ 7 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และฉันต้องทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการล้างครัว การรับรายการอาหารและทำหน้าที่อื่นๆ ด้วยในเวลาเดียวกัน”

เธอชี้ว่าปัญหาการเอาเปรียบค่าจ้างนี้เป็นปัญหาสำคัญในหมู่นักเรียนต่างชาติผู้ซึ่งไม่ได้มีครอบครัวที่มีฐานะพอที่จะสนับสนุนการใช้ชีวิตในต่างประเทศขณะเรียนหนังสือได้ 

“อย่างที่ทราบว่านครซิดนีย์เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงมากและฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับนักเรียนต่างชาติส่วนใหญ่ที่ต้องทราบเกี่ยวกับค่าแรงขึ้นต่ำ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถปกป้องตัวเองได้” 

ส่วน คุณ ลีออง วัย 38 ปีจากจีนพบประกาศโฆษณารับสมัครงานในร้านอาหารผ่านแอปพลิเคชันเจ้าหนึ่ง เขาเล่าว่าเขาได้รับค่าจ้างเป็นเงินสด 13 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงในร้านอาหารแห่งนั้น เขามีความกังวลใจมากเพราะเพิ่งย้ายมาและเขาไม่มีที่ไป
“ผมหวังว่ามันจะมีกฎหมายที่กำหนดให้นายจ้างเหล่านั้นไม่สามารถเอารัดเอาเปรียบคนงานจากจีนและประเทศอื่นๆได้ ”
ด้านนักวิจัยจากสหภาพแรงงาน ยูเนียนส์ นิวเซาท์เวลส์  ได้ทำการสำรวจโฆษณาประกาศรับสมัครงานทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเป้าหมายการจ้างงานผู้ย้ายถิ่นโดยเฉพาะพบว่าโฆษณารับสมัครงานกว่า 3,000 ชิ้นเป็นการประกาศรับสมัครงานในภาษาจีน เกาหลี เวียดนาม เนปาล สเปนและภาษาโปรตุเกส  

พวกเขาพบโฆษณารับสมัครงานหนึ่งชิ้นที่เขียนเป็นภาษาเวียดนามมองหาพนักงานทำเล็บที่เสนออัตราค่าจ้างเพียงแค่ 10 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงเท่านั้น ร้อยละ 90 ของจำนวนโฆษณารับสมัครงานทั้งหมดเสนอค่าจ้างในอัตราที่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

โดยที่ร้อยละ 97 งานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง รองลงมาคืองานทำความสะอาด งานในร้านเสริมสวย งานร้านอาหารฟ้าสต์ฟู้ด และร้านขายปลีก งานในอุตสาหกรรมการบริการ งานตำแหน่งเสมียน และงานเกี่ยวกับการขนส่ง
นาย มาร์ค มอเรย์ เลขาธิการสหภาพแรงงาน ยูเนียนส์ นิวเซาท์เวลส์ เปิดเผยว่าสถานการณ์การเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างเพิ่มมากขึ้นในระหว่างวิกฤตการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา เขากล่าวว่า

 “แรงงานต่างชาติที่ถือวีซ่าประเภทต่างๆ  ในออสเตรเลียไม่ได้รับความช่วยเหลือทั้งจาก JobSeeker และ JobKeeper ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เองผลักไสให้พวกเขาต้องทำงานอะไรก็ได้ที่ทำให้พวกเขามีชีวิตรอด มันมีการเอารัดเอาเปรียบในระดับของอุตสาหกรรมซึ่งเราต้องการให้ออสเตรเลียมีกฎหมายใหม่ที่เข้มแข็งเพื่อหยุดยั้งการเอารัดเอาเปรียบที่เกิดขึ้นนี้ และบรรดาลูกจ้างเหล่านี้หลายรายที่ยังทำงานและถูกเอาเปรียบต่อไปโดยไม่รับการชดเชย”  

ด้านรัฐบาลสหพันธรัฐเปิดเผยว่ากฎหมายของกระทรวงแรงงานสัมพันธ์ฉบับใหม่จะกำหนดโทษให้นายจ้างที่เอาเปรียบแรงงานจะมีบทลงโทษถูกจำคุกเป็นเวลา 4 ปีและมีการจ่ายค่าปรับถึง 5.5 ล้านดอลลาร์ ส่วนคณะกรรมการแฟร์เวิร์ก กล่าวว่าหน่วยงานเป็นโจทย์ให้แรงงานต่างชาติในศาลต่างๆ และในปีที่ผ่านมาก็มีการจ่ายค่าชดเชยจากนายจ้างกว่า 1.7 ล้านดอลลาร์

นาย ปีเตอร์ สตรอง ประธานกรรมการบริหารของสภาองค์กรธุรกิจขนาดย่อมแห่งออสเตรเลียให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่านายจ้างที่ดีก็มีมี ดังนั้นอย่างเพิ่งเหมารวม

 “นายจ้างที่มีภูมิหลังมาจากชุมชนหลากเชื้อชาติในออสเตรเลียจำนวนมากเป็นนายจ้างที่ดี พวกเขาสร้างทักษะให้ลูกจ้าง พวกเขาจ่ายค่าจ้างอย่างถูกต้อง  ดังนั้นอย่าเพิ่งเหมารวมว่านายจ้างเหล่านี้เป็นคนไม่ดีไปทั้งหมด มันมีบางส่วนที่ทำเรื่องไม่ถูกต้องดังนั้นเราควรที่จะให้ความรู้แก่พวกเขาเพื่อที่พวกเขาจะได้รับค่าจ้างที่ถูกต้อง”

คุณสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสล่าสุดในภาษาของคุณได้ที่ sbs.com.au/coronavirus

 


 

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

 

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 


 

 

  

 

 

 


Share