ไทยเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหาร 2014

NEWS: ชาวไทยไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่การก่อรัฐประหารของทหารในปี 2014 (พ.ศ.2557) โดยมีประชาชนกว่า 50 ล้านคนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

You can read the full article in English

คูหาเลือกตั้งต่างๆ เปิดให้ประชาชนไทยไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐประหารในปี 2014 คาดว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิในอัตราสูง ขณะเดียวกัน มี ร.10 โปรดเกล้าฯ อัญเชิญพระบรมราโชวาท ร.9 ให้ประชาชน ส่งเสริมคนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือนร้อน

การเลือกตั้งไทยในวันอาทิตย์เป็นการประชันกันระหว่างรัฐบาลทหารหัวอนุรักษ์นิยม กับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในอดีต และกระแสที่ยากคาดเดาของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

ประเทศไทยยังคงแตกแยกเป็นหลายฝักหลายฝ่าย แม้ว่ารัฐบาลทหารได้ให้คำมั่นจะช่วยนำความสงบมั่นคงสู่ประเทศหลังความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองที่เกิดขึ้นมานานนับสิบปี การประท้วง และการก่อรัฐประหาร

นักการเมืองจากทั่วทุกพรรคต่างเกรงว่าจะเกิดสถานการณ์เสมอกันจนเกิดทางตัน เนื่องจากกฎการเลือกตั้งใหม่จำกัดโอกาสที่พรรคใดพรรคหนึ่งจะมีเสียงในรัฐสภาอย่างท่วมท้น

ผู้มีสิทธิิออกเสียงเลือกตั้งต่างมุ่งมั่นที่จะไปใช้สิทธิของตนเป็นครั้งแรก หลังจากไม่มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยมานานหลายปี โดยในกรุงเทพมหานครนั้นประชาชนต่างเดินทางไปยังหน่วยเลือกตั้งกันตั้งแต่เช้าของวันอาทิตย์

"ประชาชนต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง" อภิยดา ศวาราชล นักธุรกิจผู้หนึ่งที่ไปใช้สิทธิที่หน่วยเลือกตั้งแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ กล่าว พร้อมบอกว่า "ประชาชนไทยยังคงแบ่งแยกเป็นสองฝ่าย"

"เราไม่มีสิทธิที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองมา 5 ปีแล้ว" วศา อนุพัมนต์ แพทย์วัย 28 ปี กล่าว "ฉันตื่นเต้นมากเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้"
Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha gestures as he stands in a line to cast his vote at a polling station in Bangkok.
Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha gestures as he stands in a line to cast his vote at a polling station in Bangkok. Source: AAP

พระบรมราโชวาท

เมื่อวันเสาร์ ที่ 23 มีนาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระห่อมให้เลขาธิการพระราชวังอัญเชิญพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานไว้ในปี 1969 (พ.ศ. 2512) ความตอนหนึ่งว่า

"ขอให้ทราบถึงสิ่งสำคัญในการปกครองไว้ว่าในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"

การของตัวเลขที่มากกว่า

พรรคของอดีตสมาชิกรัฐบาล คสช. ซึ่งเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหากชนะเลือกตั้งนั้น อยู่ภายใต้ความกดดันอย่างสูงที่จะต้องหลีกเลี่ยงความอับอายขายหน้าในการเลือกตั้งวันนี้ ซึ่งจะว่าไปแล้วเหมือนเป็นการลงประชามติของประชาชนว่าให้ความนิยมกับรัฐบาลทหารเพียงไร

คณะ คสช. ที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของนางสาวย่ิงลักษณ์ ชินวัตร ในปี 2014 (พ.ศ.2557) โดยเป็นรัฐประหารครั้งที่ 12 ภายในระยะเวลาราว 100 ปี

กองทัพและพันธมิตรของกองทัพ ซึ่งเป็นชนชั้นสูงในกรุงเทพมหานคร เกลียดชังตระกูลชินวัตร โดยกล่าวหาว่าบ่อนทำลายการเมืองและสังคมไทย ด้วยเงิน การเล่นพวกพ้อง และการฉ้อราษฎร์บังหลวง

ขณะที่ตระกูลชินวัตร กล่าวว่า พวกเขาแค่ตระหนักดีเรื่องความมุ่งหวังทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตยของคนไทยส่วนใหญ่

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ กฎการเลือกตั้งใหม่ถูกออกแบบมาเพื่อจำกัดจำนวนที่นั่งของพรรคใหญ่ต่างๆ โดยเฉพาะจำนวนที่นั่งที่พรรคเพื่อไทย ภายใต้ตระกูลชินวัตร สามารถได้ชัยชนะจากการเลือกตั้ง

คาดกันว่าพรรคเพื่อไทยจะกวาดที่นั่งได้ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกเช่นเคย โดยพรรคเพื่อไทยหวังจะได้จัดตั้งรัฐบาลพรรคร่วม ที่ต่อต้านการปกครองโดยทหาร
Thai Future Forward Party co-founder and leader Thanathorn Juangroongruangkit (C) casts his ballot at a polling station during the general election in Bangkok.
Thai Future Forward Party co-founder and leader Thanathorn Juangroongruangkit (C) casts his ballot at a polling station during the general election in Bangkok. Source: AAP
แต่ระบบการเลือกตั้งใหม่ที่มีวุฒิสภา 250 คนจากการเลือกแต่งตั้งของ คสช. หมายความว่า พลเอกประยุทธ์และพรรคของอดีตสมาชิกรัฐบาล คสช. คือพรรคพลังประชารัฐ เป็นต่อทุกพรรค

ด้วยเสียงจากวุฒิสมาชิกในเมือง พรรคพลังประชารัฐต้องการเพียง 126 เสียงในสภาผู้แทนราษฎร ที่จะได้เสียงข้างมากในรัฐสภา

แต่พรรคเพื่อไทยนั้น ต้องการ 376 เสียงในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจะได้เสียงข้างมากในรัฐสภา ซึ่งเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีเหตุการณ์ซับซ้อนที่ทำให้เกิดการเสมอกัน ไปทั่วทุกส่วนที่สนับสนุนประชาธิปไตย

"มีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะติดตาย (ภาวะทางตันทางการเมือง)" นภิสา ไวฑูรเกียรติ นักรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร บอกกับ เอเอฟพี

มีคนไทยกลุ่มมิลเลนเนียล 7 ล้านคนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ซึ่งพวกเขาจำนวนมากชื่นชอบนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เศรษฐีพันล้าน นักการเมืองรุ่นใหม่ ที่มีจุดยืนต่อต้านการปกครองภายใต้ทหาร และเอาชนะใจประชาชนคนอายุน้อย ที่กลายเป็นแฟนพรรคอนาคตใหม่มากมาย จากโพสต์ในโซเชียลมีดีต่างๆ ของนายธนาธร
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 24 March 2019 5:55pm
By AFP-SBS
Presented by SBS Thai
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends