ความใกล้ชิดครอบครัวในต่างแดนสอนอะไรในช่วงวิกฤตไวรัส

Neerja and Jatinder Ahuja with Jatinders dad speak to family in Delhi

คุณเนียจา คุณจาทินเดอร์ อะฮูจา และพ่อของเขา ขณะกำลังพูดคุยกับครอบครัวในกรุงนิวเดลี Source: SBS

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

จากรุ่นสู่รุ่น จากการยกหูสู่วิดีโอคอล ครอบครัวชาวออสเตรเลียซึ่งมีภูมิหลังเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นแบ่งปันหลากหลายวิธีในการสร้างความใกล้ชิดกับญาติพี่น้องในต่างแดน ที่มีประโยชน์ในช่วงรักษาระยะห่างทางสังคมช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา ที่หลายคนอาจต้องอยู่ห่างไกลจากคนที่คุณรัก


กดปุ่ม 🔊ที่ภาพด้านบนเพื่อฟังรายงาน

คุณจาทินเดอร์ (Jatinder) และคุณเนียร์จา อะฮูจา (Neerja Ahuja) เดินทางจากนครมุมไบมายังออสเตรเลียในปี 1991 ช่วงนั้น ออสเตรเลียกำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย และแม้พวกเขาจะมาถึงแบบแรงงานมีทักษะ ก็ต้องทำงานที่หาได้ไปก่อนจนกว่าจะพบโอกาสใหม่

“เรามาถึงที่นี่พ้รอมกับเงินติดมือไม่ถึง $1,000 ดอลลาร์ โดยในตอนแรกที่มาถึง เราทำงานที่ร้านอาหาร งานทำความสะอาด และถึงแม้เราจะมาถึงที่นี่แบบมีวิชาชีพภายใต้วีซ่าแรงงานมีทักษะ แต่ตอนนั้นภาวะเศรษฐกิจที่นี่ถดถอย ดังนั้น เราจึงต้องทำงานเหล่านี้ไปก่อน จนกว่าจะพบหนทางใหม่” คุณเนียร์จา อะฮูจา เล่า

ในตอนแรก ทั้งคู่ต้องใช้โทรศัพท์สาธารณะ เพื่อโทรติดต่อกับกับญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ในอินเดีย ก่อนที่พวกเขาจะมีโทรศัพท์บ้านใช้

“เราใช้โทรศัพท์บ้านโทรหาครอบครัวของเราสองคนทุกสัปดาห์ แม้ว่าค่าโทรศัพท์ในตอนนั้นจะนาทีละ $2 ดอลลาร์ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร สำหรับเราแล้ว มันเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราให้คุณค่ากับเวลาตรงนั้นที่มีกับครอบครัว และเมื่อเราตั้งตัวในออสเตรเลียได้แล้ว เราก็เริ่มเชิญให้พ่อแม่มาที่นี่ ค่าโทรศัพท์ก็ลดลงเรื่อย ๆ แต่ช่วง 10 ปีแรกตั้งแต่เรามาถึง เรามีเพียงการโทรศัพท์หากันเท่านั้น”  คุณจาทินเดอร์เล่า

จนกระทั่งช่วงแรกของทศวรรษ 2000 ทั้งคู่เริ่มติดต่อกับครอบครัวผ่านทางอีเมล์ ซึ่งต่อมาวิธีนี้ค่อย ๆ กลายเป็นที่นิยมในเวลานั้น แต่สิ่งที่ท้าทายกว่านั้น คือการโทรแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คุณจาทินเดอร์ และคุณเนีย์จา จำเป็นต้องใช้ในธุรกิจขนาดเล็กของพวกเขา ซึ่งในตอนนั้นยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง

การโทรแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากที่บ้าน หมายความว่า ทั้งคู่ต้องเชื่อมต่อโทรศัพท์บ้านถึง 6 คู่สาย และจ่ายค่าบริการนับพันดอลลาร์ เพื่อให้กล้องเพียง 2 ตัว สามารถใช้งานวิดีโอคอลได้ ทั้งสองเล่าว่า ต้องจ่ายค่าบริการให้กับ Telstra ผู้ให้บริการโทรคมนาคมของออสเตรเลียปีหนึ่งมากกว่า $20,000 ดอลลาร์ เพื่อให้คุณภาพของวิดีโอนั้นใช้งานได้ ซึ่งคุณภาพของอุปกรณ์เหล่านั้นเทียบไม่ได้แล้วกับอุปกรณ์สมัยนี้

จนถึงตอนนี้ ทั้งสองยังคงมีใจรักในการติดต่อใกล้ชิดกับครอบครัว แต่ในปี 2020 สิ่งนี้เหล่าเป็นเรื่องที่ง่ายมาย คุณเนียร์จา และพี่น้องในอินเดียกำลังสองให้แม่ของเธอใช้งาน FaceTime บนสมาร์ทโฟน แม่ของเธอไม่ค่อยสันทัดเรื่องเทคโนโลยี แต่ตอนนี้ก็เริ่มรู้วิธีใช้งานแล้ว

เธอเล่าอีกว่า เพราะอยู่กันคนละประเทศ การให้แม่ของเธอใช้งานสมาร์ทโฟน ทำให้เธอสามารถดูแลแม่ทางใจได้ แม้จะไม่ได้อยู่ด้วยกันพร้อมหน้า ในฐานะลูกสาวของแม่ เธอต้องการทำสิ่งนั้น และก็เพราะการสื่อสารผ่านวิดีโอคอลที่มากขึ้น เธอบอกว่ามีความใกล้ชิดกันมากขึ้น แม้ตัวจะอยู่ไกลกัน เธอรู้ว่าที่บ้านทำอาหารอะไรกิน และได้เห็นอาหารบนจานจากที่บ้านอีกด้วย 

และในตอนนี้ การวิดีโอคอลกลับไปที่อินเดียนั้น เป็นสิ่งที่พวกเขาทำบ่อยครั้งกว่าปกติ

ไม่นานนี้ พ่อของคุณจาทินเดอร์ได้มามาเยี่ยมเขาที่นครเพิร์ท ในช่วงที่ไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดมายังออสเตรเลีย คุณจาทินเดอร์บอกว่า พ่อของเขาต้องติดอยู่ที่นี่ จนกว่ะการเดินทางระหว่างประเทศจะกลับมาทำได้อีกครั้ง พ่อของเขาคิดถึงชีวิตในอินเดีย และการพูดภาษาฮินดี

ภาพแทนคำพูดนับพัน แต่การพูดคุยผ่านวิดีโอนั้นแทนคำพูดได้นับล้าน คุณสื่อนำอารมณ์ คุณแสดงสีหน้าท่าทาง ความผูกพันที่มีในวัยเด็ก คุณสามารถเป็นตัวเองได้อย่างอิสระ ในบทสนทนากับลูก ๆ และญาติพี่น้องที่คุณรัก บางครั้ง คุณก็ไม่จำเป็นต้องพูดอะไรมาก การโทรหากันแบบเป็นวิดีโอเป็นสิ่งที่มีพลัง มากกว่าบทสนทนาเสียงที่ยาวนาน” คุณจาทินเดอร์กล่าว

เรื่องราวของคุณจาทินเดอร์ และคุณเนียร์จา เป็นหนึ่งในเรื่องราวที่ครอบครัวชาวออสเตรเลีย ซึ่งมีภูมิหลังเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นคุ้นเคยเป็นอย่างดี และในตอนนี้ กลุ่มนักวิจัยจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (WA) กำลังวิเคราะห์ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติชิ้นนี้ เพื่อดูว่าชาวออสเตรเลียคนอื่น ๆ จะได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ได้บ้าง 

ศาสตราจารย์โลเร็ตตา บัลดาสซา (Loretta Baldassar) จากศูนย์ค้นคว้าการดูแลสังคม และสังคมสูงวัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย กล่าวว่า 

“สิ่งที่เราพบ ก็คือ ผู้อพยพย้ายถิ่นมีแรงกระตุ้นอย่างมาก ในการค้นคว้า ปรับปรุงวิธีการ และเรียนรู้ทุกหนทางที่เป็นไปได้ ในการติดต่อใกล้ชิด บนระยะทางที่ห่างไกล ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน ตอนนั้น คือการหาบัตรโทรศัพท์ที่ราคาถูกที่สุด แต่ในวันนี้ ด้วยช่องทางติดต่อสื่อสารบนเทคโนโลยีที่หลากหลาย สิ่งที่ปรากฎก็คือ เรามีวิธีมากมายในการทำสิ่งนี้” ศาสตราจารย์โรเร็ตตา บัลดาสซา กล่าว 

ศาสตราจารย์บัลดาสซา และทีมนักวิจัยของเธอ ได้ย้อนดูข้อมูลย้อนหลัง 30 ปี ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมของครอบครัวอพยพย้ายถิ่น 400 ครอบครัว เพื่อวิเคราะห์ว่า พวกเขาดูแลกันอย่างไร บนระยะทางที่ห่างไกลกัน 

“สิ่งที่ครอบครัวทำได้เป็นอย่างดี คือการพัฒนาแนวปฏิบัติในการใช้โทรศัพท์ มันอาจเป้นการโทรทุกสัปดาห์ มันอาจเป้นวันละครั้งเพื่ออ่านนิทานให้เด็ก ๆ ฟัง หรือโทรวันละครั้งเพื่อสอนภาษาแม่ให้กับพวกเขา จุดสำคัญตรงนี้นั้นก็เพื่อพัฒนาเป็นธรรมเนียมและกิจวัตร เพราะนั้นเป็นสิ่งทำให้ผู้คนรู้สึกใกล้ชิด รู้สึกว่าความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ และยังเป็นอีกทางหนึ่งในการแบ่งปันเรื่องราว รวมถึงการถามสารทุกข์สุขดิบ และสร้างความรู้สึกของความใกล้ชิดแม้จะอยู่ห่างไกลกัน” ศาสตราจารย์บัลดาสซา กล่าว    

การรวมกันของกิจวัตร ธรรมเนียมปฏิบัติ และการสื่อสารในช่วงวิกฤต ศาสตราจารย์บัลดาสซา กล่าวว่า ไม่เพียงแต่จะสร้างความรู้สึกของการเชื่อมโยงกันในโลกดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังหมายถึง การทำให้ญาติพี่น้องได้มาพบกันจริง ๆ มากขึ้น 

“สิ่งที่เราพบก็คือ ยิ่งมีการใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างพร้อมหน้ามากขึ้นเพียงใด การใช้เวลาในโลกออนไลน์ร่วมกันก็จะมากขึ้นไปด้วย และยิ่งใช้เวลาบนโลกออนไลน์ร่วมกันมากขึ้น ความต้องการที่จะมาพบกันอย่างพร้อมหน้าอีกครั้งก็จะมีมากขึ้น ดังนั้น สมาชิกครอบครัวที่เจอกันครั้งแรกผ่านวิดีโอคอลทาง Skype พวกเขาจะมีความต้องการที่จะเก็บเงินเพื่อมาพบญาติพี่น้องมากขึ้น ดังนั้น เราจึงต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของกันและกัน ทั้งในโลกออนไลน์ และในโลกความจริง” ศาสตราจารย์บัลดาสซา กล่าว

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share