สแกมเมอร์มาแนวใหม่ทำเป็นช่วยเหลือเหยื่อ

มิจฉาชีพใช้รูปกลอุบายรูปแบบใหม่ผ่านเทคโนโลยี หลอกชาวออสเตรเลียให้สูญเงินไปแล้วเกือบ 500 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว

Scammers are now targeting superannuation accounts during coronavirus crisis

Scammers are now targeting superannuation accounts during coronavirus crisis. Source: Getty Images

You can read the full article in English

มิจฉาชีพพบวิธีใหม่ที่หลีกเลี่ยงไม่ให้เหยื่อวางสายโทรศัพท์จากการที่แสร้งทำเป็นเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิก โดยกลยุทธ์ใหม่ที่ใช้คืออ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่กำลังพยายามตามจับมิจฉาชีพที่หลอกลวงประชาชน

องค์กรดูแลผู้บริโภคของออสเตรเลียเผยว่า ‘การหลอกขอข้อมูลเพื่อนำไปใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ’ กำลังทำให้ชาวออสเตรเลียจำนวนมากเสียรู้มิจฉาชีพ ขณะที่การสูญเสียจากการหลอกลวงทุกรูปแบบเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นเกือบ 500 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว

ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่รู้ว่าต้องวางสายเมื่อมีคนโทรศัพท์มาบอกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของพวกเขาถูกไวรัสเล่นงาน และคนที่โทรมาต้องการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของพวกเขาเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้

แต่ขณะนี้ อาชญากรเหล่านี้กำลังแสร้งทำเป็นตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของเทลสตรา (Telstra) ที่กำลังทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยอ้างว่าคอมพิวเตอร์ของเหยื่อถูกสแกมเมอร์แอบเจาะเข้าระบบแล้ว และพวกเขากำลังช่วยตามจับตัวมิจฉาชีพ

จากนั้นเหยื่อจะถูกหลอกให้บอกข้อมูลเพื่อให้สแกมเมอร์ที่โทรมาเข้าระบบคอมพิวเตอร์ได้ และส่งเงินให้เพื่อจะได้ ‘ตามหาเบาะแส’ ของผู้ลักลอบเข้าระบบได้ จากข้อมูลที่ระบุในรายงานการหลอกลวงล่าสุดของคณะกรรมาธิการการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย หรือเอทริปเปิลซี

หญิงสูงอายุผู้หนึ่งสูญเงินไปเกือบ 20,000 ดอลลาร์ หลังถูกขอให้ช่วยเหลือผู้รับเงินบำนาญคนอื่นๆ ติดตามหาเงินที่สูญไปผ่านบัตรไอทูน (iTune cards) รายงานของเอทริปเปิลซี เผย

เงินที่สูญไปจากการหลอกลวงเพื่อแอบเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อขึ้นสองเท่าเป็นจำนวนเงิน 4.76 ล้านดอลลาร์ในปี 2018

โดยเป็นเงินที่ถูกหลอกไปจากเหยื่อ 881 คน แม้ว่าจำนวนเงินโดยรวมของการถูกมิจฉาชีพหลอกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการรายงานให้เอทริปเปิลซีทราบนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ไปอยู่ที่จำนวนเงิน 11,344 ดอลลาร์ในปีที่แล้ว

โดยรวมแล้ว ชาวออสเตรเลียสูญเงินให้แก่มิจฉาชีพที่หลอกลวงมากเป็นประวัติการในปี 2018 ที่จำนวน 489.7 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดิม 340 ล้านดอลลาร์ จากกรณีที่มีการแจ้งในเอทริปเปิลซีและองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาลทราบในปีก่อน (2017)

“เงินที่สูญเสียไปมากเป็นประวัติกาลครั้งนี้เป็นแค่ส่วนน้อยของปัญหาที่เกิดขึ้นจริงอย่างมหาศาลเท่านั้น” นางดีเลีย ริคาร์ด รองประธาน เอทริปเปิลซี กล่าวเมื่อวันจันทร์ (29 เม.ย.)

“เรารู้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่สูญเงินให้กับมิจฉาชีพจะแจ้งให้องค์กรรัฐบาลทราบ”

การหลอกลวงด้านการลงทุนสร้างความเสียหายทางการเงินมากที่สุดอีกครั้งในปีนี้ โดยเหยื่อสูญเสียเงินไปให้แก่การหลอกลวงด้านการลงทุนรวมเป็นจำนวน 86 ล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 34) ตามมาด้วยการหลอกลวงแบบรักออนไลน์ (Romance scam) เหยื่อสูญเงินไปรวมกันในปี 2018 จำนวน 60.5 ล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 44)

นางริคาร์ด กล่าวว่า มิจฉาชีพกำลังใช้กลอุบายแบบเก่ากับเทคโนโลยีใหม่ โดยขอให้จ่ายเงินด้วยวิธีที่แตกต่างไปจากปกติ และใช้ข้อความโทรศัพท์อัตโนมัติเพื่อเพิ่มการเข้าถึงประชาชนที่พวกเขาเพ่งเล็ง

เอทริปเปิลซี กล่าวว่า ชาวออสเตรเลียหลายหมื่นคนตกเป็นเป้าหมายของการโทรศัพท์เข้ามาด้วยข้อความอัตโนมัติ ที่อ้างว่าประชาชนเหล่านั้นติดหนี้ภาษีกับกรมสรรพากรออสเตรเลีย (Australian Taxation Office หรือเอทีโอ) เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

ประชาชนเกือบ 19,455 คนแจ้งว่ามิจฉาชีพข่มขู่ที่จะจับกุมตัวพวกเขา ขู่ยึดทรัพย์สิน และแม้แต่ขู่จะเนรเทศพวกเขาออกจากออสเตรเลีย หากไม่จ่ายเงินให้ แต่มีเพียง 344 คนที่ตกเหยื่อ และสูญเงินไปเป็นจำนวนรวมกัน 3.3 ล้านดอลลาร์

Share
Published 29 April 2019 4:05pm
Updated 30 April 2019 10:45am
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AAP


Share this with family and friends