เหตุผลจากผู้คนที่ปีนอูลูรูก่อนถูกห้าม

NEWS: การห้ามนักท่องเที่ยวปีนอูลูรูอีกต่อไปเป็นสัญลักษณ์ของ ‘การเริ่มต้นใหม่’ สำหรับการท่องเที่ยวที่ใส่ใจเรื่องความอ่อนไหวทางวัฒนธรรมมากขึ้น ผู้จัดการอุทยานแห่งชาติอูลูรู กล่าว แต่สำหรับนักท่องเที่ยวบางคน นั่นเป็นการปฏิเสธไม่ให้พวกเขาได้เข้าถึงสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของชาติ

รายการเอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full article in English

สำหรับเจ้าของดินแดนตามประเพณีดั้งเดิมที่ถือครองอุทยานแห่งชาติอูลูรู-คาตา ทจูทา นั้น วันที่ 26 ตุลาคมเป็นวันหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดในปฏิทิน เพราะเป็นวันครบรอบการที่รัฐบาลออสเตรเลียคืนสิทธิการถือครองพื้นที่อุทยาแห่งชาติดังกล่าวให้แก่ชาวพื้นเมืองในปี 1985

ในปีนี้ วันที่ 26 ตุลาคมจะมีความหมายพิเศษสำหรับชาวอะนานกู เพราะจะเป็นวันแรกที่จะห้ามการปีนโขดหินอูลูรูที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างถาวร

แต่สำหรับหลายๆ คน รวมทั้งคุณเทรนต์ พนักงานเหมืองแร่จากซิดนีย์ การปิดทางขึ้นสู่ยอดอูลูรูเป็นการปฏิเสธไม่ให้ชาวออสเตรเลียได้รับความรื่นรมย์จากสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติ

“ถ้าผมเกิดในวัฒนธรรมของพวกเขา ผมอาจเข้าใจมากขึ้น แต่เราทุกคนมีความเชื่อของเราเอง และผมคิดว่าผมควรสามารถปีนโขดหินนั้นได้” คุณเทรนต์ กล่าว
Trent
“Maybe if I was born into their culture I’d be more understanding … But we’ve all got our beliefs and I think I should be able to climb that rock,” says Trent. Source: The Feed
เป็นเวลาหลายสิบปีนับตั้งแต่ปี 1964 เมื่อมีการติดตั้งราวบันไดเหล็กยึดติดกับโขดหินอูลูรู รอยเท้าของนักท่องเที่ยวนับล้านๆ คนได้ก่อให้เกิดแผลเป็นสีขาวบนพื้นสีแดงของอูลูรู ไปจนถึงยอด

จากตำนานของชาวพื้นเมืองทจูคูร์พา เส้นทางการปีนอูลูรูดังกล่าวตัดผ่านเส้นทางที่คูนิยา ซึ่งเป็นงูหลามทรายใช้เลื้อยผ่าน

เมื่อมีการประกาศคำตัดสินห้ามปีนอูลูรูในเดือนพฤศจิกายน 2017 นายแซมมี วิลสัน ประธานกรรมการบริหารอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ อ้างถึงความศักดิ์สิทธิ์ของอูลูรูสำหรับชาวอะบอริจินส์ และความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์โหดหินยักษ์ดังกล่าวไว้ไม่ให้ได้รับความเสียหายหลังการประกาศในปี 2017

“มันเป็นสถานที่ที่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่ใช่สนามเด็กเล่น หรือธีมปาร์ค อย่างดิสนีย์แลนด์ เราต้องการให้คุณมาที่นี่ มาฟังเรา และเรียนรู้ เราได้ครุ่นคิดเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน”

สำหรับชาวอะนานกูแล้ว การห้ามนักท่องเที่ยวไม่ให้ปีนโขดหินอูลูรูไม่เพียงแต่เป็นการให้ความเคารพต่อตำนานที่มาของชาวพื้นเมืองทจูคูร์พาเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวที่พวกเขาต้อนรับสู่ดินแดนของพวกเขาด้วย เพราะการปีนอูลูรูนั้นอันตรายอย่างมาก

คุณไมค์ มิซโซ ผู้จัดการอุทยานแห่งชาติอูลูรู-คาตา ทจูทา บอกกับ เดอะ ฟีด ว่า มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว ‘กว่า 30 ราย’ นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อย่างไรก็ตาม สถิตินี้นับเฉพาะผู้ที่เสียชีวิตบนโขดหินอูลูรู แต่ไม่ได้รวมถึงผู้ที่เสียชีวิตในเวลาต่อมาจากภาวะหัวใจหยุดเต้นฉีบพลัน หรือการบาดเจ็บอื่นๆ ที่ได้รับขณะปีนอูลูรู
Uluru
Over 30 people have died attempting to climb Uluru. Source: The Feed
“หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น มันไม่เพียงกระทบความปลอดภัยของผู้ปีนเท่านั้น แต่กระทบความปลอดภัยของผู้ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือพวกเขาด้วย”

คุณมิซโซ กล่าวว่า การปิดไม่ให้ปีนอูลูรูเป็น การเริ่มต้นใหม่ เป็นการเริ่มต้นของการโอบอุ้มวิธีทางของการสำรวจอุทยานแห่งนี้อย่างเข้าใจในความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม ขณะที่เขายังไม่ยอมปริปากว่าจะมีสิ่งดึงดูดใจใหม่อะไรในอุทยานที่เขากำลังเตรียมการอยู่ แต่เขากล่าวว่า นักท่องเที่ยวจะไม่ผิดหวัง และเขาไม่คิดว่าการห้ามปีนอูลูรูจะส่งผลทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงแต่อย่างใด

จำนวนนักท่องเที่ยวที่ปีนอูลูรูนั้นลดลงจาก ผู้ที่ปีนคิดเป็นร้อยละ 74 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดในช่วงปีทศวรรษ 1990 ลดลงเหลือร้อยละ 13 ในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวพุ่งสูงขึ้นมาก เนื่องจากเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวปีสุดท้ายก่อนที่จะปิดไม่ให้ปีนอูลูรูอีกต่อไป

ผู้ที่มาปีนอูลูรูส่วนใหญ่เป็นชาวออสเตรเลียสูงอายุ

คุณมิซโซ กล่าวว่า “ถ้าจะแสดงความเห็นอย่างทั่วๆ ไป คนที่อายุน้อยจะสนับสนุนการปิดไม่ให้ปีน และอาจจะเชื่อมโยงกับหลายอย่างเช่น การได้รับการศึกษาเกี่ยวกับชาวพื้นเมืองที่โรงเรียนในช่วงหลายปีไม่นานนี้”
Uluru
Park Manager Mike Misso says the climb closure is a “new beginning” for the National Park, one that embraces culturally sensitive ways of exploring the park. Source: The Feed
คุณแองเจอลา เป็นครูที่เกษียณอายุแล้วจากเมลเบิร์น ซึ่งไปเยือนอูลูรูในสัปดาห์ที่ผ่านมา เธอบอกกับเดอะ ฟีด ว่า “ฉันเคยปีนอูลูรูเมื่อ 50 ปีกอ่น ฉันไปกับกลุ่มที่โรงเรียน แต่ฉันต้องขอบอกว่าในสมัยนั้นไม่เคยมีคำถามกันว่ามันเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์หรือเปล่า แต่ตอนนี้ มันไม่ใช่สิ่งที่ฉันอยากทำ”

คุณทอมเป็นไกด์นำชมรอบๆ อูลูรู แต่ไม่ได้พานักท่องเที่ยวขึ้นไปปีนอูลูรู เขาทำงานนี้เป็นช่วงๆ มา 11 ปีแล้ว เมื่อเขาบอกกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เขานำเที่ยวว่าเหตุใดชาวอะนานกูจึงขอร้องไม่ให้พวกเขาปีนอูลูรู นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะไม่ทำ แต่เขากล่าวว่า สารนี้เข้าถึงได้ยากสำหรับชาวออสเตรเลียสูงอายุ “พวกเขารู้ว่ามันผิด แต่ก็อยากทำอยู่ดี คุณเรียกว่าอะไรนะ เป็นการไม่ลงรอยกันของการรู้คิดใช่ไหม?”

คุณแอน เพื่อนของคุณแองเจอลา ซึ่งเป็นครูเหมือนกัน มีความสุขกับการแค่เพียงได้เดินรอบๆ อูลูรู มากกว่าจะต้องปีนหินศักดิ์สิทธิ์นี้ แต่เธอกล่าวว่า ไม่ง่ายเลยที่จะมองดูคนอื่นๆ เดินผ่านป้ายขอร้องไม่ให้นักท่องเที่ยวปีนอูลูรูโดยพวกเขาไม่ใส่ใจ
Uluru
Anne, left, says: “You can’t as one person think ‘I’m not harming anyone, I’m going to climb the rock.'" Source: The Feed
“มีจุดหนึ่งที่สามีของฉันกล่าวว่า เขารู้สึกว่าเขาจำเป็นต้องยับยั้งไม่ให้ฉันโกรธคนที่ปีน” เธอบอกกับ เดอะ ฟีด

“แต่ฉันคิดว่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของมันด้วย เราจะโกรธไม่ได้ เราต้องพยายามและถ่ายทอดสิ่งที่เรารู้สึกอย่างให้ความเคารพแก่ผู้อื่น เพราะไม่เช่นนั้น มันจะกลายเป็นเย้าแหย่กันระหว่างผู้คน ระหว่างพวกเรากับพวกเขา”

“มันเป็นเรื่องของการที่พวกเราให้ความเคารพ เคารพแม้แต่ผู้ที่กำลังทำในสิ่งผิด”

Share
Published 23 July 2019 11:52am
By Marcus Costello
Presented by Parisuth Sodsai
Source: The Feed


Share this with family and friends