อัตราเงินเฟ้อล่าสุดกระทบกับเงินในกระเป๋าของคุณอย่างไร

นักเศรษฐศาสตร์เผยข่าวดีของผู้บริโภคเกี่ยวกับข้อมูลอัตราเงินเฟ้อประจำไตรมาสเดือนมิถุนายน ซึ่งจะแถลงในวันนี้

Fruit and vegetables are stocked by a worker.

อัตราเงินเฟ้อด้านอาหารประจำปีลดลงร้อยละ 8 เทียบกับร้อยละ 9.2 ในไตรมาสก่อนหน้า Source: AAP / Joel Carrett

ประเด็นสำคัญ
  • จากข้อมูลวิเคราะห์อัตราเงินเฟ้อประจำปีประจำไตรมาสเดือนมิถุนายนคาดว่าจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 6
  • ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อใหม่นี้จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า
  • นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคคาดว่าจะลดลง แต่คาดว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยจะยังคงสูงดังเดิม
นับตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อประจำปีแตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปีที่ร้อยละ 7.8 ในไตรมาสเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ล่าสุดสถิติเงินเฟ้อของออสเตรเลียมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไปในไตรมาสเดือนมิถุนายน ซึ่งจะเผยแพร่ในช่วงใกล้เที่ยงวันนี้ 26 กรกฎาคม และนับเป็นข่าวดีสำหรับการบรรเทาค่าครองชีพ

การคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อประจำปีจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 6 เทียบกับร้อยละ 7 ในไตรมาสเดือนมีนาคม

แต่ตัวเลขนี้ยังสูงเป็นสองเท่าของอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางชี้ว่าเป็น "อัตราที่ต่ำและมีเสถียรภาพ" ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3

คุณ คริส ริชาร์ดสัน นักเศรษฐศาสตร์อิสระกล่าวว่า

“อัตราเงินเฟ้อยังคงค่อนข้างสูงอยู่ แต่ก็ลดลงค่อนข้างเร็วเช่นกัน มันยังไม่ใช่ตัวเลขที่น่าพอใจในออสเตรเลีย” อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่ามันเป็นสัญญาณที่ดี

คุณ ริชาร์ดสัน วิเคราะห์โดยอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.97 ในสหรัฐอเมริกา และเกือบเป็นศูนย์ในจีน เขากล่าวว่า

“ในตอนนี้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเศรษฐกิจของหลายประเทศตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 ถึงต้นปี 2566"

 

“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะที่เศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัว และมันกำลังทำให้เกิดภาวะเงินฝืดขึ้นทั่วโลก แต่ในปัจจุบันออสเตรเลียกลับเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งมันช้ากว่าประเทศอื่นๆ เกือบ 6 เดือน

"ออสเตรเลียก็มีโอกาสที่จะมีข่าวดีขึ้นตามลำดับ แต่ตอนนี้เรายังไม่ถึงจุดนั้น"

สำนักข่าวรอยเตอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งได้คาดการณ์ว่าในไตรมาสเดือนมิถุนายน ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปประจำปีโดยรวมจะลดลงเหลือร้อยละ 6.2 เทียบกับร้อยละ 7 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการคำนวนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับแล้วหลังจากลบรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงราคามากที่สุด ซึ่งคาดว่าจะลดลงเหลือ 6 เปอร์เซ็นต์จาก 6.6 เปอร์เซ็นต์

นั่นหมายถึงอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าตัวเลขที่ธนาคารกลางตั้งเป้าไว้ระหว่าง ร้อยละ 2- 3 ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อที่กำหนดไว้ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เพื่อใช้เป็นแนวทางวัดเสถียรภาพราคาสินค้าเพื่อแสวงหาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน นั่นอาจหมายความว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางรู้ว่าจะต้องมีกการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 ธนาคารกลางคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงมาเหลือร้อยละ 3 ภายในกลางปี 2525 หลังจากที่คาดว่าลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 เป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมปีนี้


ผลที่ตามมาด้านที่อยู่อาศัยและราคาสินค้า

จากข้อมูลเงินเฟ้อในไตรมาสเดือนมีนาคมพบว่าราคาที่อยู่อาศัยและสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาเพิ่มขึ้นสูงที่สุด

ตัวอย่างเช่น ค่าเช่าเพิ่มขึ้นสูงสุดต่อปี (ร้อยละ 4.9) นับตั้งแต่ปี 2510 ซึ่งตัวเลขนี้ "สะท้อนถึงความต้องการบ้านเช่าที่มากขึ้นในขณะที่มีจำนวนบ้านเช่าทั่วประเทศไม่มากนัก” ส่วนอัตราเงินเฟ้อด้านอาหารประจำปีอยู่ที่ร้อยละ 8 เทียบกับร้อยละ 9.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

 โดยตัวเลขนี้ใช้มาตรวัดเงินเฟ้อ หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งคำนวณโดยสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียตามการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่าย ได้มีการวิเคราะห์โดยนำเอารายการสินค้า 87 รายการ ใน 11 หมวดหมู่

ซึ่งจะมีการเปิดเผยตัวตัวเลขที่สำคัญต่างๆ และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ซึ่งไม่นับรวมรายการสินค้าบางอย่าง เช่น ผักและเชื้อเพลิงที่มีความผันผวนด้านราคามซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและระดับอุปทานน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงในตลาดโลก

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยแบบลบรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงราคามากและน้อยที่สุดนี้ บางครั้งเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งธนาคารกลางจะนำข้อมูลนี้มาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย

 คุณ คาสซาดรา วินซาร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส จากคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของออสเตรเลีย (CEDA) กล่าวว่าจากตัวเลขในข้อมูล CPI ประจำไตรมาสเดือนมิถุนายน มีแนวโน้มที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะลดลง เธอกล่าวว่า

"เราเห็นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งมีแนวโน้มว่าเราอาจมีข่าวดี”


"ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงกดดันของห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากน้ำท่วมหรือสภาพอากาศที่ผันผวนในช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้

 "แต่สำหรับครัวเรือนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เช่า ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด"

 เธอกล่าวว่าเมื่อพิจารณาถึงบทบาทของการย้ายถิ่น และปัจจัยของจำนวนผู้อพยพที่เข้ามาในออสเตรเลียถึง 400,000 คนต่อปีซึ่งนับถึงเดือนมิถุนายน ทำให้ผลกระทบสุทธิของอัตราเงินเฟ้อนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นกลาง

 "ผู้ย้ายถิ่นมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อเนื่องจากพวกเขาเพิ่มความต้องการสินค้าและบริการ โดยเฉพาะในตลาดบ้านเช่า ไม่ว่าความต้องการเช่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากการโยกย้ายถิ่นฐานหรือไม่ ตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อเช่าก็ค่อนข้างหายากอยู่แล้ว”

 "อีกด้านหนึ่ง ผู้ย้ายถิ่นก็เพิ่มอุปทานของแรงงานในระบบเศรษฐกิจและนั่นหมายความว่าเราสามารถผลิตได้มากขึ้น ดังนั้นมันจึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการผลิตของเศรษฐกิจของเรา และทำให้เศรษฐกิจของเราเติบโตได้โดยไม่ต้องเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นผู้ย้ายถิ่นจึงส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อได้ทั้งสองทาง และเมื่อนำปัจจัยทั้งสองมาคำนวณแล้ว แล้วการย้ายถิ่นฐานที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก"

ตัวเลขเงินเฟ้อมีความหมายอย่างไรต่อการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า

นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ออสเตรเลียมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 13 ครั้งด้วยกัน โดยที่เมื่อต้นเดือนนี้ อัตราดอกเบี้ยถูกระงับไว้ที่ร้อยละ 4.1

ซึ่งถือเป็นการระงับการขึ้นดอกบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 ที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 0.10 เป็นร้อยละ 0.35

และจากการประกาศอัตราการจ้างงานในสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีอัตราการว่างงานร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี ซึ่งจากตัวเลขนี้อาจเป็นปัจจัยในเพิ่มโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อคณะกรรมการธนาคารกลาง ในการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 1 สิงหาคม


LISTEN TO
SBS On the Money: What can be done about surging rents & global inflation easing image

SBS On the Money: What can be done about surging rents? & global inflation easing

SBS News

05/07/202310:09
คุณ คริส ริชาร์ดสัน นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่าตัวเลข CPI และอัตรารการว่างงานจะถูกนำมาพิจารณาการตัดสินใจเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง เขาอธิบายว่า

"มันก็มีทฤษฎีที่ว่าอัตราการว่างงานต้องเพิ่มขึ้นเพื่อลดอุปสงค์และทำให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่อัตราปกติ อัตราเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์นำหน้าอุปทาน สำหรับอุปทาน มันเป็นเรื่องของคนงาน เมื่อเป็นเรื่องของราคาค่าขนส่ง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หลายๆ ปัจจัย ซึ่งสถานการณ์มันกำลังดีขึ้น”

"มีโอกาสที่ธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งหากคุณเห็น CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ1 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่านั้น แต่ถ้าหากต่ำกว่านั้นพวกเขาอาจหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย"

ในมุมมองของเขา คุณ คริส ริชาร์ดสัน คิดว่าแม้ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปีที่แล้ว แต่มีโอกาสน้อยที่ออสเตรเลียจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย "เพราะว่าเรามีผู้ย้ายถิ่นและนักเรียนต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาในออสเตรเลีย" ทำให้ขนาดเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตขึ้น

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



 

Share
Published 26 July 2023 12:09pm
By Biwa Kwan
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends