นร.ไทยในออสฯ บางส่วนสนับสนุนการเคลื่อนไหว 'กลุ่มราษฎร'

Kanyanatt Kalfagiannis

Kanyanatt Kalfagiannis, of the Australian Alliance for Thai democracy Source: SBS News

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

นักเรียนไทยในออสเตรเลียจำนวนหนึ่งสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ 'กลุ่มราษฎร' ที่นำโดยนักศึกษาในประเทศไทย ขณะที่การชุมนุมอันยาวนานนับเดือนนี้มีโอกาสคลี่คลายน้อยลงทุกที ช่องว่างระหว่างคนต่างวัยก็กำลังขยายกว้างขึ้นเรื่อย ๆ



การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปี ซึ่งนำโดยนักศึกษา 'กลุ่มราษฎร' ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในส่วนของบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ และเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์​ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อดีดผู้บัญชาการกองทัพบกไทย ที่ได้ยึดอำนาจผ่านการทำรัฐประหารเมื่อปี 2014 ให้ลาออกจากตำแหน่ง

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (17 พ.ย.) ได้เกิดความรุนแรงครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่การชุมนุมที่นำโดยกลุ่มนักศึกษาเริ่มต้น เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลใช้แก๊สน้ำตา และรถฉีดน้ำแรงดันสูงกับผู้ชุมนุม 'กลุ่มราษฎร' ขณะที่มีผู้ชุมนุมกลุ่มบางส่วนเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล

ส่วนที่ออสเตรเลีย แม้การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยดังกล่าวจะมีผู้คนไม่มากนัก แต่พวกเขาก็ได้ส่งเสียงออกมาให้เป็นที่รับรู้ เช่นเดียวกับที่เมืองไทย
คุณกัญณัฏฐ์ คัลฟาจีอานิส (Kanyanatt Kalfagiannis) ได้ย้ายจากประเทศไทยมายังนครซิดนีย์เมื่อปีก่อน เธอกล่าวว่า มันเป็นเรื่องใจสลาย เมื่อเธอเห็นภาพการชุมนุมประท้วงที่เมืองไทย

“สิ่งที่ได้มองเห็นจากที่นี่ทำให้หัวใจสลายอย่างมาก อย่างแรกเลย เรารู้สึกไร้อำนาจที่จะทำสิ่งใดได้ และพวกเรารู้สึกว่าอยากจะทำในสิ่งที่เราทำได้เพื่อช่วยเหลือประเทศไทย นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงออกมาประท้วง และเราพยายามหาความช่วยเหลือจากนานาชาติด้วยเช่นกัน” คุณ กัญณัฏฐ์ กล่าว

คุณกัญณัฏฐ์ ได้ริเริ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ขยายไปทั่วออสเตรเลีย เพื่อยืนหยัดเคียงข้างการเคลื่อนไหวโดยกลุ่มนักศึกษาที่ประเทศไทย และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีชื่อว่า พันธมิตรออสเตรเลียเพื่อประชาธิปไตยไทย (The Australian Alliance for Thai Democracy)” ซึ่งได้เคลื่อนไหวไปถึงบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยที่กรุงแคนเบอร์รา และอาคารรัฐสภาออสเตรเลีย
Australian Alliance for Thai democracy protests in Canberra at the Thai embassy (L) and Parliament House (R)
Australian Alliance for Thai democracy protests in Canberra at the Thai embassy (L) and Parliament House (R) Source: Supplied
แม้จะอยู่นอกประเทศไทย แต่การท้าทายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งผู้คนให้ความเครารพนับถือ ในรูปแบบใดก็ตาม อาจส่งผลร้ายต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์ ด้วยความผิดในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากกฎหมายอาญามาตรา 112 (Lèse-majesté)

“ฉันรู้ว่า ถ้าฉันออกมาประท้วงหน้าสถานทูตไทยกรุงแคนเบอร์รา ฉันอาจถูกห้ามไม่ให้เดินทางกลับประเทศของฉันเองได้ แต่ฉันยินดีที่จะทำ หากมันจะช่วยเหลือผู้ประท้วงในประเทศไทยและช่วยเรื่องความปลอดภัยของพวกเขา” คุณ กัญณัฏฐ์ กล่าว

“ไม่ชนะก็ตาย มีโทษประหารที่กำลังรอพวกเราอยู่ ดังนั้น ผู้ประท้วงในประเทศไทยกำลังเสียสละทุกอย่างที่พวกเขามี

‘พระมหากษัตริย์คือทุกสิ่งทุกอย่าง’

คุณไก่ ฮิลแลม (Hkai Hillam) ซึ่งอาศัยอยู่ในออสเตรเลียมากว่า 40 ปี เธอกล่าวว่า ความจงรักภักดีต่อประเทศไทย และต่อพระมหากษัตริย์ไทยของเธอนั้น ยังหนักแน่นไม่เสื่อมคลาย

“พระมหากษัตริย์หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับคนไทย เพราะพระองค์ท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย พระมหากษัตริย์ทรงทำงานอย่างดีเยี่ยมเพื่อประเทศและช่วยเหลือผู้คนทั้งหมด” คุณไก่ ฮิลแลม กล่าว
Hkai Hillam says the Thai king "means everything" to the country.
Hkai Hillam says the Thai king "means everything" to the country. Source: SBS News
คุณไก่กล่าวอีกว่า สำหรับบางคนที่ไม่ได้เติบโตมาในประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ จะไม่เข้าใจถึงความสำคัญในส่วนนี้

“ผู้ที่ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือไม่มีพระมหากษัตริย์ในประเทศของตนย่อมไม่เข้าใจ พวกเราเติบโตมาแบบนั้น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเหมือนพ่อของชาติ พระราชินีทรงเป็นเหมือนแม่ของแผ่นดิน พวกเราเป็นเหมือนลูก เรามีความผูกพัน” คุณไก่ ฮิลแลม กล่าว

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ชุมนุมเรียร้องประชาธิปไตยนับพันคนไม่ให้ความสนใจกับขบวนเสด็จของพระมหากษัตริย์ไทย โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้กระทำสัญลักษณ์ชูสามนิ้ว ระหว่างที่ขบวนเสด็จเคลื่อนผ่านใจกลางกรุงเทพมหานคร

และเมื่อพระองค์เสด็จถึงพิธีเปิดโครงการเส้นทางรถไฟฟ้าทางตะวันตกของของกรุงเทพ ฯ พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับจากพสกนิกรผู้ภักดี และได้ตรัสถึงความสำคัญของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ด้านสำนักพระราชวังของไทยไม่แสดงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าว ขณะที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงตรัสเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทรงมีความรักต่อประชาชนที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน และประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอม
Image via Pixabay
Source: Pixabay
ขณะที่การประท้วงต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์เกิดขึ้น มีการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

สำหรับคุณไก่ ฮิลแลม เธอไม่รู้สึกเดือดร้อนกับการประท้วงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เธอยอมรับว่า มีผู้ประท้วงบางส่วนที่มุ่งใช้ความรุนแรงเป็นหลัก และรวมตัวกันเป็นจำนวนมากอย่างประมาท ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

“เรื่องการประท้วง เราไม่ถือสา ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย แต่พวกเขาก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย” คุณไก่ ฮิลแลม กล่าว

พระมหากษัตริย์ไทยทรงอยู่ในอำนาจสูงสุดของสังคมไทย และได้รับการสนับสนุนจากกองทัพฝ่ายราชวงศ์ และตระกูลมหาเศรษฐีในประเทศ พระองค์ใช้เวลาส่วนมากอยู่ในทวีปยุโรป แต่ล่าสุด พระองค์ได้ประทับอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว

ช่องว่างที่ห่างของคนต่างวัย

ดูเหมือนว่า ช่องว่างของคนต่างวัยจะขยายกว้างยิ่งขึ้น ระหว่างผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่เป็นคนรุ่นที่อายุน้อย และผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นคนรุ่นที่อายุมากกว่า

แม้แต่ในย่านไทย ทาวน์ ในนครซิดนีย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของคนไทยที่เต็มไปด้วยคนไทย อาหารไทย และวัฒนธรรมไทย ช่องว่างระหว่างคนต่างวัยนั้นชัดเจน

นักเรียนไทยบางคนบอกกับเอสบีเอส นิวส์ ว่า พวกเขาไม่กล้าที่จะแสดงความเห็นอย่างเปิดเผยต่อหน้ากล้องโทรทัศน์ เพราะพวกเขาเกรงว่าจะถูกพ่อแม่ของตนตำหนิ

คุณโทน บวชสันเที๊ยะ วัย 26 ปี ที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำโดยกลุ่มนักศึกษา และกำลังจะอาศัยอยู่ในออสเตรเลียครบ 6 ปี ในปี 2021 เขาบอกว่า ครอบครัวของเขามีความเห็นที่แตกต่างต่อการชุมนุมดังกล่าว

“คนในครอบครัวของผมมีความเห็นที่แตกต่าง บางคนก็ไม่เห็นด้วย บางคนก็เห็นด้วย” คุณโทน กล่าว
Tone Buadsantia
Tone Buadsantia says many young Thais want to see change Source: SBS News
เขากล่าวอีกว่า การเติบโตมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีที่มากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมาก เริ่มตั้งคำถามกับสถาบันพระมหากษัตริย์

“ในรุ่นเรา มีช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารมากมาย เมื่อเทียบกับคนรุ่นเก่า” คุณโทน กล่าว

คุณกัญณัฏฐ์ คัลฟาจีอานิส เห็นด้วยในส่วนนี้

“ในอดีต หลายสิ่งถูกนำเสนอเพียงด้านเดียว คนรุ่นเก่าจะรู้สึกว่า การไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้พวกเขารู้สึกไม่เป็นมนุษย์อีกต่อไป ส่วนคนรุ่นใหม่ พวกเขาเติบโตมาด้วยความคิดสดใหม่ และยุคของอินเตอร์เน็ตก็ได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง” คุณกัญณัฏฐ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม มีการกล่าวหาว่า กลุ่มผู้ชุมนุมที่นำโดยกลุ่มนักศึกษาเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ต้องการจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งพวกเขาได้ปฏิเสธ

“เรายังคงต้องการให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เรายังคงมีความเคารพ แต่สิ่งที่เราต้องการคือความเปลี่ยนแปลง” คุณโทน กล่าว

นายกรัฐมนตรีของไทยกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างญัตติต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนมากไม่ได้ระบุถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์

แต่ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในส่วนใดก็ตาม คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลานาน ขณะที่สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร มีความเป็นไปได้น้อยที่จะลงคะแนนเสียงให้ฝ่ายตนเองเป็นผู้พ่ายแพ้  

“ผู้คนในรุ่นของเราต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง เราเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้ และหากรัฐบาลไทยรับฟังเรา เราสามารถหาแนวทางในการปรับปรุงประเทศของเราไปด้วยกัน” คุณโทน บวชสันเที๊ยะ กล่าว

“ผมต้องการให้ทั้งสองฝ่าย หันหน้าเข้าหาหัน และมาพูดคุยกัน”
LISTEN TO
Thai students in Australia are backing the waves of protests in their homeland image

นร.ไทยในออสฯ บางส่วนสนับสนุนการเคลื่อนไหว 'กลุ่มราษฎร'

SBS Thai

19/11/202006:42

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share