แหล่งเงินกู้ทางเลือกสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหน้าใหม่

การกู้เงินมาเริ่มต้นกิจการจากธนาคารอาจเป็นเรื่องยากสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหน้าใหม่ โดยเฉพาะผู้อพยพย้ายถิ่นที่อยากเปิดกิจการเป็นของตัวเอง แต่ก็ยังมีอีกทางเลือกทำให้ฝันเป็นจริงได้

You can read the full article in English 

ผู้อพยพย้ายถิ่นในออสเตรเลียเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กถึง 1 ใน 3 จากกว่า 2 ล้านกิจการทั่วประเทศ แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มีธุรกิจหลายแห่งกลับต้องปิดตัวลงเนื่องจากขาดทุนทรัพย์ 

นางเคท คาร์เนล (Kate Carnell) จากคณะกรรมาธิการธุรกิจขนาดเล็ก และกิจการครอบครัวแห่งออสเตรเลีย (Australian Small Business and Family Enterprise Ombusman หรือ ASBFEO) ระบุกับเอสบีเอส สมอล บิสซิเนส ซีเคร็ท ว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นหรือผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก และไม่มีสินทรัพย์หรือกรรมสิทธิ์ในหุ้นส่วนห้างร้านเป็นหลักแหล่ง การขอกู้เงินจากธนาคารนั้นเป็นเรื่องยากลำบาก แล้วเราจะต้องเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้

“ธุรกิจขนาดเล็กต้องการแหล่งเงินทุนในการที่จะเติบโตและมีความมั่งคั่ง แต่ทว่าธนาคารใหญ่ๆ หลายแห่งกลับปฏิเสธที่จะอนุมัติเงินกู้ให้กับกิจการที่ยื่นขอมามากกว่า 1 ใน 3 หากเราต้องการให้ธุรกิจเดินหน้า และหากเราเล็กเห็นถึงปัญหาการว่างงานอย่างแท้จริง เราจำเป็นจะต้องให้ธุรกิจเหล่านั้นดำเนินกิจการได้” นางคาร์เนลกล่าว
Ombudsman Kate Carnell is an independent advocate for small business owners.
Ombudsman Kate Carnell is an advocate for small business owners. Source: SBS
มีข้อมูลจากงานวิจัยที่ระบุว่า พบช่องว่างของแหล่งเงินทุนระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลางอยู่ราว $83,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการปล่อยเงินกู้ที่รัดกุมขึ้น หลังการสอบสวนการธนาคารของออสเตรเลีย โดยคณะกรรมการไต่สวนในพระองค์ (Banking Royal Commission) 

นางคาร์เนลยังระบุอีกว่า เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กในออสเตรเลียจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 ได้รับการปฏิเสธการขออนุมัติเงินกู้จากธนาคารใหญ่ๆ หลายแห่ง

“เจ้าของกิจการหลายแห่งมักจะไม่ขอเงินกู้ จนกว่าพวกเขาจะมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ประกอบการอย่างชัดเจน เพราะกลัวว่าจะไม่ได้รับการอนุมัติ” นางคาร์เนลกล่าว

และมันจะยิ่งยากขึ้นไปอีก หากผู้ประกอบการเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวที่อายุยังน้อย หลายรายไมได้มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าสถานประกอบการ

อุปสรรค์สำหรับผู้อพยพย้ายถิ่น

นางลีย์เลตต์ คาเลจา ที่ปรึกษาด้านการเงินผ่านระบบคลาวด์คอมพิวเตอร์ ผู้มีประสบการณ์ในการบัญชีและการเงินมากว่า 25 ปี 

“เจ้าของกิจการขนาดเล็กส่วนมากไม่รู้ว่ามีทางเลือกอื่นใดบ้างที่พวกเขามี” นางคาเลจากล่าว

ด้วยลูกค้าของเธอส่วนหนึ่งที่เป็นผู้อพยพย้ายถิ่น ทำให้เธอทราบดีถึงอุปสรรคต่างๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญ
Cafe
Migrant-owned businesses in Australia are struggling to get support from banks, the Ombudsman says Source: Maxpixel
“มันเป็นเรื่องง่าย ในการขอมีบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต แต่เมื่อเป็นเรื่องเงินกู้ ผู้ที่เพิ่งย้ายมาใหม่ ซึ่งยังไม่ได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ และอาจไม่ได้เป็นพลเมืองออสเตรเลียในทางการเก็บภาษี มันเป้นเรื่องที่เห็นได้ชัยว่ายากลำบากในการขอเครดิตเงินกู้ในตอนนี้ ถึงแม้ว่าคุณจะมีบัญชีการเงินที่ที่น่าเชื่อถือ แต่ก็ไม่มีอะไรประกันว่าจะได้รับการอนุมัติ โดยเฉพาะหาคุณทำงานอาชีพอิสระ” นางคาเลจากล่าว 

นอกจากนี้ นางคาเลจา ยังกล่าวอีกว่า การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน กำลังส่งผลกระทบเป้นวงกว้างให้กับวงการผู้ประกอบการค้าปลีก 

“มันเป็นเรื่องน่าเศร้ามากที่ต้องเห็นร้านกาแฟและร้านอาหารหลายแห่งต้องปิดกิจการ เหล่านั้นก็อาจเป็นของผู้อพยพย้ายถิ่นที่มาตามความฝันในออสเตรเลีย แต่ว่ามันไม่มีทางเป็นจริง ฉันไม่เคยเห็นธุรกิจที่ต้องปิดกิจการเพราะขาดแหล่งเงินทุนมากขนาดนี้ เมื่อคุณเดินไปตามศูนย์การค้าท้องถิ่น แล้วเห็นป้ายให้เช่าเรียงอยู่มากมาย มันทำให้ฉันรู้สึกเศร้าใจ” นางคาเลจากล่าว

ทางเลือกขอเงินกู้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากธนาคาร

ตามปกติแล้ว มีกิจการขนาดเล็กมากกว่าร้อยละ 80 ที่ยังต้องพึ่งพาสินเชื่อเงินกู้จากธนาคาร ในขณะเดียวกัน สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในการเข้ามาเติมเต็มช่องว่างของแหล่งเงินทุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางกว่า  $83,000 ล้านดอลลาร์ในขณะนี้

นายแฮรี กรีวอล (Harry Grewal) นักตรวจสอบบัญชี ได้เริ่มต้นกิจการด้านการขนส่งเมื่อ 2 ปีก่อน เจ้าของกิจการอายุ 36 ปีรายนี้ได้รับสินเชื่อเงินกู้เป้นมูลค่ากว่า $1.3 ล้านดอลลาร์ จาก Scottish Pacific Business Finances 

โดยในขณะนี้ เขาเป็นเจ้าของพาหนะขนส่งในกิจการที่นครซิดนีย์ 11 คัน
Accountant Harry Grewal obtainedt non-bank finance to start his transport business.
Accountant Harry Grewal obtainedt non-bank finance to start his transport business. Source: SBS
“ในฐานะธุรกิจสตาร์ทอัพ ผมรู้ว่าธนาคารหลายแห่งจะไม่ปล่อยเงินกู้ให้ผู้ยื่นขอที่ไม่มีประวัติการซื้อขาย” นายกรีวอลกล่าว

แม้ธุรกิจของเขาจะเดินหน้าอย่างราบลื่นติดต่อกันมาเป็นเวลา 2 ปี นายกรีวอลกล่าวว่า เขาจะไม่กลับไปพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากธนาคารอีก

“แม้เราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงกว่า (ธนาคาร)  แต่ทุกอย่างก็เป็นไปอย่างราบลื่น” นายกรีวอลกล่าว

นอกจากนี้ สถาบันการเงินเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางอย่างธนาคารยูโด (Judo Bank) ก็ยังให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในออสเตรเลียให้มีกิจการเป็นของตัวเองได้ โดยธนาคารดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ และสามารถระดมเงินทุนได้ถึง $400 ล้านดอลลาร์ ในการระดมทุนรอบสองที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ของธุรกิจสตาร์ทอัพของออสเตรเลีย

โดยภายในสิ้นปี 2019 คาดว่าธนาคารยูโดแบงค์ จะปล่อยสินเชขื่อเงินกู้เป็นมูลค่ามากกว่าพันล้านดอลลาร์ โดยมุ่งไปที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง

นายโจเซฟ ฮีย์ลี หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งยูโดยแบงค์ กล่าวว่า มันมีความผิดพลาดเกิดขึ้น และธนาคารชั้นนำไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กได้

“ในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ผู้ประกอบการต้องการให้ธนาคารเห็นว่า พวกเขาพยายามที่จะทำอะไร ไม่ว่าพวกเขาจะขายเนื้อ ทำเบเกอรี หรือหล่อเทียน พวกเขาต้องการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญถึงโอกาสในการทำให้ธุรกิจเติบโต แต่ธนาคารไม่ถามคำถามเหล่านี้ (ธนาคาร) จะถามพวกเขาเพียงแค่ว่า บ้านของคุณมีมูลค่าเท่าไหร่ แล้วเราจะให้คุณกู้ในวงเงินร้อยละ 60 จากมูลค่านั้น” นายฮีย์ลีกล่าว

แนวทางสนับสนุนสำหรับเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่

เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นางคาร์เนล กรรมาธิการจาก ASBFEO ได้เผยแพร่แหล่งข้อมูลสำหรับผู้ที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจ ในการรับมือกับปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการเงิน Scottish Pacific Business Finances 

ได้เล็งไปที่ผู้เชี่วยชาญด้านธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ในการให้คำปรึกษาเจ้าของกิจการด้านการตัดสินใจทางการเงิน และ  ที่จะให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นมีสภาพทางการเงินที่สมบูรณ์
Scottish Pacific Business Finance CEO Peter Langham and Ombudsman Kate Carnell developed the guides to help small business.
Scottish Pacific Business Finance CEO Peter Langham and Ombudsman Kate Carnell developed the guides to help small business. Source: Supplied
“แนวทางดังกล่าวยังได้มุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เผชิญกับปัญหาอื่นๆ เช่น หลุมพรางจากบัตรเครดิต ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของกิจการใช้บัตรเครดิตสำหรับธุรกิจจนเต็มวงเงิน และสุดท้ายต้องจ่ายดอกเบี้ยราคาแพง” นางคาร์เนลกล่าว

นอกจากนี้ แนวทางดังกล่าวยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจะต้องพบ

“ในแนวทางของเราจะมีแผนผังการตัดสินใจทางการเงิน ที่จะเริ่มต้นโดยการถามคุณว่า คุณกำลังที่จะกู้เงิน หรือมองหาการลงทุน และมันจะทำให้เรื่องเหล่านี้ชัดเจนว่าคุณจะดำเนินการต่อไปอย่างไร” นางคาร์เนลกล่าว


นายปีเตอร์ แลงแฮม (Peter Langham) ได้ก่อตั้งสถาบันการเงิน Scottish Pacific เมื่อ 30 ปีก่อน มีการคาดการณ์ว่า สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารแห่งนี้จะปล่อยเงินกู้ราว $1,300 ล้านดอลลาร์ ให้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่

“ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กนั้นไม่มีเวลามาก และพวกเขาก็ทุ่มเทให้กับธุรกิจของตัวเอง ดังนั้น การที่พวกเขาจะทราบว่ามีทางเลือกอื่น (นอกจากธนาคาร) นั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก” นายแลงแฮมกล่าว

นอกจากนี้ นางคาร์เนลกล่าวอีกว่า ธุรกิจขนาดเล็กยังคงสามารถได้รับการสนับสนุนจากธนาคารในเรื่องเงินทุนได้ เนื่องจากขณะนี้ธนาคารหลายแห่งได้ทยอยปล่อยสินเชื่อแบบทันใจสำหรับลูกค้าเดิมด้วยเช่นกัน

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 5 August 2019 12:05pm
Updated 5 August 2019 12:34pm
By Sandra Fulloon
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS Small Business Secrets


Share this with family and friends