ความต้องการอาหารบรรเทาทุกข์พุ่งจากวิกฤตล็อกดาวน์ซิดนีย์

องค์กรการกุศลด้านความช่วยเหลือทางอาหารเผยความต้องการอาหารบรรเทาทุกข์ในรัฐนิวเซาท์เวลส์พุ่งสูงจนเสบียงขาดแคลน จากผลกระทบมาตรการล็อกดาวน์นครซิดนีย์ตั้งแต่ปลายเดือนที่ผ่านมา

Demand for emergency food relief has spiked during the Greater Sydney lockdown.

Demand for emergency food relief has spiked during the Greater Sydney lockdown. Source: Foodbank

ประเด็นสำคัญ

  • ฟูดแบงค์ (Foodbank) องค์กรการกุศลด้านอาหารบรรเทาทุกข์เปิดเผยว่า มาตรการล็อกดาวน์ในนครซิดนีย์ ส่งผลให้ความต้องการอาหารบรรเทาทุกข์ในรัฐนิวเซาท์เวลส์พุ่งสูงกว่า 200%
  • นอกจากพื้นที่ในนครซิดนีย์ มีความต้องการอาหารบรรเทาทุกข์ในมณฑลนครหลวงออสเตรเลีย และพื้นที่ห่างไกลในรัฐนิวเซาท์เวลส์ หลังผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ขยายวงไปทั่วรัฐ
  • นอกจากรายได้และอาหารที่ขาดแคลน เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ สุขภาพจิตของประชาชนยังได้รับผลกระทบเช่นกัน

ชุดอาหารบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน กำลังถูกบรรจุหีบห่อและจัดส่งไปยังผู้คนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ในทุก ๆ วัน องค์กรเพื่อการกุศลชั้นนำระบุว่า ความต้องการชุดอาหารฉุกเฉินเหล่านี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 200% ระหว่างมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่มหานครซิดนีย์และปริมณฑล

ฟูดแบงค์ (Foodbank) หรือธนาคารอาหาร ระบุว่า พวกเขาได้ให้ความช่วยเหลือผู้คน โดยการมอบชุดอาหารบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินให้กับประชาชนในพื้นที่มหานครซิดนีย์และปริมณฑล (Greater Sydney) บลูเมาเทนส์ (Blue Mountains) เซนทรัล โคสท์ (Central Coast) และวูลลองกอง (Woollongong) มากกว่า 10,000 ชุด นับตั้งแต่มีการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ ในวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยการส่งชุดอาหารดังกล่าวเพิ่มสูงถึง 210%

โดยในแต่ละวัน มีชุดอาหารบรรเทาทุกข์ที่ได้รับการบรรจุหีบห่ออยู่ระหว่าง 2,500 – 3,500 ชุด
เราพบเห็นความต้องการอาหารบรรเทาทุกข์เพิ่มขึ้นอย่างมาก นายจอห์น โรเบิร์ตสัน (John Robertson) ประธานบริหารของฟูดแบงค์ นิวเซาท์เวลส์ กล่าว
“สำหรับชาวรัฐนิวเซาท์เวลส์นับหมื่นคนในตอนนี้ ความจริงที่โหดร้ายของการไม่มีเงินซื้อปัจจัยหลักเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวนั้นเป็นเรื่องที่เลวร้ายมาก”

นอกจากนี้ ชุดอาหารบรรเทาทุกข์ยังได้ถูกส่งไปให้ประชาชนในกรุงแคนเบอร์รา และพื้นที่ห่างไกลในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่มีชุมชนของชนพื้นถิ่นของออสเตรเลียอีกด้วย
พื้นที่มหานครซิดนีย์และปริมณฑลอาจจะอยู่ในมาตรการล็อกดาวน์ แต่ผลกระทบนั้นเป็นที่รู้สึกได้ไปทั่วรัฐ นายโรเบิร์ตสัน กล่าว
“เมื่อการล็อกดาวน์ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปีก่อน เรายังได้พบกับความไม่มั่นคงทางอาหาร แต่ผลกระทบในครั้งนี้เป็นที่สังเกตได้มากขึ้น ประกอบกับบรรดาร้านค้าปลีกที่ไม่มีความจำเป็น และการก่อสร้างที่ปิดทำการ เราคาดว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นในช่วงหลังของสัปดาห์นี้”

นายโรเบิร์ตสัน กล่าวว่า ฟูดแบงค์กำลังช่วยเหลือผู้คนมากกว่า 170,000 คนในเดือนกรกฎาคมนี้ ร่วมกับองค์กรการกุศลและโรงเรียนมากกว่า 1,000 แห่ง
เรามีความยากลำบากในการส่งเสบียงอาหารไปยังครอบครัว และฟูดแบงค์กำลังซื้อสินค้าส่วนใหญ่อย่างข้าว แครกเกอร์ เนื้อกระป๋อง และผัก เพราะสิ่งของจากการบริจาคนั้นไม่เพียงพอ นายโรเบิร์ตสัน กล่าว
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ปันน้ำใจไทยสู่สังคมออสซี่ด้วย "ตู้ปันสุข"

'วิกฤตใหญ่'

คุณเนฮา (Neha) นักศึกษาต่างชาติที่กลายเป็นผู้ว่างงานเมื่อไม่นานมานี้ เป็นหนึ่งในผู้ที่ประทังชีวิตด้วยอาหารบรรเทาทุกข์จากฟูดแบงค์
ฉันตกงาน 2 รอบในช่วงล็อกดาวน์ และไม่มีงานทำมาตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน พ่อแม่ของฉันอยู่ที่ประเทศอินเดีย และเราดึงเงินเก็บออกมาใช้ทั้งหมดในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา คุณเนฮา กล่าว
ออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่มีความมั่นคงทางอาหารสูงสุด ซึ่งสร้างผลผลิตมากกว่าที่ประชากรทั้งประเทศสามารถบริโภคได้ และส่งออกผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ต่างประเทศคิดเป็นอัตราราวร้อยละ 70

แต่ถึงกระนั้น ฟูดแบงค์ได้ประมาณว่า มีประชาชนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (NSW) และมณฑลนครหลวงออสเตรเลีย (ACT) ร้อยละ 65 ที่เข้าถึงความช่วยเหลือด้านอาหาร นับตั้งแต่สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา ขณะที่หลายครอบครัวต่างต้องดิ้นรนในหลายวิธีเพื่อรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น
พ่อแม่หลายคนอาจตัดสินใจอดอาหารเพื่อให้ลูกๆ มีกิน หรือทั้งครอบครัวอาจต้องรับประทานอาหารแค่วันละ 1-2 มื้อ เพราะนั้นคือกำลังซื้อทั้งหมดที่พวกเขามี นายโรเบิร์ตสัน กล่าว
Foodbank staff and volunteers are busy packing hampers in Sydney's west.
Foodbank staff and volunteers packing hampers in Sydney's west. Source: Foodbank
“ในตอนนี้ หลายคนกำลังขอความช่วยเหลือทางอาหารเป็นครั้งแรก ไม่ใช่เพราะพวกเขาตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต  แต่พวกเขาต้องใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน”

“นี่เป็นวิกฤตใหญ่ ผู้คนจำนวนมากพบว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่พวกเขาไม่เคยคาดคิดมาก่อน”

นายจอน โอเวน (Jon Owen) ประธานบริหารจากมูลนิธิเวย์ไซด์ ชาเปล (Wayside Chapel) กล่าวว่า ผู้คนรู้สึกวิตกกังวลว่าอาหารมื้อหน้าของพวกเขาจะมาจากไหน

“เราห่วงใยผู้คนที่ประสบกับความยากลำบาก มีผู้คนจำนวนมากที่มีชีวิตอย่างยากแค้นอยู่ตามท้องถนน” นายโอเวน กล่าว
สิ่งที่เราพบเห็นในเวลานี้ คือหลายครอบครัวไม่อาจรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และหารายได้ไม่พอประทังชีวิต
นายโอเวน กล่าวว่า มาตรการล็อกดาวน์นั้น ได้นำไปสู่ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้น และได้กระตุ้นให้ผู้คนที่รู้สึกหดหู่ให้ความช่วยเหลือกับผู้อื่นที่ด้อยโอกาส

“ช่วงสองสามสัปดาห์นี้เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่เส้นทางสู่ความมีสุขภาวะด้านสุขภาพจิตนั้นคือการมีความห่วงใยต่อผู้อื่น และการออกมาจากโลกของคุณเอง” นายโอเวน กล่าว

คุณเนฮา กล่าวว่า เธอรู้สึกขอบคุณสำหรับชุดอาหารบรรเทาทุกข์จากฟูดแบงค์ และหวังว่าเธอจะสามารถตอบแทนได้ในท้ายที่สุด
ฉันหวังว่า สักวันหนึ่งฉันจะตอบแทนสิ่งนี้ โดยการช่วยเหลือผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลือเช่นเดียวกับฉัน คุณเนฮา กล่าว
สำหรับผู้ที่ประสงค์จะบริจาคอาหาร คุณสามารถทำได้ที่เว็บไซต์ของฟูดแบงค์

หากคุณต้องการการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต คุณสามารถติดต่อบิยอนด์ บลู (Beyond Blue) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1300 22 4636 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์

เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิต สำหรับผู้ที่มีภูมิหลังที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

‘คนทำความสะอาด’ เบื้องหลังความอุ่นใจในวิกฤตโควิด


Share
Published 22 July 2021 12:31pm
Updated 22 July 2021 12:50pm
By Sandra Fulloon
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends