สถานะวีซ่าทำให้คุณถูกกีดกันจากงานที่อยากทำจริงไหม

"ตรรกะแบบวงกลม" ระหว่างงานและวีซ่าทำให้แรงงานย้ายถิ่นถูกลดโอกาสการทำงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และต้องหางานในอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเผชิญกับการถูกเลือกปฏิบัติและถูกเอารัดเอาเปรียบในที่ทำงานสูง

visa 2.jpg

ในออสเตรเลียเราจะเห็นความแตกต่างอย่างมากระหว่างทักษะที่แรงงานย้ายถิ่นมีกับอุตสาหกรรมที่พวกเขาทำงานอยู่

ประเด็นสำคัญ
  • นาย แมท คุนเคล ซีอีโอของ Migrant Workers Center กล่าวว่าการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานที่ถือวีซ่าชั่วคราวพบได้บ่อยครั้ง
  • จากผลการวิจัยในพบว่าหลายคนถูกกีดกันไม่ให้สมัครงานเนื่องจากสถานะวีซ่า
  • และจากการวิจัยยังพบว่าแรงงานข้ามชาติมักถูกเลือกปฏิบัติและถูกเอารัดเอาเปรียบในที่ทำงาน
“คุณเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในออสเตรเลียหรือคุณอาศัยในออสเตรเลียด้วยวีซ่า” ถ้าคุณอาศัยในออสเตรเลียด้วยการถือวีซ่า แล้วเป็นวีซ่าประเภทใด”

คำถามนี้มักจะเป็นคำถามแรกๆ ที่ถูกถามเมื่อกรอกใบสมัครงาน และเป็นคำถามหนึ่งที่

คุณ รัดหา นูเพน เชื่อว่าเธอจะถูกลดโอกาสที่จะได้ในงานนั้นไปแล้วครึ่งหนึ่งโดยอัตโนมัติ

 คุณ นูเพน เดินทางมายังออสเตรเลียจากเนปาลในปี 2560 กับ คุณ พราทิก ซิกเดล สามีของเธอ

 เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจและทำงานในสายงานนี้เป็นเวลาหกเดือนในประเทศบ้านเกิดของเธอก่อนที่จะย้ายมาออสเตรเลียเพื่อศึกษาต่อในสาขาการบัญชี และเธอหวังว่าจะได้ทำงานในธนาคารในตำแหน่งการให้บริการลูกค้า คุณ นูเพน เปิดเผยว่า

 “ทุกครั้งที่ฉันระบุสถานะวีซ่า ฉันก็ถูกปฏิเสธงานทันที”

A man and a woman standing by the water's edge.
Radha Neupane and her husband Pratik Sigdel say trying to finding work in the fields in which they have qualifications is challenging as migrants. Source: Supplied
เธอรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่เธอหวังได้และเธอจำเป็นต้องได้งานทำ เธอจึงใช้เวลาอีกหกเดือนในการเรียนประกาศนียบัตรระดับ 3 ในสาขาการดูแลส่วนบุคคลควบคู่ไปกับปริญญาโทด้านการบัญชี และเธอในที่สุดเธอก็ได้งานในสถานดูแลผู้สูงอายุ

เธอทำงานดูแลผู้สูงอายุเป็นระยะเวลาสี่ปีจนกระทั่งได้รับงานในอุตสาหกรรมที่เธอปรารถนาเมื่อปีที่แล้วนี้เอง

นาย แมตต์ คุนเคล ซีอีโอของ Migrant Workers Center กล่าวว่าการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานเหล่านั้นด้วยวีซ่าชั่วคราวนั้นพบได้บ่อยครั้ง

เขากล่าวว่ารายงานที่เผยแพร่โดยศูนย์แรงงานย้ายถิ่น เมื่อวันจันทร์ (20 มีนาคม) พบว่าหลายคนถูกกีดกันจากการสมัครงานบางประเภทเนื่องจากสถานะวีซ่าของพวกเขา นาย คุนเคล กล่าวว่า


“เรากำลังเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนกฎหมายการเลือกปฏิบัติ เพื่อให้การเลือกปฏิบัติต่อบุคคลบนพื้นฐานของวีซ่ากลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลตามเชื้อชาติ ชนชั้น เพศ ศาสนา ฯลฯ ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายเช่นกัน”

 รายงานดังกล่าวมีชื่อว่า Insecure by design: ระบบการย้ายถิ่นของออสเตรเลียและประสบการณ์ในตลาดงานของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีผลสำรวจที่อ้างอิงจากการตอบแบบสำรวจของแรงงานข้ามชาติมากกว่า 1,000 คน

 รายงานนี้ระบุว่าแม้การพำนักถาวรไม่ใช่ข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับการจ้างงานในออสเตรเลีย แต่ “อุตสาหกรรมต่างๆ” มักจะถือเอาสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิในการทำงานและจะไม่รับผู้สมัครที่เป็นคนย้ายถิ่นที่ถือวีซ่าชั่วคราว” นายคุนเคล กล่าวว่า

 
"นี่อาจเป็นมุมมองที่ว่าวีซ่าชั่วคราวนั้นทำให้ผู้สมัครที่เป็นคนย้ายถิ่นเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจน้อยลงสำหรับการจ้างงานระยะยาว หรือไม่มันก็เป็นการลดโอกาสในการจ้างงานระยะยาวของนายจ้าง แต่สิ่งที่พบในรายงานนี้อีกประการหนึ่งคือคนที่มีวีซ่าชั่วคราวมีแนวโน้มว่าจะทำงานกับนายจ้างเดิมมากกว่าแรงงานท้องถิ่น”

 นอกจากจะเสนอว่าการห้ามไม่ให้แรงงานข้ามชาติสมัครงานหรือเลือกปฏิบัติต่อพวกเขาในที่ทำงานโดยพิจารณาจากสถานะการย้ายถิ่นนั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย รายงานยังเสนอคำแนะนำเชิงนโยบายอีกหลายข้อ

 
หนึ่งในนั้นคือนายจ้างควรพิจารณาถึงทักษะและผลงานต่างๆ ของแรงงานย้ายถิ่นมากขึ้น นาย คุนเคล ชี้ว่า

"ในออสเตรเลียเราจะเห็นความแตกต่างอย่างมากระหว่างทักษะที่แรงงานย้ายถิ่นมีกับอุตสาหกรรมที่พวกเขาทำงานอยู่"

ส่วนคุณ นูเพน เปิดเผยว่าในฐานะที่เธอเป็นผู้ย้ายถิ่น เธอรู้สึกว่าต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เท่ากันกับคนท้องถิ่น

เธอกล่าวว่า แม้ว่าเธอ (และผู้อพยพย้ายถิ่นคนอื่น ๆ ที่เธอรู้จักในตำแหน่งงานระดับเริ่มต้น เช่น ตำแหน่งบริการรับจำนอง) จะจบปริญญาโทแต่ก็ได้รับตำแหน่งเดียวกันกับผู้พำนักถาวรในออสเตรเลียที่จบการศึกษาเพียงระดับประกาศนียบัตรหรือใบรับรอง

สามีของเธอซึ่งจบปริญญาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสื่อสารมวลชน แต่ไม่สามารถหางานทำในวงการสื่อ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เขาทำงานมาเกือบหกปีในเนปาลได้ เขาจึงทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ทุพพลภาพในออสเตรเลียแทน

คุณ ซิกดัล ทำงานดูแลผู้สูงอายุมาสามปีแล้ว และเขาเปิดเผยว่าว่าเขาเผชิญกับการถูกเหยียดเชื้อชาติมาตลอด


An aged care worker pushing a person in a wheelchair down a corridor
Like many other migrants, Radha and her husband have both worked in aged care, as that is where they have been able to obtain work. Source: Getty / Maskot
 มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมการสำรวจ (ร้อยละ 54) กล่าวว่าพวกเขาเคยถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน และมากกว่าหนึ่งในสามของผู้เข้าร่วม (ร้อยละ 38) รายงานว่ามีการกลั่นแกล้งและร้อยละ 37 ถูกล่วงละเมิดทางวาจา

คุณ ซิกเดล กล่าวว่าการเหยียดเชื้อชาติที่เขาได้รับจากที่ทำงานเกิดขึ้นค่อนข้างอย่างเปิดเผย เขากล่าวว่า

“บางครั้งพวกเขาใช้วาจาดูหมิ่นพนักงานที่มีผิวสีน้ำตาลว่ากลับไปประเทศของคุณซะ คุณไม่ใช่ชาวออสเตรเลีย หาคนที่พูดภาษาอังกฤษได้มากกว่านี้มาให้ฉัน”

เขากล่าวว่าเพื่อนร่วมงานบางคนปฏิบัติต่อเขาและแรงงานข้ามชาติคนอื่นๆ อย่าง 'ดูถูกดูแคลน' โดยการไม่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องงานเมื่อถูกถาม หรือเย็นชาและไม่เป็นมิตร ซึ่งแตกต่างจากวิธีที่พวกเขาปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ

A man standing on a lookout with hilly country in the background.
Despite his qualifications, experience and passion for journalism, Pratik Sigdel is working as a disability support worker. Source: Supplied
รายงานนี้เรียกร้องให้ยุติสิ่งที่เรียกว่า "การเอาเปรียบของระบบการย้ายถิ่นฐาน" โดยอธิบายถึงการที่ผู้อพยพย้ายถิ่นจำนวนมากที่ตกอยู่ใน "ตรรกะแบบวงกลม" ระหว่างงานและวีซ่า ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า

 “คุณต้องมีวีซ่าถาวรเพื่อให้ได้งานที่เหมาะสม และคุณต้องการงานที่เหมาะสมเพื่อรับคะแนนการย้ายถิ่นฐานเพื่อรับวีซ่าถาวร”

 นาย คุนเคล กล่าวว่าเงื่อนไขต่างๆ ของวีซ่าทำให้เกิดข้อจำกัดมากมายและควรถูกยกเลิก

"แม้ว่ากฎจะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงโควิดแต่โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนต่างชาติ สามารถทำงานได้เพียง 40 ชั่วโมงต่อสองสัปดาห์ และผู้ที่ถือวีซ่า working holiday จะได้รับอนุญาตให้ทำงานให้กับนายจ้างคนเดียวครั้งละหกเดือนเท่านั้น”

"เราไม่มีข้อจำกัดกับนักเรียนที่เกิดในออสเตรเลียว่าพวกเขาสามารถทำงานได้เพียง 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในขณะที่เรียนอยู่ แล้วทำไมคนที่มาที่นี่ด้วยวีซ่านักเรียนต่างชาติจึงมีความแตกต่าง"

 นอกเหนือจากชั่วโมงทำงานที่ถูกจำกัด แรงงานข้ามชาติจำนวนมากกล่าวว่าพวกเขาต้องรับมือกับการถูกเอาเปรียบเรื่องค่าจ้างด้วย นายคุนเคล ชี้ว่า

“และจากผลการรายงานพบว่าประมาณร้อยละ 58 ของแรงงานข้ามชาติรายงานว่าพวกเขาถูกโกงค่าจ้าง”

รายงานนี้ยังเรียกร้องให้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิในที่ทำงานให้ดีขึ้นเพื่อ "ปิดช่องว่างระหว่างความรู้ในชุมชนผู้อพยพ" และปรับปรุงความมั่นคงในอาชีพแลรวมถึงะการเข้าถึงความยุติธรรม ค่าชดเชย และการรักษาพยาบาล

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 




บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 




Share
Published 22 March 2023 4:33pm
By Aleisha Orr
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends