วาระแห่งชาติ: ภารกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ของออสเตรเลีย

Melbourne from the air - Image Tiff Ng - Pexels.jpg

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอาจเป็นภัยต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ได้ Credit: Pexels /Tiff Ng

โลกของเราในขณะนี้กำลังต่อสู่กับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นกุญแจสำคัญในการชะลอเรื่องนี้ ออสเตรเลียมีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว การทำความเข้าใจถึงสิ่งนี้จะช่วยให้ทุกคนร่วมกันช่วยลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้


ประเด็นสำคัญ
  • การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
  • การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นกุญแจสำคัญ
  • การบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ทำได้โดยการสร้างความสมดุลระหว่างการปล่อยและลดก๊าซเรือนกระจก

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ การสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกจะกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์และสิ่งนี้ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น

ไม่ได้มีแค่อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น แต่ยังหมายถึงภัยแล้ง ไฟไหม้ น้ำท่วม และพายุที่รุนแรงขึ้น อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอาจเป็นภัยต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ได้

การลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำได้โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมาเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานคลื่น

ออสเตรเลียมีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว ด็อกเตอร์ไซมอน แบรดชอว์ (Dr. Simon Bradshaw) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของสภาสภาพภูมิอากาศ (Climate Council) อธิบายถึงเรื่องนี้
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ออสเตรเลียมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าลดก๊าซเรือนกระจกเหลือศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
"หมายถึงการใช้พลังงานอื่นให้กับบ้านและอุตสาหกรรมของเรา เปลี่ยนวิธีที่เราผลิตไฟฟ้า แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์และลม และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถาวร”
การตั้งเป้าที่ปี 2050 อาจฟังดูเหมือนนาน แต่ด็อกเตอร์แบรดชอว์กล่าวว่าการกำหนดเวลาในการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นถือเป็นเรื่องเร่งด่วน

“วิทยาศาสตร์พิสูจน์ชัดเจนแล้วว่าเราต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกให้ได้ครึ่งหนึ่งภายใน 10 ปีนี้ และต้องลดให้เหลือศูนย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราต้องทำอย่างเร่งด่วน หากเราต้องการที่จะมีอนาคตที่ปลอดภัย”

เมื่อปี 2022 รัฐบาลออสเตรเลียร่างซึ่งกำหนดเป้าหมายของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

คุณแอรอน แทง (Aaron Tang) ผู้ร่วมวิจัยซึ่งทำงานเกี่ยวกับนโยบายสภาพภูมิอากาศกับศูนย์ศึกษาความเสี่ยงแห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Centre for the Study of Existential Risk at the University of Cambridge) อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า
ร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซลง 43% ภายในปี 2030 และให้เหลือศูนย์ภายในปี 2050
"ก่อนหน้านี้ออสเตรเลียประสบปัญหาเรื่องการรักษานโยบายสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกันกับระดับที่รัฐบาลสหพันธรัฐกำหนด ร่างกฎหมายนี้หวังที่จะสร้างความมั่นคงที่จำเป็นต้องทำเพื่อก้าวไปข้างหน้า และเป็นรากฐานของการทำงานอย่างมุ่งมั่นต่อไปในอนาคต”
Dr Simon Bradshaw - Climate Council Head of Research.jpg
ด็อกเตอร์ไซมอน แบรดชอว์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของสภาสภาพภูมิอากาศ Credit: Climate Council
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ด็อกเตอร์แทงกล่าวว่าต้องลงทุนในพลังงานหมุนเวียน

“เราได้รับพลังงานจากการเผาไหม้ถ่านหินเพียงครึ่งหนึ่ง และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ การลงทุนในการผลิตพลังงานรูปแบบอื่นในออสเตรเลียจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงาน และช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจทั่วภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกด้วย เราสามารถเป็นผู้นำอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนระดับโลกได้”

ด็อกเตอร์แบรดชอว์เห็นพ้องว่าออสเตรเลียอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการเป็นผู้นำเรื่องพลังงานหมุนเวียน

“ออสเตรเลียเราโชคดี เพราะเราเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแสงแดดแรงและลมแรงที่สุดในโลก ทำให้เรามีศักยภาพอย่างมากในการเปลี่ยนวิธีผลิตไฟฟ้าของเรา จริงๆ แล้วการทำเช่นนั้น เราจะสามารถมีพลังงานในราคาย่อมเยาและเชื่อถือได้เช่นกัน”
Aaron Tang.png
คุณแอรอน แทง จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย Credit: ANU/Aaron Tang
เราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงได้อีกด้วย

“ปัจจุบันนี้การเดินทางของเราส่วนใหญ่จะใช้รถที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล เราควรลดการใช้รถและเดินทางด้วยเท้าและขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น แน่นอนนโยบายรัฐบาลและการลงทุนของรัฐบาลจะเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินการ แต่หากยังคงต้องใช้รถ ควรใช้รถที่เป็นไฟฟ้า ซึ่งมีราคาถูกลงเรื่อยๆ”

นอกจากวิธีที่เราเดินทางแล้ว ยังมีสิ่งที่เราสามารถทำได้ที่บ้านอีกด้วย

“หากเราใช้ก๊าซในการทำกับข้าวและทำความร้อน เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแทน เป็นหนึ่งในสิ่งที่เราทำได้ เราจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพราะก๊าซจะสร้างมลพิษ และเรายังสามารถทำให้สุขภาพของเราดีขึ้นด้วย"
มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นที่พิสูจน์ว่าการเผาไหม้ก๊าซในบ้านจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
electric-charge-2301604_1920 - Image Paulbr75 - Pixabay.jpg
พิจารณาเปลี่ยนการใช้รถที่ใช้น้ำมันมาเป็นรถไฟฟ้าแทน Credit: Pixabay/aulbr75
การที่หลายๆ คนร่วมกันเปลี่ยนแปลงสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

“ทำในสิ่งที่คุณทำได้ การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทำได้เสมอ คุณสามารถติดตั้งแผงโซลาร์ เซลส์ที่บ้าน ทานเนื้อให้น้อยลง เปลี่ยนบริการธนาคารหรือบริษัทซุปเปอร์ และการลงคะแนนเสียง! เริ่มต้นจากสิ่งที่เหมาะกับคุณ แล้วเริ่มจากตรงนั้น”

อีกสิ่งหนึ่งคือพิจารณาว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างไร

“อีกสิ่งหนึ่งที่ยังคงไม่มีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางคือการกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศ ไม่ใช่เพียงแค่การหยุดปล่อยก๊าซเท่านั้น เราปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินไป หากไม่ทำสิ่งนี้ การจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์จะทำได้ยากมาก”
Wind farm in South Australia - Image Alex Eckermann - Unsplash.jpg
กังหันลมเป็นการผลิตเป็นรูปแบบหนึ่งของการผลิตพลังงานหมุนเวียน Credit: Unsplash/Alex Eckermann
เราทุกคนสามารถร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ทั้งในระดับบุคคล บ้านเรือน หรือธุรกิจ

“เมื่อเรามองผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้น มันอาจน่ากลัว แต่ก็เป็นเวลาที่น่าตื่นเต้นเช่นกัน เพราะในขณะนี้เราต้องจินตนาการถึงอนาคตใหม่ และเราสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าได้จากการกระทำของเรากับปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทุกการตัดสินใจนั้นสำคัญ เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้คนหนุ่มสาวที่ยังมีชีวิตอยู่วันนี้ที่ออสเตรเลียและทั่วโลก และคนรุ่นหลังในอนาคตอีกด้วย”

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share